​ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๗๙. ฝรั่งเรียนรู้เทคนิคการจัดการของเอเซีย


          ท่านพุทธทาสกล่าวว่า การปฏิบัติมาก่อนทฤษฎี คนที่ปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งประสบความสำเร็จ จะยังไม่รู้ว่าตนใช้ทฤษฎีหรือหลักการอะไร ต้องมาไตร่ตรองตีความทำความเข้าใจภายหลัง จึงเกิดทฤษฎี และชื่อของกระบวนการนั้นๆ

          เมื่อ ๒๐ - ๓๐ ปีมาแล้ว ตอนที่ญี่ปุ่นรุ่งโรจน์ ฝรั่งตีความเคล็ดลับของความสำเร็จนั้นเป็นการใหญ่ เกิดขบวนการ QCC, TQC, CQI, Kaisen, เป็นต้น ผมเองก็ได้เรียนรู้ทักษะด้านการจัดการมากับคลื่นลูกนั้น รวมที่งคลื่น KM ซึ่งเป็นคลื่นลูกหลัง

          บัดนี้ จีนผงาด ฝรั่งก็ตามไปเรียนรู้อีก ดังบทความ The China Wave ในนิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๗ บอกว่า ในวารสาร MIT Sloan Management Review ฉบับใหม่ มีบทความเรื่อง innovation & management ในจีนเกือบทั้งฉบับ รวมทั้งเรื่อง Accellerated Innovation : The New Challenge from China โดย Peter Williamson & Eden Yin แห่ง Judge Business School, Cambridge University และใน Harvard Business Review ก็ลงเรื่อง A Chinese Approach to Managementโดย Thomas Hout, Monterrey Institute of International Studies and David Michael, Boston Consulting Group

          เขาเอ่ยถึงจุดเด่นของจีนด้านความเร็วในการเรียนรู้ ตามทัน และสร้างนวัตกรรม รวมทั้งความฉลาดในการใช้ผู้บริโภค เป็น co-creator ของเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ย. ๕๗

บนเครื่องบินการบินไทยจากกรุงเทพไปปักกิ่ง

หมายเลขบันทึก: 579506เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท