ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed,Exposure Time)


ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed,Exposure Time)

ขั้น ตอนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ คือ การควบคุมความสว่างของภาพ ภาพที่ดีควรมีความสว่างเหมาะสม ไม่สว่างจ้าหรือมืดจนเกินไปจนภาพเสียความหมายของภาพไป การควบคุมความสว่างของภาพในกล้องดิจิตอลจะมีจุดที่ควบคุมหลักๆ อยู่ 3 ที่คือ ความไวแสงของกล้อง, ความเร็วชัตเตอร์ (เวลาเปิดรับแสง) ซึ่งอยู่ที่ตัวกล้อง และขนาดช่องรับแสงซึ่งอยู่ที่ตัวเลนส์

เวลาเปิดรับแสง คือ เวลาที่แสงตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ หรือเวลาที่อิมเมจเซ็นเซอร์อ่านสัญญาณภาพ กล้องดิจิตอลแบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิดรับแสง เวลาที่ชัตเตอร์เปิดเรียกว่า”ความเร็วชัตเตอร์” (Shutter Speed) ส่วนเวลาที่แสงตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์เรียกว่า(Exposure Time) ซึ่งปกติทั้ง 2 ค่านี้จะเท่ากัน กล้องดิจิตอลแบบคอมแพครวมทั้งกล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพวีดีโอ หรือดูภาพที่กำลังจะถ่ายทางจอ LCD ด้านหลังกล้องได้ จะไม่มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor เวลาเปิดรับแสงจะควบคุมโดยเวลาการอ่านข้อมูลของ Image Sensor ซึ่งถูกควบคุมโดย Processor ในตัวกล้องอีกทีหนึ่ง

เวลาเปิดรับแสงจะมีผลต่อภาพ 2 ประการ คือ

1. ความมืดสว่างของภาพ เวลาเปิดรับแสงสั้น แสงจะเข้าน้อย ทำให้ภาพมืดกว่าเวลาเปิดรับแสงนาน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที แสงจะเข้ามากกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที หากค่าการปรับตั้งทุกอย่างเท่ากัน (ความไวแสง ช่องรับแสง) ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาทีจะให้ภาพที่สว่างกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที

2. การเคลื่อนไหวของภาพ หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว (จากการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่ของกล้อง) เวลาเปิดรับแสงนานจะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว หรือพร่ามัวได้มากกว่าเวลาเปิดรับแสงสั้น

เวลา เปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาทีแบบจำนวนเต็มหรือเศษส่วน แสดงอยู่ที่วงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์ ในจอแสดงข้อมูลที่ช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังตัวกล้อง แต่กล้องบางตัวก็ไม่แสดงความเร็วชัตเตอร์ให้ทราบ

ตัวเลขความเร็วชัตเตอร์มีดังนี้

T, B, 30s, 15s, 4s, 2s, 1s, 1/2s, 1/4s, 1/8s, 1/15s, 1/30s, 1/60s,1/125s, 1/250s, 1/500s, 1/1000s, 1/2000s, 1/4000s, 1/8000s

ความเร็วชัตเตอร์ T และ B เป็นการเปิดชัตเตอร์นานมากๆ เท่าที่ผู้ใช้ต้องการ การใช้งานทั้งสอง แตกต่างกันเล็กน้อย

การใช้งานชัตเตอร์ T ให้ตั้งชัตเตอร์ที่ T จาก นั้นกดปุ่มกดชัตเตอร์ กล้องจะเปิดรับแสงค้างเอาไว้หากต้องการปิดชัตเตอร์ให้กดปุ่มกดชัตเตอร์อีก ครั้ง ชัตเตอร์จะปิดลงมา ส่วนชัตเตอร์ B นั้น เมื่อกดชัตเตอร์กล้องจะทำการเปิดรับแสง ผู้ใช้จำเป็นต้องกดปุ่มชัตเตอร์ค้างเอาไว้ตลอดเวลาที่ต้องการให้กล้องเปิด รับแสง เมื่อปล่อยปุ่มชัตเตอร์ กล้องจะทำการปิดชัตเตอร์ทันที ทั้ง B และ T ผู้ใช้ต้องจับเวลาในการเปิดรับแสงเอง จะเปิดหรือปิดชัตเตอร์เมื่อไรก็ได้ (หรือจนกว่าแบตเตอรี่หมด) และควรใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์และขาตั้งกล้องเพื่อมิให้กล้องเกิดการสั่น ไหว

S คือ เวลาเปิดรับแสงในหน่วยของจำนวนเต็มเป็นวินาที ส่วนมากจะมีตัวเลขตั้งแต่ 30s ถึง 1s คือ 30 ถึง 1 วินาที ส่วนตัวเลขถัดไปจะเป็นเศษส่วนเช่น 1/2s, 1/125s ซึ่งบางครั้งจะเขียนเป็นจำนวนเต็ม แต่ไม่มี s ต่อท้ายเช่น 125 คือ 1/125 วินาที 30 คือ 1/30 วินาที ส่วน 30s คือ 30 วินาที

การ เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นกับความต้องการในการควบคุมการเคลื่อนไหวของ วัตถุในภาพ และความสามารถในการถือกล้องให้นิ่ง ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐานที่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้จะอยู่ประมาณ 1/60 ถึง 1/250 วินาที แล้วแต่น้ำหนักของกล้อง ความเร็วต่ำกว่านี้จะเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพอันเนื่องมาจากมือไม่นิ่ง แต่ถ้าติดตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งไม่มีการสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ยิ่งสูงจะสามารถจับวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้น เรื่อยๆ ในขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวพร่ามากขึ้น เรื่อยๆ ตามความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง ในการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงขนาดช่องรับแสงและปริมาณแสงที่มีในขณะนั้นด้วย ไม่สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ตามใจได้ ยกตัวอย่างเช่น หากถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยมากๆ แต่ต้องการจับการเคลื่อนไหวของวัตถุจึงตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ทำให้ปริมาณแสงที่ตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ไม่เพียงพอ แม้จะสามารถจับการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ แต่ภาพที่ได้จะมืดทำให้เป็นภาพเสียแทน ผู้ใช้จึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงในขณะนั้นทุกครั้งที่เลือกใช้ความเร็ว ชัตเตอร์ด้วย 

อ้างอิงจาก : http://prthai.com/articledetail.asp?kid=9078

หมายเลขบันทึก: 577460เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2014 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2014 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท