ไปชื่นชมโรงเรียนสร้างสุขภาวะ จ. ศรีสะเกษ(๑) บทนำ


         โครงการจัดการศึกษาที่สร้างสุขภาวะในโรงเรียน ดำเนินการโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา มี รศ. ดร. ประวิต เอราวรรณ์ เป็นหัวหน้าโครงการ สนับสนุนการเงินโดย สสส.ดำเนินการมาปีเศษๆมีข้อค้นพบ ที่น่าชื่นใจ และใจชื้นหลายอย่าง

เราไปเยี่ยมโรงเรียนในเขต สพป. ศรีสะเกษ เขต ๔มี อ. มานิต สิทธิศร เป็นศึกษานิเทศและผู้จัดการ การเปลี่ยนแปลง หรือประสานงานโครงการ

         เมื่อลงจากเครื่องบินที่จังหวัดอุบลราชธานี ค่ำวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ดร. ประวิต และ อ. มานิต ก็พาเราไปกินอาหารเย็น ที่ร้านอินโดจีน ร้านอาหารเวียดนามเจ้าดั้งเดิม ที่เปิดดำเนินการมากว่า ๓๐ ปีและมีนักร้องเพลงไทยยุคสงครามเวียดนามที่เสียงดีมาก

         แต่ที่น่าสนใจยิ่งสำหรับผมคือ ทั้งสองท่านยืนยันว่า การเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ในโรงเรียนให้เป็น Active Learning นั้น ทำได้ หากผู้อำนวยการโรงเรียนลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยได้รับการฝึก ให้เข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑และมีเป้าหมายเป็นรูปธรรมกว้างๆแล้วปล่อยให้ แต่ละโรงเรียนใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ดำเนินการในรายละเอียดด้วยตนเองและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง โรงเรียนรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในโรงเรียน ที่เรียกว่า PLCโดยที่นี่มีการประชุม PLC กันทุกๆ สัปดาห์ ใช้เวลาประมาณ ๑ ๑/๒ - ๒ ชั่วโมง

         เคล็ดลับความสำเร็จคือ (๑) ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้นำพาทำและร่วมดำเนินการ(๒) มีเป้าหมาย ที่ชัดเจน(๓) มีแนวทางดำเนินการกว้างๆ ให้ (๔) ให้อิสระในการคิดรายละเอียดของวิธีการเอง(๕) มีทีมติดตาม และ coaching

         เมื่อเดินทางไปถึงอำเภอกันทรลักษณ์จ. ศรีสะเกษและเข้าพักที่วังชมภูรีสอร์ท เวลาสองทุ่มเศษอ. มานิตก็ยื่นเอกสารให้ผมปึกหนึ่ง เพื่อแนะนำให้ทราบกิจการของเขตพื้นที่และโรงเรียนในโครงการ ผมนอนอ่านที่เรือนพักชื่อลำพูน ข้างห้วยขะยุง

         เอกสาร คลินิกวิชาการ ของกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพป. ศรีสะเกษ เขต ๔น่าสนใจมากเป็นเอกสารแผ่นเดียว ๒ หน้าผมได้รับมา ๗ ฉบับเริ่มตั้งแต่ฉบับวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๗ซึ่งระบุว่า ปีที่ ๑๐ฉบับที่ ๖เอกสารลำดับที่ ๑๑/๒๕๕๗ไปจนถึง ฉบับ ปีที่ ๑๐ฉบับที่ ๑๒วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๗เอกสารลำดับที่ ๒๘/๒๕๕๗แสดงว่า อ. มานิต ขยันขันแข็งในการสื่อสาร กิจการวิชาการ ในเขตพื้นที่อย่างมาก เดิมผมคิดว่าท่านมีทีมงานทำแต่ท่านบอกผมว่า ท่านต้องทำเองทั้งหมดและสมัยก่อนต้องออกเงินซื้อกระดาษเอง

         ทำดีย่อมได้ดีท่านได้รับการยอมรับนับถือไปทั่ววงการการศึกษาและได้รับวิทยฐานะเป็น คศ. ๔เทียบกับในมหาวิทยาลัยเป็นถึงรองศาสตราจารย์

         เอกสารฉบับหลังสุด ประกาศว่า ผมจะไปบรรยายพิเศษเรื่อง แนวคิดการพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ เพื่อสร้างเสริมให้ผู้เรียนเป็นสุของค์กรเป็นสุขสภาพแวดล้อมเป็นสุขครอบครัวเป็นสุขและชุมชนเป็นสุขเวลา ๑๔.๓๐ - ๑๕.๔๕ น.ผมจึงทราบว่าเขาต้องการให้ผมบรรยาย

         ข้อมูลในเอกสารนี้ที่ผมประทับใจมากคือ มีการเก็บข้อมูลนักเรียนในเขตพื้นที่ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ถึง ม. ๓จำนวน ๓๘,๓๖๘ คนพบว่า ๑๐,๙๗๑ คน (ร้อยละ ๒๙) ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มาทราบภายหลังว่า เก็บตาม ความต้องการของมูลนิธิยุวสถิรคุณ

         ผมได้เรียนรู้จากเอกสาร ว่า สพป. ศรีสะเกษ เขต ๔ มีโรงเรียนอยู่ในสังกัด .. โรงเรียนมีนักเรียน ... คนครู ... คนผู้บริหารโรงเรียน ... คนศึกษานิเทศก์ ๑๙ คน และเรียนรู้ภายหลังว่า ระบบบริหารของเขตพื้นที่ อ่อนแอและ ศน. ทำงานจริงอยู่ไม่กี่คน

         นอกจากนี้ผมยังได้รับเอกสารแผ่นพับ เป็นกระดาษ A4 พับ 3 อีก ๗ชุดได้แก่การพัฒนา คุณภาพการศึกษาสพป. ศรีสะเกษ เขต ๔,สพป. ศรีสะเกษ เขต ๔ กับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง,สพป. ศรีสะเกษ เขต ๔ กับการพัฒนาทักษะสำหรับผู้เรียน สู่ศตวรรษที่ ๒๑,การพัฒนาการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยตามแนวคิด มอนเตสซอรี่ : การศึกษาเพื่อชีวิต,ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ปฐมวัยโรงเรียนบ้านสดำ,โรงเรียนบ้านนาขนวน กลุ่มโรงเรียนบึงระนาม,โรงเรียนบ้านนาขนวน : การบริหารจัดการหลักสูตร ที่ไม่จัดการเรียนรู้ไว้ให้ผู้เรียน

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ส.ค. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 577676เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2014 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2014 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท