ทิศทางและแนวโน้มของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สภา สปช.)


ทิศทางและแนวโน้มของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สภาสปช.)

สรณะ เทพเนาว์, สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗
(๑) แนวโน้ม สปช. ๒๕๐ มิใช่มานั่งปฏิรูปในสภา ต้องสร้างเครือข่ายในจังหวัดเพื่อให้เกิดการปฏิรูปมากที่สุด สร้างความปรองดอง สมานฉันท์ โดยคำนึงถึงสถาบันชาติ กษัตริย์

(๒) ปรับใช้แนวคิดของนายกรัฐมนตรีต้องตั้งเวทีรองรับคนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็น สปช. ตามความถนัดและสมัครใจ เป็นเวทีที่เป็นทางการหลายเวทีนอกเหนือจากเวทีที่ไม่เป็นทางการ แต่อย่าให้ขัดกับกฎอัยการศึก ซึ่งแตกต่างกับสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร ซึ่งเคยจัดเวทีปฏิรูปประเทศเป็นเวทีเดียว แต่รัฐบาลนี้จะจัดหลายเวที ความเห็นแต่ละเวทีจะถูกส่งให้ สปช. รัฐบาล คสช. และ สนช. รวมทั้ง กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ

(๓) สปช.ทุกคนควรมีจิตมุ่งมั่นและตั้งใจดำเนินภารกิจทุกด้าน ทั้ง ๑๑ ด้าน อย่างดีที่สุด โดยยึดถึงความถูกต้องและเป็นธรรม โดยเฉพาะการสานต่อนโยบายทุกด้านให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาล เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีแต่ความสามัคคีปรองดอง มีสันติสุข และเสริมสร้างความมั่นคง มีเสถียรภาพให้กับชาติบ้านเมืองต่อไป

(๔) สปช.ต้องดำเนินงานตามกรอบมติของวิปกิจการสภาปฏิรูปทั้งในระดับนโยบายซึ่งควรจะแบ่งไว้สามระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับของการขับเคลื่อน และระดับของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่ง กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ อาทิ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ดูแลพื้นที่ที่จะต้องดูแลให้ดีที่สุด

(๕) สปช.จะต้องมีส่วนสร้าง ทำความเข้าใจในการพูดคุยไปสู่ทุกกลุ่ม ทุกเสื้อสีทั้งกลุ่มที่มีความขัดแย้งหรือกลุ่มที่ไม่ขัดแย้ง โดยเน้นความสงบสุขของหมู่บ้านและตำบล ทั้งนี้เราต้องทำงานคู่ขนานกับแนวทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(๖) สปช.จะต้องทำหน้าที่โดยร่วมมือกับประชาชน โดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เห็นต่างในพื้นที่ ให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน ท่านอยากได้อะไรและคิดอย่างไรก็มาพูดคุยกัน สิ่งต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนในสิ่งที่ถูกที่ควรตามรัฐธรรมนูญ และจะต้องทำให้ดีนำมาซึ่งความพึงพอใจ และอยู่ด้วยกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข

(๗) นำบุคคลที่ไม่ได้รับการคัดสรรจาก คสช. ต้องเปิดเวทีให้เขามีส่วนร่วม การให้แนวความคิดตามความประสงค์ของแต่ละด้าน ซึ่งมี ๑๑ ด้าน เราจะต้องรับฟังความคิดเห็นทั้งหมดจากส่วนรวม

(๘) สปช.จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นจากประชาชนทุกคนก็ควรเดินทางในแนวเดียวกัน โดยดำรงจุดยืนในการยืนอยู่เคียงข้างประชาชนทุกโอกาส และเป็นหลักในการเข้าคลี่คลายปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชน

(๙) ถ้าอยากให้มีการปรับปรุงประเทศชาติก็ควรใช้ช่องทาง สปช.

(๑๐) การทำงานของ สปช.ที่จะทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า งานแรกที่ต้องเร่งทำคือ ต้องรีบส่งความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปทางเบื้องต้น เพื่อเป็นกรอบให้กรรมาธิการไปยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น สปช.ในช่วง ๓ – ๔ เดือนแรก ต้องใช้เวลากับการปฏิรูปการเมือง ส่วนอีก ๑๐ ด้าน อาจจะใช้ระบบให้กรรมาธิการ กรรมการ หรืออนุกรรมการไปทำ โดยสมาชิกทั้ง ๒๕๐ คน ต้องตระหนักอย่างมากว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งที่ผลักดันเป็นที่ยอมรับ มีความชอบธรรม เพราะสิ่งที่คิดทั้งหมดคงทำไม่เสร็จภายในระยะเวลา ๑ ปี แต่จะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความยอมรับ หรือมีความชอบธรรมเท่านั้น ดังนั้น ควรให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบ ซึ่งควรให้โอกาส สปช.ได้ทำงาน ไม่ควรมองในแง่ร้ายว่ามีการล็อกสเปค

C R : สรณะ เทพเนาว์, สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ,
ปลัดเทศบาลตำบลแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน, ที่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มสธ., ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. บรรยาย "ทิศทางและแนวโน้มของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมกับ นางสาวรสนา โตสิตระกุล (สปช.) รศ.ยุทธพร อิสรชัย ประธานสาขาวิชารัฐศาสตร์ มสธ.

หมายเลขบันทึก: 579463เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2014 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2017 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท