บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 หลักสูตรและการสอนของประเทศในอาเซียน AEC โดย นางสาวผกาวรรณ สุวรรณภูมานนท์


                                                     บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา                       การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

รหัสวิชา                102611

อาจารย์ผู้สอน       ผู้ช่วยศาสตราจารย์   ดร.อดิศร     เนาวนนท์

อบรมเรื่อง             หลักสูตรและการสอนของประเทศในอาเซียน AEC

บันทึก                    วันที่  3  สิงหาคม 2557

ผุู้บันทึก                 นางสาวผกาวรรณ     สุวรรณภูมานนท์       รหัสนักศึกษา   57D0103110

                              ปริญญาโท  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ภาคพิเศษ  หมู่1  รุ่นที่ 13)

การเตรียมตัวล่วงหน้า

           ได้ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่อง การจัดการความรู้ (KM) ได้ทราบว่า KM นั้น คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการ  ได้แก่  บรรลุเป้าหมายของงาน  บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน  และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

          องค์ประกอบสำคัญของการจัดการจัดการความรู้ คือ 1)  คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งเรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์   2)  เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหาและแลกเปลี่ยน    3)  ระบวนการความรู้ เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง   

         การจัดความรู้  ต้องสร้างแรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการนำไปสู่ความสำเร็จของการจัดความรู้


ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

          ในวันนี้ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง หลักสูตรและการสอนของประเทศในอาเซียน  จากเจ้าของภาษาทั้ง 4 ประเทศ  ได้แก่  ประเทศเวียดนาม  ประเทศฟิลิปปินส์  ประเทศกัมพูชา  และประเทศสิงคโปร์  ซึ่งสรุปความรู้ได้ดังนี้   

        ประเทศเวียดนาม  การศึกษาของประเทศเวียดนามจะแบ่งออกเป็น  5  ลักษณะ คือ 1.  ก่อนประถมศึกษา    

2.  การศึกษาสามัญ   3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ  4. การศึกษายกระดับอุดมศึกษา  5. การศึกษาต่อเนื่อง

      การศึกษาสามัญ 12 ปี ของเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม  มีเอกลักษณ์ประจำชาติ  และมีความสามารถในด้านอาชีพ

       การสอนจะใช้เวลาในโรงเรียนครึ่งวัน  โดยครูควบคุมและนำเสนอบทเรียนประมาณ 15 นาที จากนั้นนักเรียนต้องคิดหรือปฏิบัติอีกครึ่งวันจะเป็นการศึกษานอกโรงเรียน

        ประเทศฟิลิปปินส์    การจัดหลักสูตรของประเทศนี้ มีความทันสมัยเพราะมีหลักสูตรการศึกษาที่ทันสมัยแบบเดียวกับสหรัฐอเมริกา ระบบการศึกษามีทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การศึกษาที่เป็นทางการมี 3 ระดับ ส่วนการศึกษาที่ไม่เป็นทางการรวมถึงการศึกษานอกโรงเรียน  ประเทศนี้ใช้การเรียนการสอนแบบทวิภาษา  คือบางวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษ  นอกนั้นเป็นภาษาฟิลิปปินส์

        ประเทศกัมพูชา   จัดการศึกษา  5 อันดับ แบ่งเป็น  ก่อนประถมศึกษา  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย  และอุดมศึกษา  การจัดหลักสูตรมีทั้งระยะยาว  ระยะสั้น  เพื่อรับรองความต้องการของตลาดแรงงาน

          ประเทศสิงคโปร์   จัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักความถนัดและความแตกต่างของตนเอง  แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา  และมัธยมศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศนี้ได้รับการยอมรับ  ซึ่งจัดให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน


ความคิดเห็นประเด็นที่เรียน/อบรม

            เมื่อทราบการจัดการศึกษาของประเทศต่าง ๆ แล้ว ควรพัฒนาระบบการศึกษาใหม่ โดยยึดระบบของประเทศที่มีการพัฒนาและได้รับการยอมรับมาปรับปรุงใช้กับทุกประเทศ  เพื่อให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


การนำความรู้ไปใช้

            การอบรมในครั้งนี้  ได้ทราบถึงการจัดการเรียนการสอนของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรม  แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพได้ สามารถนำความรู้ในส่วนนี้ไปปรับใช้ในการสอนในห้องเรียน โดยเฉพาะกิจกรรมหน้าชั้นเรียน การสอดแทรกภาษาที่สอง ที่สาม เพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคย ปรับเนื้อหาการเรียนให้น้อยลง เรียนรู้จากของจริงให้มากขึ้น


บรรยากาศในการอบรม

           การเรียนในวันนี้เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่มีประสบการณ์  ได้เรียนรู้ระบบการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน จากเจ้าของภาษา

            วิทยากรมีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดประสบการณ์  สร้างความเป็นกันเอง  การอบรมไม่น่าเบื่อผู้เข้ารับการอบรมตั้งใจฟัง  และมีการจดบันทึก  ทำให้การอบรมครั้งนี้ราบรื่นไปได้ด้วยดี

ข้อเสนอแนะ

            ควรมีการอบรมหลักสูตรและการสอนในประเทศอาเซียน อีก 5 ประเทศ คือ  ประเทศบรูไน    ประเทศอินโดนีเซีย    ประเทศลาว    ประเทศมาเลเซีย    และประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า  เพื่อทราบข้อมูล และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม

คำสำคัญ (Tags): #อาเซียน
หมายเลขบันทึก: 579040เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท