AAR : เรื่อง การสอนเพื่อพัฒนาการคิด โดย รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ : นางสาวอภิญญา รักพุดซา


AAR : เรื่อง การสอนเพื่อพัฒนาการคิด โดย รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

วันที่ 7 กันยายน 2557

วิทยากร : รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1

1.ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

จากการฟังบรรยายของ รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ มีดังต่อไปนี้

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กล่าวถึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ.2542 มาตรา 22 ที่ว่าการจัดการศึกษาต้องต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสารมารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าการจัด

กระบวนการเรียนรู้ ครูต้องถือว่าผู้เรียนนั้นสำคัญที่สุดและผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ครูต้องเลือกใช้วิธีการสอนที่หลากหลายให้สอดคล้องกับผู้เรียนและไม่ยึดครูเป็นสำคัญ

  • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน การจัดการ

เรียนการสอนตามหลักสูตรอิงมาตรฐาน เน้นการออกแบบการเรียนการสอนเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมาย โดยครูพิจารณาเลือกมาตรฐาน/ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมาย การพัฒนาผู้เรียนในแต่ละหน่วยซึ่งอาจเป็นหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงความรู้และทักษะจากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนั้นสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ต้องมาจากหลายแหล่ง ไม่ยึดหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง

ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าหลักสูตรอิงมาตรฐานนั้น แตกต่างจากหลักสูตรอิงเนื้อหา ครูต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนแบบเดิมที่ใช้เพียงแค่หนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง มาเลือกใช้สื่อที่หลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาและมาตรฐาน/ตัวชี้วัดในหน่วยนั้น ๆ การจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานจึงจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ

การจัดการเรียนการสอนครูต้องคำนึงถึงตัวชี้วัด เพราะตัวชี้วัดจะเป็นเป้าหมายแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนไปสู่เป้าหมายได้ โดยกิจกรรมการสอน เนื้อหาที่สอนจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด

กลไกการทำงานของสมอง 2 ซีก การทำงานของสมอง 2 ซีก ทั้งซ้ายและขวา มี 4 แบบ

ซีกซ้ายมีการทำงานแบบนักคิด นักปราชญ์ (Thinkers) นักวางแผน นักจัดการ (Organizer) ซีกขวา นักสร้าง นักพัฒนา (Innovators) และนักบริการ นักมนุษย์นิยม (Humanitarias)

จากการรับฟังกลไกการทำงานของสมอง ข้าพเจ้าคิดว่ากลไกการทำงานของสมองของข้าพเจ้า

นั้นเป็นการทำงานของสมองซีกซ้าย แบบนักคิด นักปราชญ์ (Thinkers)

กลไกการทำงานของสมอง หรือสมองกับความคิด ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าเกี่ยวข้องกับทฤษฎีพหุปัญญา ของการ์ดเนอร์ ที่สนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยเชื่อว่าเด็กทุกคนนอกจากจะมีความแตกต่างในเรื่องการใช้สมองทั้ง 2 ซีกแล้ว ยังมีความสามารถพิเศษด้านปัญญาที่แตกต่างกันของเด็ก 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์และเหตุผล ด้านดนตรีและจังหวะ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านศิลปะ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการคิดและความเข้าใจในตนเอง

ดังนั้นครูต้องมีหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ไปสู่ศักยภาพสูงสุดตามความสามารถ

  • ระบบการสอนแบบ 4 MAT ระบบการสอนแบบทฤษี 4 แบบ จะให้ความสำคัญต่อความ

แตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กระบวนการสอนที่สอดคล้องกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ตลอดจนการคำนึงถึงกระบวนการสอนที่มุ่งพัฒนาสมองของมนุษย์ทั้ง 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวาไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีพหุปัญญา

การสอนแบบ 4 MAT ผู้เรียนมีลีลาหรือวิธีการเรียนรู้ (Learning Style) ที่แตกต่างกัน ลีลาการเรียนรู้ที่แตกต่างกันนี้ มีอยู่ 4 แบบ คือ 1) WHY แบบจินตนาการ 2) WHAT แบบคิดวิเคราะห์ 3) HOW แบบใช้สามัญสำนึกด้วยการสัมผัสและลงมือทำ 4) IF แบบพลวัตรหรือการเปลี่ยนผ่านความรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

บทบาทของครูและนักเรียนในทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีดังต่อไปนี้

แบบที่ 1 WHY นักเรียน : สังเกต เฝ้ามอง ช่างคิด ช่างสงสัย ช่างตั้งคำถาม กระหายใคร่รู้

ครู : ผู้กระตุ้น ผู้ยั่วยุ

แบบที่ 2 WHATนักเรียน : ผู้ฟัง ผู้จดจำ ผู้คิดวิเคราะห์

ครู : ผู้สอน ผู้บอก ผู้อธิบาย

แบบที่ 3 HOW นักเรียน : ผู้แสดง ผู้ลงมือทำ ผู้ปฏิบัติ

ครู : ผู้ฝึกสอน ผู้ชี้แนะ ผู้กำกับ ผู้จัดสถานการณ์

แบบที่ 4 IF นักเรียน : ผู้ค้นคว้า ผู้แสวงหาความรู้ใหม่

ครู : ผู้ร่วมเรียนรู้ ผู้ประเมิน

จากกระบวนการสอนแบบ 4 MAT ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 กลุ่ม กับการพัฒนาการสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาอย่างสมดุล

2. รู้แล้วคิดอะไรต่อ

ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูข้าพเจ้าจะจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีทักษะการคิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง เน้นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง

3. จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

จากความรู้ที่ได้รับในวันนี้ข้าพเจ้าสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ ในด้านการจัดการเรียนการสอน

โดยจะต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ในฐานะที่เป็นครูข้าพเจ้าจะต้องออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรานี้ ลำดับแรกในการออกแบบการเรียนการสอน ข้าพเจ้าจะต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ และจัดการเรียนการสอน เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้อง สอนตามตัวชี้วัด เพราะตัวชี้วัดคือเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน สิ่งสำคัญเมื่อผู้เรียนมีความแตกต่างกันครูจึงจำเป็นต้องนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาผู้เรียน เช่น ระบบการสอนแบบ 4 MAT ซึ่งเป็นทฤษฎี 4 แบบที่ให้ความสำคัญต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 579989เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท