กิจกรรมบำบัด กับ “สายตาเลือนลาง” เกี่ยวกัน ?


คนสายตาเลือนราง คือ บุคคลที่มีการมองเห็นหลงเหลือบางส่วนอาจมีสาเหตุมาจาก อุบัติเหตุ ภาวะสูงอายุ โรคต่างๆ เป็นต้น ชนิดที่วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ในปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้ แต่ยังสามารถใช้ตาในการมองเห็นได้เลือนรางหากคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับการดูแล ฟื้นฟู และได้รับการช่วยเหลือเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นได้แล้ว ทักษะความสามารถในการใช้สายตาจะลดลง ทำให้ไม่สามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

คณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสไปเป็นจิตอาสา ที่ศูนย์ Joy center เพื่อเด็กสายตาเลือนรางอายุ 0 – 6 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สมาคมคนสายตาเลือนราง” (Low Vision Association)

โดยพวกเราได้ไปเป็นจิตอาสาด้วยกันทั้งหมด 4 ครั้ง

ครั้งที่หนึ่ง พวกเราได้เข้าไปเข้ารับคำปรึกษาพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลในเบื้องต้นถึงปัญหาและความต้องการ กับทางสมาคมคนสายตาเลือนราง โดยประเด็นที่พวกเราจะไปเป็นจิตอาสา มีด้วยกัน 5 หัวข้อ

1 เพื่อออกแบบโปรแกรม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพัฒนาเด็กในกลุ่มสายตาเลือนราง

2 เพื่อแนะนำและให้ความรู้ผู้ปกครองในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเด็กสายตาเลือนราง

3 สร้างห้องกิจกรรมบำบัดเพื่อเป็นห้องตัวอย่างสำหรับการกระตุ้นระบบการรับความรู้สึก

4 จัดทำเต้นท์บูรณาการระบบประสาทความรู้สึกตัวอย่างสำหรับการกระตุ้นระบบการรับความรู้สึก

5 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสายตาเลือนราง

ครั้งที่สอง พวกเราได้ลงสำรวจพื้นที่ Joy centerเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของศูนย์ และสำรวจความต้องการและข้อมูลของเด็กแต่ละคนและนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาสรุป และวางแผนงานเพื่อทำกิจกรรมให้บรรลุตามหัวข้อที่เราได้ตั้งไว้

ครั้งที่สาม พวกเราได้ทำการตรวจประเมินเด็กรายบุคคล โดย นศ.กิจกรรมบำบัด1คนต่อเด็ก1คน เพื่อวิเคราะห์ความสามารถและระบุปัญหาของเด็ก ให้คำแนะนำและสอนวิธีในการบำบัดรักษาในเบื้อต้นสำหรับผู้ปกครองในการฝึกกิจกรรมบำบัดที่บ้านโดยให้ผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดรักษา และติดตามการพัฒนาของเด็กแต่ละคนในอาทิตย์ถัดไป

ครั้งที่สี่ จัดทำเป็นแผ่นความรู้ คำแนะนำรวมไปถึงเทคนิคต่างๆที่จะช่วยในการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลให้กับผู้ปกครองให้สามารถนำไปปรับใช้ที่บ้านได้จริง เช่น การปรับพฤติกรรมเด็ก,การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน,กิจกรรมที่จะช่วยทำให้เด็กมีการพัฒนาในด้านต่างๆที่ดีขึ้น รวมทั้งมอบสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสายตาเลือนรางไว้ให้กับ ศูนย์ Joy center

การจัดทำห้องบูรณาการประสาทความรู้สึก

พวกเราได้ทำการวัดสถานที่ หาข้อมูลต่างๆเช่น ความเข้มและชนิดของแสง,วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการกระตุ้นผ่านการรับความรู้สึกผ่านระบบต่างๆ โดยมีการปรับประยุกต์เพื่อเป็นห้องตัวอย่างสำหรับผู้ปกครอง ให้สามารถกลับไปประยุกต์ใช้ที่บ้านได้จริง

โดยทางเราจะให้ความรู้ให้ข้อมูลและประสานกับสมาคมและเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำห้องบูรณาการประสาทความรู้สึก เพื่อกระตุ้นการประสานการรับความรู้สึก (Sensory Integration)ในเด็กสายตาเลือนราง

การจัดทำเต้นท์บูรณาการระบบประสาทความรู้สึก

เนื่องจากระยะเวลาในการทำจิตอาสา มีระยะเวลาที่สั้นพวกเราจึงคิดวางแบบแผนโครงสร้าง อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ เอาไว้แล้วและจะดำเนินการจัดทำและมอบให้กับทางศูนย์ ภายในกลางเดือน ธันวาคม ค่ะ

อ่อ!! และพวกเราทั้ง 5 คน ด็ได้รับโอกาสดีดี จากคณาจารย์ สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กในกลุ่มสายตาเลือนรางในด้านต่างๆ และได้เล็งเห็นถึงความสามารถของพวกเรา จึงได้เสนอให้พวกเรา เข้าร่วมสมัครในโครงการ โครงงาน "กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน" กับ SCB โดยชื่อโครงการของ พวกเรา ก็คือ “ก้าวใหม่กิจกรรมบำบัด สู่สายตาเลือนราง” ซึ่งจะประการคัดเลือก 40 โครงการสุดท้าย ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ฉันตื่นเต้นมากเลยล่ะค่ะ ทุกคนเอาใจช่วยพวกเราด้วยนะค่ะ ><

หมายเลขบันทึก: 578329เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2014 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2014 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท