๕๒๘. Culture Shock


Culture Shock

เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๗ ผู้เขียนได้มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับสำนักงาน ก.พ. ซึ่งได้เชิญนักเรียนทุนรัฐบาลมาคุยถึงประสบการณ์ในการใช้ชีวิตต่างแดนมาให้ฟัง...ทำให้ได้ข้อคิด ประโยชน์อย่างมาก จึงนำมาเล่าสู่ให้กันฟังค่ะ...

บางครั้งการที่ใคร ๆ คิดว่า "ถ้าได้ไปต่างประเทศนั้น สวยหรู โก้หรู"...แต่คราวแรกของวัยเด็ก ๆ ที่ได้เข้าไปเหยียบดินแดนที่เรา ๆ เรียกกันว่า "ต่างแดน" เพราะแตกต่างจากประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนเกิดของเรา ๆ ท่าน ๆ...เราจะมีชีวิตที่เป็นอีกแบบหนึ่ง คือ สะดวก สบาย สื่อสารกันได้อย่างลงตัว เพราะเรามีภาษาประจำชาติของเราเอง คือ ภาษาไทย สำหรับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษานิยม เด็กไทยส่วนใหญ่ พูดได้ไม่ทุกคน ผู้เขียนขอยืนยันว่า "ไม่ทุกคน"...

สำหรับคนเก่ง ๆ ก็มีแบบหลากหลายที่มีความเก่งในตัวเอง...ขอใช้คำว่า "บางคน" เท่านั้น ที่รู้อย่างลึกซึ้ง สามารถสื่อสารกับคนต่างชาติได้อย่างสบาย ยิ่งเด็กไทยที่อยู่ในประเทศไทย แต่ไม่ค่อยได้สื่อสาร หรือใช้ภาษาอังกฤษด้วยแล้วละก็...คราวเจอของจริงที่ได้สื่อสารกับชาวต่างชาติ บางคนถึงกับอึ้งไปเลยก็มี...

Culture Shock หมายถึง ช็อคทางวัฒนธรรม ถ้าจะแปลตรงตัว ก็จะหมายถึง ความตกใจทางวัฒนธรรม หรือ เรียกให้เพราะๆหน่อย ก็คือ ความรู้สึกสับสนต่อวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคย มักเกิดกับคนที่ไปเมืองนอก แล้วในช่วงแรกๆ ยังปรับตัวไม่ได้ ซึ่งวัฒนธรรมหรือการใช้ชีวิตที่เมืองนอกนั้น บางครั้งก็ตรงข้ามกับบ้านเราซะเหลือเกิน พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือจนทำให้เราปรับตัวไม่ทันจริงๆ...

ในครั้งแรก ผู้เขียนก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เท่าไรนัก...แต่ความจริงมันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ...หลังจากได้ฟังน้อง ๆ ที่ได้รับทุนรัฐบาลไทยไปเรียนที่เมืองนอก เช่น สวีเดน อังกฤษ อเมริกา ฯลฯ ได้เล่าให้ฟังถึง Culture Shock...กว่าพวกเขาจะปรับตัวเองกันได้ บางคนปาเข้าไป ๓ เดือน ๖ เดือน ๒ ปี กว่าที่เข้าไปเรียนแล้วจะรู้เรื่องว่าอาจารย์สอนอะไร? กว่าจะเข้าใจความหมายของการเรียน กว่าจะเข้าใจถึงการสื่อสารต่าง ๆ เช่น ต้องการทราบว่าห้องน้ำอยู่ไหน? กว่าจะสื่อสารให้ชาวต่างชาติได้รับรู้ เป็นอาการของ Culture Shock ของเด็กไทยที่เริ่มต้นเข้าสู่ต่างแดน...พวกเขาต้องใช้ชีวิตต่างแดนด้วยตัวเขาเอง...กับเงินทุนรัฐบาลที่ให้ไปเพื่อให้คุ้มค่าของเงินที่รัฐบาลได้ให้ทุนแก่พวกเขาได้ไปเรียนต่อ...ทุกบาททุกสตางค์เขาต้องใช้แบบประหยัดสุด ๆ...ไม่ว่ากับอากาศหนาวเย็นที่ไม่คุ้นเคยเช่นอากาศของเมืองไทย...มิหนำซ้ำการใช้ชีวิตในแต่ละวันในต่างแดน...การสื่อสารที่จะทำให้รู้เรื่องและเพื่อความอยู่รอด มันไม่ใช่ธรรมดาเลยกับ "ชีวิตในต่างแดน" ในตอนแรก ๆ

แต่ก็น่าภูมิใจกับพวกน้อง ๆ...สุดท้ายพวกเธอก็จบกลับมาบางคนเรียน ป.ตรี - ป.เอก ด้วยทุนรัฐบาล...ใช้ชีวิตต่างแดนเกือบสิบ ๆ ปี...และก็ต้องกลับมาใช้ทุนให้กับประเทศไทย...แต่หลังจากพวกเขาเรียนจบ ความคิดของเขาที่วาดหวังกับประเทศไทยว่า...ต้องได้รับค่าจ้างที่สูงส่ง...สภาพการณ์ที่สวยหรู กลับตาลปัตร เพราะพวกเขายังไม่เข้าใจถึงบริบทของเมืองไทยว่ามีความพร้อมเช่นไร...พวกเขาเติบโตมาจากวัฒนธรรมต่างชาติ...พวกเขายังไม่เข้าใจบริบทของประเทศไทย ซึ่งไม่เหมือนกับต่างแดนนัก...นี่ก็ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาพ Culture Shock ขึ้นได้...

ทุกสิ่งอย่าง ขึ้นอยู่กับทาง สำนักงาน ก.พ. และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความรู้และความเข้าใจต่อเด็กไทยที่ได้รับทุนรัฐบาลไปเรียนต่อในต่างแดน ที่เมื่อพวกเขาได้ไปเรียนแล้ว นั่นคือ โอกาสทองของพวกเขา แต่อย่าลืมสุดท้าย พวกเขาต้องกลับมาพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดที่ได้สนับสนุนทุนให้พวกเขาไปเรียนต่อ มีอนาคตที่สดใส ควรคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน...

จากที่เจ้าหน้าที่ ก.พ. เล่าให้ฟัง ทำให้เห็นถึงปัญหาของให้ทุนไปเรียนต่อเหมือนกัน เช่น บางคนไปแล้วไปลับ ได้ดีแล้วไม่กลับมาพัฒนาประเทศไทย อนิจจัง อนิจจา เข้าใจบ้างหรือไม่กับการที่ภาครัฐให้ทุนไปเรียนต่อยังต่างประเทศ...ฯลฯ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๖ กันยายน ๒๕๕๗

คำสำคัญ (Tags): #culture shock#บุษยมาศ
หมายเลขบันทึก: 575720เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2014 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2014 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท