ฟังทีดีอาร์ไอ...งานวิจัยควรใช้เป็นหลักฐานในทางคดีความหรือไม่


เท่านี้ก็ถือว่าทีดีอาร์ไอ มีความกล้าหาญทางจริยธรรมที่ออกมาอธิบายอย่างชัดเจนว่างานวิจัยใช้เป็นหลักฐานในทางคดีไม่ได้ .ขอคารวะ ดร. สมเกียรติ ประธานสถาบัน ฯไว้ ณ ที่นี้........

 เป็นที่น่ายินดีที่ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ได้โพสต์ข้อความ

ผ่านทางเฟซบุ๊ก Somkiat Tangkitvanich ซึ่งอ้างอิงใน มติชนออนไลน์ เรื่อง

"ดร.สมเกียรติ" แนะป.ป.ช. ไม่ควรอ้างงานวิชาการทีดีอาร์ไอ ไปเป็นหลักฐานกล่าวโทษคดีจำนำข้าว

วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 08:35:49 น.   http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...

               

 ประเด็นสำคัญที่ ดร. สมเกียรติต้องการสื่อสารก็คืองานวิจัยที่ทีดีอาร์ไอดำเนินการเป็นงานวิจัยเชิงนโยบาย ผู้ใช้ผลการวิจัยสามารถนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขนโยบายถ้ามีปัญหา ไม่สามารถใช้ในฐานะ ‘ หลักฐาน’ ในการกล่าวโทษผู้ใด ดังข้อความบางตอน

“………

มีการวิพากษ์วิจารณ์ และมีการสอบถามกันเข้ามาพอสมควรต่อเรื่องที่ ป.ป.ช. อ้างงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ ในการกล่าวโทษอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในโครงการจำนำข้าว โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อความเห็นที่แตกต่างระหว่างอัยการสูงสุด กับ ปปช. ทำให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นข่าวใหญ่………

ผมจึงอยากอธิบายสั้นๆ กับเพื่อนๆ ว่า ทีดีอาร์ไอทำอะไร เพื่ออะไร และอธิบายว่างานวิชาการแตกต่างจากงานไต่สวนอย่างไร….

ประเด็นสำคัญที่ผมอยากสื่อสารก็คือ ทีดีอาร์ไอเป็นสถาบันวิจัยด้านนโยบาย หน้าที่ของเราคือ การวิจัยที่มุ่งให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขนโยบายที่มีปัญหา เป้าหมายของทีดีอาร์ไอแตกต่างจากของ ป.ป.ช. ที่ต้องไต่สวนเอาผิดกับผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่

ผมจึงคิดว่า ป.ป.ช. ไม่ควรอ้างถึงงานวิชาการของทีดีอาร์ไอในฐานะที่เป็น "หลักฐาน" ในการตัดสินกล่าวโทษผู้ใด เพราะพยานหลักฐานทางวิชาการย่อมมีลักษณะแตกต่างจากพยานหลักฐานในคดีอาญาหรือคดีการเมืองในความรับผิดชอบของป.ป.ช.......

ในความเห็นของผม งานวิชาการอาจจะมีประโยชน์บ้างในการเป็นจุดเริ่มต้นหรือช่วยวางกรอบความคิดในเรื่องซับซ้อนที่ ปปช. ต้องไต่สวน แต่หลักฐานที่จะใช้ได้ในคดีความนั้น ก็เป็นหลักฐานซึ่งมีมาตรฐานในการพิสูจน์คนละอย่างจากหลักฐานทางวิชาการ

เช่น งานวิชาการอาจใช้หลักสถิติในการพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน

ในขณะที่การพิสูจน์การกระทำผิดทางกฎหมาย ก็มีมาตรฐานในกฎหมายกำหนดอยู่ เช่น ต้องมีเจตนา หรือประมาทเลินเล่อ เป็นต้น

---------เท่านี้ก็ถือว่าทีดีอาร์ไอ มีความกล้าหาญทางจริยธรรมที่ออกมาอธิบายอย่างชัดเจนว่างานวิจัยใช้เป็นหลักฐานในทางคดีไม่ได้ .ขอคารวะ ดร. สมเกียรติ ประธานสถาบัน ฯไว้ ณ ที่นี้........

หมายเลขบันทึก: 575932เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท