nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

โรงเรียนอะไรกันนี่ _ตอนที่ ๓_การเรียนการสอนที่แปลก


ปกหนังสือฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย โดโรธี บริททัน

....................

          ที่โรงเรียนโทโมเอ ของ โต๊ะโตะจัง ทุกเช้าคุณครูจะจดวิชาที่เรียนบนกระดานดำ แล้วบอกนักเรียนว่า

          “เอาละ เริ่มเรียนวิชาที่ชอบได้เลยจ๊ะ”

          นักเรียนจะเลือกเรียนวิชาอะไรก่อนก็ได้ “ตามใจชอบ” นักเรียนก็จะเลือกวิชาที่ชอบมากที่สุดก่อน วิชาที่ชอบน้อยที่สุดไว้สุดท้าย นักเรียนจึงเรียนไม่เหมือนกัน

          วิธีการสอนทุกชั้นเรียนในโรงเรียนโทโมเอเป็นแบบนี้ วิธีนี้ทำให้ครูรู้จักเด็กมากขึ้นว่า เด็กคนไหนคิดอะไร สนใจอะไร ซึ่งดีสำหรับครู

          สำหรับนักเรียน การได้เริ่มเรียนวิชาที่ชอบก่อน เป็นเรื่องน่าดีใจ วิชาไม่ชอบเก็บไว้ชั่วโมงสุดท้าย ให้ทันก่อนโรงเรียนเลิกเป็นใช้ได้

          การเรียนทุกวิชา เป็นการเรียนแบบฝึกฝนด้วยตนเอง ถ้ามีตรงไหนไม่เข้าใจก็ไปถามครู หรือให้ครูมาอธิบายที่โต๊ะ จนกว่าจะเข้าใจ แล้วทำแบบฝึกหัดต่อไป จึงไม่มีนักเรียนคนไหนไม่ตั้งใจฟังคำพูด และคำอธิบายของครู

......................

บันทึกเพิ่มเติม(ของฉัน)

วิธีสอนแบบนี้ ฝึกให้เด็กๆ รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง นักเรียนกับครูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด

ห้องเรียนที่มีนักเรียน ๙ คน ของโรงเรียนโทโมเอ ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะสอนแบบนี้ แต่นี่คือ “ปุ๋ยความคิด” สำหรับการคิดต่อ คิดนอกกรอบ สำหรับโรงเรียนอื่นๆ .

เสาร์ที่ อาทิตย์ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๗

เขียนที่เชียงใหม่ เมื่อวานเย็นฝนตก ร้อนอ้าวบรรเทาแล้ว

อ้างอิง: คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ. โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง. แปลโดย ผุสดี นาวาวิจิตร. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์กะรัต , ๒๕๒๗. หน้า ๒๔-๒๕

หมายเลขบันทึก: 576183เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2014 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2014 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การเรียนรู้..ด้วย..ตนเอง..เป็น..ธรรมชาติ..ของสัตว์โลก..นะเจ้าคะ....(แต่ทำไม..เราต้องเรียนรู้อะไรๆ..ด้วยระบบคะแนนและ..รางวัลที่ตั้ง..(ดท้)..ด้วยเงินทองเกียร.ติคุณ...หรือการทุบตี..อิอิ...ก็ไม่รู้..นะเจ้าคะ)...ยายธีเกิดสมัยที่..ถูกตี..ต้องเรียนทั้งน้ำตา..ทุกวันๆถ้าท่องสูตรคูณ..ย้อนกลับไม่ได้.ถามปั้ปตอบไม่ได้ทันที..ก็จะโดน..(เขกกบาล..๕๕)..

ดิฉันก็เคยอยู่ในห้องเรียนแบบคุณยาย ยายธี นี่ละค่ะ  เคยเป็นเด็กหนีโรงเรียน  เด็กที่ถูกครูใหญ่ประจานหน้าเสาธง เด็กที่ถูกแม่ลากตัวใช้ไม้เรียวหวดน่องมาส่งขณะที่เพื่อนๆ กำลังเข้าแถว สงสัยเป็นปมด้อย ทำให้ถวิลหาโรงเรียนที่ครูใหญ่ใจดี อิ..อิ..  โตเป็นผู้ใหญ่แล้วเข้าใจอะไรง่ายขึ้น และรักโรงเรียน รักอาชีพครูมาก

ขอบคุณนะคะคุณ  Yanyong-P ที่แวะมาอ่าน

  • บ้านเราแล้ว หลักสูตรเก่ามีวิชาเลือก เลือกบังคับ เลือกเสรี ส่วนหลักสูตรใหม่เรียกสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแทน แต่ที่เหมือนกัน เหมือนเดิมคือ นร.มีโอกาสเลือกเรียนจริงๆน้อยมาก ส่วนใหญ่โรงเรียนจัดให้เสร็จสรรพแล้ว โดยเฉพาะโรงเรียนมัธยมครับ..
  • เด็กๆจึงอยู่กับหลายๆวิชา ที่ไม่ค่อยชอบ ไม่เห็นประโยชน์ บางสาระเนื้อหาวิชาก็เป็นอย่างนั้นจริงๆเสียด้วย ผู้ใหญ่บ้านเรามักห่วงเด็กๆว่า ต้องรู้วิชานั้นวิชานี้ เพื่อเป็นพื้นฐาน ต้องตรงนั้นอีกนิดตรงนี้อีกหน่อย..อะไรพวกนี้ สุดท้ายได้วิชาต่างๆมากมาย เนื้อหาวิชาก็เยอะ จะเรียนจะสอนจะเน้นที่กระบวนการ ครูก็มักไปติดกับกฏกติกาพวกนี้ครับ..
  • ชอบคำว่า"ปุ๋ยความคิด"ด้วยครับ
  • ขอบคุณแนวคิดครับพี่Nui 

ขอบคุณอาจารย์ ธนิตย์ สุวรรณเจริญ ตอนเรียนมัธยม พี่เคยสงสัยว่าทำไมลูกจึงต้องเรียนวิชาเลือกกีฬาไม่ซ้่ำกับสักปี ทั้งๆ ที่ลูกชอบกีฬาอย่างหนึ่งเขาน่าจะได้พัฒนาไปกีฬาเดียวตลอดหกปี  เป็นเพราะโรงเรียนหวังดีอยากให้เรียนหลายๆ กีฬา

คิดในแง่ดี  พ่อแม่ ก็ได้ฝึกซ้อมกีฬากับลูกหลายอย่าง  พี่ยังได้เตะตะกร้อกับลูกเลยค่ะ  ลูกพี่โชคดีที่พ่อเขาเป็นกีฬาหลายอย่าง 

เราห่วงเนื้อหามากเกินไป  ทั้งๆ ที่พี่คิดว่าหลักสูตรเขาก็ให้เรายืดหยุ่นได้อยู่  แต่จะว่าไประบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ทำให้โรงเรียนต้องห่วงเนื้อหา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท