เกณฑ์มาตรฐานของการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม


เกณฑ์มาตรฐานของการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

จะต้องมีคุณสมบัติที่มีคุณค่าโดดเด่นตามหลักเกณฑ์ตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ” ดังนี้

มาตรา ๑ แห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
อนุสรณ์สถาน (Monuments) หมายถึง ผลงานทางสถาปัตยกรรม ผลงานประติมากรรม หรือจิตรกรรมติดที่ ส่วนประกอบหรือโครงสร้างของหลักฐานทางโบราณคดี จารึก ถ้ำที่อยู่อาศัย และร่องรอยหลากหลายผสมรวมกัน ซึ่งมีคุณค่าและความสำคัญโดดเด่นทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์
กลุ่มอาคาร (Groups of Buildings) หมายถึงกลุ่มของอาคารที่เชื่อมต่อกันหรือแยกจากกัน เพราะลักษณะของสถาปัตยกรรม หรือลักษณะที่เหมือนกัน หรือการจัดวางด้านภูมิทัศน์ ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์
แหล่ง (Sites) หมายถึงผลงานการกระทำของมนุษย์หรือผลงานผสมผสานของธรรมชาติ และมนุษย์และบริเวณที่รวมถึงแหล่งโบราณคดี ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นทางประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยาหรือมานุษยวิทยา

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
๑. เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ ด้านศิลปกรรม หรือตัวแทนของความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์ อันชาญฉลาดอย่างยิ่ง
๒. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองสืบต่อๆกัน มาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ บนพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดของโลก
๓. เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่งหรือเป็นพยานหลักฐาน แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ อารยธรรมซึ่งยังคงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว
๔. เป็นตัวอย่างของลักษณะโดยทั่วไปของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของ การพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม
๕. เป็นตัวอย่างของลักษณะอันเด่นชัด หรือของขนบธรรมเนียมประเพณี แห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือ เสื่อมสลายได้ง่ายเพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่ สามารถกลับคืนดังเดิมได้ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
๖. มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือบุคคลที่มีความสำคัญ หรือความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

สำหรับกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพราะ เมื่อปี พ.ศ.2534 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีมติ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย ให้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นหนึ่งในบัญชีมรดกโลก ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. กรุงศรีอยุธยาเป็นตัวแทนถึงความเป็นเยี่ยมในการสร้างสรรค์อันทรงคุณค่า และการเลือกสรรตำแหน่งที่ตั้งของพระนครให้เหมาะสมกับความซับซ้อนของลักษณะ ผังเมืองเฉพาะตัวของชุมชนที่อาศัยการสัญจรทางน้ำเป็นหลัก อันเป็นธรรมชาติการตั้งถิ่นฐานแบบไทยๆ ลักษณะดังกล่าวสะท้อนถึงพื้นฐานวัฒนธรรมที่สนองตอบความต้องการในการรักษาพระ นคร การป้องกันการรุกรานของข้าศึกศัตรู และความต้องการในการจัดระบบสาธารณูปการได้อย่างเหมาะสมกับสังคมพระนคร อันเอื้ออำนวยให้เกิดพัฒนาการสู่ความรุ่งเรืองในยามสงบสุข

2. กรุงศรีอยุธยาเป็นแม่แบบสำคัญในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นการชะลอเอาความงาม ความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นระเบียบผังเมือง การจัดวางอาคาร ชื่อสถานที่ต่างๆ ลักษณะอาคารบ้านเรือน การอยู่อาศัยในเรือนแพ ลักษณะและการใช้เรือพระที่นั่ง ตลอดจนถึงวิธีการดำเนินชีวิต

3. ความเป็นเอกลักษณ์ของนครประวัติศาสตร์แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพ ด้านประวัติศาสตร์ และด้านอารยธรรม จะหานครโบราณใดเทียบได้ในเอเชียหรือในโลกเป็นไม่มี

4. อาคารโบราณสถานแต่ละหลังในพระนครศรีอยุธยามีลักษณะการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นในภาคพื้นเอเชีย ลักษณะของสิ่งก่อสร้างหลายอย่าง เช่น เจดีย์ ปรางค์ และปราสาท มีความเป็นพิเศษไม่สามารถพบเห็นในที่อื่นๆ แม้สิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีกำเนิดที่มีอายุยืนยาวมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเรือง อำนาจ แต่ลักษณะการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ต่อเนื่องทางสถาปัตยกรรมมาสู่ลักษณะที่เป็นแบบไทย แท้ และไม่สามารถสร้างทดแทนได้ในปัจจุบัน

เอามาให้ดูเช่นนี้แล้วเกิดคำถามว่าท่านจะดูแลตามเงื่อนไขนี้ให้คงอยู่อย่าง ไรเพราะไปแต่ละครั้งเห็นมีทำลายบุกรุก ร้านรวงระเกะระกะ ความเป็นคูคลองที่เริ่มขาดระบบระเบียบ ช่วยกันดูแลรักษาก่อนที่เขาจะเอามรดกนี้กลับคืนไปเพราะไม่อนุรักษ์เอาไว้

หมายเลขบันทึก: 577077เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2014 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2014 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ยินมาว่า..มรดกโลกเหล่านี้..ได้เงินสนับสนุน..แล้วการที่เงินที่ได้รับการช่วยเหลือ..ผลงานเป็นอย่างที่เห็น...จะต้องคืนเงินที่เขาให้มารึเปล่า..(อิ)

เมืองเก่าเมืองใหม่..เละตุ้มเป๊ะ..อย่างทุกวันนี้...ใครใคร่อยู่..ๆ..ใคร..ใคร่ตาย..ๆ..อย่างนั้นรึ..(.อึ)...

คุณลุงเอก...สวัสดีค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท