เสียงประชาชนที่ต้องฟังก่อนปฏิรูป


เสียงประชาชนที่ต้องฟังก่อนปฏิรูป_27 กย 2014

    ในวันที่27 กันยายน 2557 ที่วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มฮักนะเชียงยืน ได้มีโอกาสร่วมเวที เสียงประชาชนที่ต้องฟังก่อนปฎิรูป(อิสานเหนือ) พวกเราเข้าไปในด้านการศึกษาโดยมี ดร.ชวลิต ชูกำแพง จาก มมส.เป็นกระบวนกร 

ประเด็นการศึกษาที่พวกเราเสนอคือ
1 มุ่งพัฒนาทักษะของผู้เรียนเน้นสู่สายอาชีพและความหลากหลายตามความถนัดและสนใจของผู้เรียน ไม่้เน้นโอเนต ควรมีปริญญาอาชีพครูควรจัดหลักสูตรบนสภาพปัญหาของชุมชนและควรรองรับด้วย
2รัฐควรมีแผนรองรับคนที่จบการศึกษาให้มีงานทำ
3. มีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน วิชาที่เรียนยึดหลักกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน PBL และนักเรียนสามารถเอาโครงงานตัวเองเขาสมัครเรียนต่อได้
4. ควรมีการให้การบ้านและลดการบ้าน ที่เหมาะสมของรายวิชา และครูควรบูรณาการการทำงานร่วมกับการใช้ชีวิตจริง ให้เด็กสนุกกับการเรียน ให้โรงเรียนเป็นโรงเรียน
5.มีการสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
6.อยากเห็นห้องเรียนมีชีวิต อยากเห็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
7.ครูและโรงเรียนมีอำนาจในการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง
8. มีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน มีกิจกรรมช่วยเหลือสังคม
9.ปรับปรุงระบบการคัดเลือกการเข้าเรียนต่อ ให้มีความสอดคล้องกับวิชาที่เรียน คัดเลือกตามความสามารถ เด็กสามารถเอางานวิจัยเสนอเข้าเรียนได้ ไม่ใช้มาตรฐานเดียววัดการสอบ
10. มีความเท่าเทียมเทียมกันในการเรียน คือฟรีอย่างแท้จริง และต่อเนื่องถึงมหาวิทยาลัย เพราะปัจจุบันเสียค่าหน่วยกิตแพงมากลูกชาวนาแทบไม่มีสิทธิ์เรียน
11.ระบบการสอบวัดผลเข้ามหาวิทยาลัยควรมั่นคงไม่เปลี่ยนไปมาตามรัฐบาล
12.ควรมีการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างแท้จริงและมีคุณภาพ มีมาตรฐานทั้งครูและนักเรียน
13มีการรองรับและยอมรับผู้ที่จบจากการศึกษานอกระบบมากยิ่งขึ้น
กลไกที่ใช้
1.กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น
2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง ปลุกพลังในชุมชนให้ได้
3. มีเครือข่ายในการพัฒนาการศึกษาทั้งเครือยข่ายวิชาการ ภาคเอกชน ร่วมกันสร้างการเรียนรู้ใหม่
4.มีการผลิตครูจากชุมชน เพื่อชุมชน เพราะครูจะรู้ปัญหาของชุมชนได้ดี
ควรมีผู้นำธรรมชาติ คือพระมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษา สร้างการทำงานเป็นทีมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
5 มีระบบประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างเข้ม แต่หน้าเสียดายเพราะผู้ที่เข้าร่วมเวทีกลุ่ม มี นศ.จากมมส ร้อยเอ็ด เชียงยืนพิทยาคม และการศึกษาตามอัธยาศัยเพียงคนเดียว

       

หมายเลขบันทึก: 577723เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2014 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2014 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท