พรรษาที่ ๑๖ พ่อแม่ครูอาจารย์


.

.

มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ที่ผมจะกลับมาอ่านทุกปี

และทุก ๆ ปีที่กลับมาอ่าน จะสามารถเข้าถึงธรรมเดิม ตัวหนังสือเดิม ได้ลึกซึ้งมากขึ้น ๆ ทุกปี หนอ

.

ใน 3-4 ปีแรกนั้น ผมสังเกตุว่า ผมจะอ่านได้ไม่เกิน "พรรษาที่ ๑๖"

จนทำให้สังเกตุได้ และเกิดความสงสัยว่า ทำไมบังเอิญเช่นนั้นทุกปี

เมื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุแล้ว ผมสรุปเองได้ดังนี้

1. ธรรมะนั้นไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยเพียงการ "ปริยัติ" จะต้องมีการปฏิบัติให้เห็นได้ด้วยตนเอง

2. ธรรมะขั้นสูงบางอย่างนั้น ยากนักที่จะอธิบายด้วยตัวอักษร หนอ

.

ในปีนี้ก็เช่นเดียวกันครับ หลังจากเพียรภาวนาอย่างเข้มข้นมาตลอดทั้งปี

จึงยกหนังสือ "พ่อแม่ครูอาจารย์" ขึ้นมาอ่านดู ปีนี้ก็เหมือนทุกปี คือ

ทำให้เข้าใจธรรมเดิม ตัวหนังสือเดิม ลึกซึ้งเข้าไปอีก ดังจะได้สาธยายดังต่อไปนี้ หนอ

.

ระหว่างที่กำลังนั่งเขียนอยู่นี้ ก็นั่งฟังเทศน์ท่านหลวงตาไปด้วย

เมื่อสักครู่ท่านเทศน์ประมาณว่า

..ธรรมของพระพุทธเจ้าเมื่ออยู่กับปุถุชน จะกลายเป็นธรรมปลอม

เพราะเป็นธรรมที่เกิดจากความจำ ซึ่งต่างจากความจริง

..ธรรมของพระอรหันต์ เมื่ออยู่กับพระอนาคามีก็เป็นธรรมปลอม ..

.

อือ.. หรือว่า Key เฉลยอาจยังไม่จำเป็น หนอ

.

.

.

.

... ความเศร้าหมองก็ดี ความผ่องใสก็ดี ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี

เหล่านี้เป็นสมมุติทั้งสิ้น และเป็นอนัตตาทั้งมวล..


(หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์. หน้า 326)

.

.

ขยายความ ธรรมนี้เกิดในพรรษาที่ ๑๖ ที่ท่านได้เพียรภาวนาอย่างหนัก

จนจิตละเอียดมาก และท่านได้สังเกตุเห็นว่า


..ทำไมจิตละเอียดถึงขนาดนี้แล้วจึงยังแสดงอาการต่าง ๆ อยู่ได้..

.

ธรรมตรงนี้ละเอียดมาก ๆ

เพราะเราส่วนใหญ่ (รวมผมด้วย) จะพยายามเพียรภาวนาให้จิตเราสะอาดผ่องใส

ให้งบ สว่าง สะอาด ต่อเนื่องและนานที่สุด

แต่จะยังพบว่า นาน ๆ จิตก็ยังจะเศร้าหมอง จะทุกข์ อยู่

แม้เราจะเพียรพยายามสักเพียงใดก็ตาม

ธรรมตรงนี้ หมายความว่า ที่เป็นเช่นนั้น เพราะจิตและอาการของจิตนั้น

.เป็นอนัตตา เป็นไปตามเหตุปัจจัย

.

จริงอยู่ว่า เป็นหน้าที่เราที่ต้องอบรมบ่มนิสัยจิตให้สงบ สว่าง สะอาด

แต่การทำเช่นนั้น ต้องไม่เป็นไปเพื่อสร้างอัตตาตัวตนให้ละเอียดขึ้น

..

แต่ต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง สู่ อนัตตา หนอ



หมายเลขบันทึก: 580324เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2014 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2014 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ธรรม..ไหล..สู่ ธรรม..(กระมัง..หนอ)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท