nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

หนังสือดีที่น่าอ่าน "อีกหนึ่งฟางฝัน บันทึกแรมทางของชีวิต" ของ จิระนันท์ พิตรปรีชา


ดื่มด่ำกับภาษากวีอันงดงามที่สะท้อนภาพการต่อสู้ด้วยอุดมการณ์กร้าวแกร่งของคนหนุ่มสาว การใช้ชีวิตในป่าร่วม ๖ ปี มิตรภาพอันงดงามในยามยาก และตัวตนที่ผ่านการทดสอบของตัวละครต่างๆ
 

ดื่มด่ำกับภาษากวีอันงดงามที่สะท้อนภาพการต่อสู้ด้วยอุดมการณ์กร้าวแกร่งของคนหนุ่มสาว  การใช้ชีวิตในป่าร่วม ๖ ปี   มิตรภาพอันงดงามในยามยาก  และตัวตนที่ผ่านการทดสอบของตัวละครต่างๆ

จิระนันท์เขียนเล่าเรื่องราวชีวิตในช่วงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ กระทั่งเข้าร่วมกับ พคท. และออกจากป่าเข้ามอบตัวเมื่อตุลาคม ๒๕๒๓ 

จิระนันท์บอกเล่าวิถีชีวิตของคนหนุ่มสาวที่ทิ้งเมืองด้วยอุดมการณ์อันบริสุทธิ์เข้าอยู่ป่าผ่านชีวิตของเธอและคู่ชีวิตคือ อาจารย์เสกสรร  ประเสริฐกุล  บอกเล่าเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์  กระทั่งหนุ่มสาวปัญญาชนจากเมืองตั้งคำถามแก่ตัวเองในระยะปีท้ายๆ ว่า  พวกเขาไปทำอะไรกันที่นั่น  และวาระสุดท้ายที่พวกเขาคืนสู่เมืองในลักษณะที่คุณจิระนันท์เรียกขานตัวเองว่าเป็น สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์

หลายวรรค หลายวลีที่ทำให้เราในฐานะของคนร่วมกาลเวลาร่วมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครานั้นต้องน้ำตาซึมกับภาษาที่ฉายภาพและอารมณ์ต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจนราวกับได้ร่วมในเหตุการณ์  

เราจะได้รู้จักนายผี หรือ สหายไฟ ไม่ฟ้า จากตัวหนังสือของจิระนันท์  ได้รู้จักลุงคำตัน หรือ พันโทโพยม จุลานนท์ และบุคคลต่างๆ ที่มิใช่เพียงได้ยินชื่อจากสื่อต่างๆ   โดยเฉพาะความสัมพันธ์อันงดงามของเธอกับสหายไฟ ไม่ฟ้า ที่เธอเรียกขานว่าเป็น  ครูกวีคนสุดท้ายของผู้เขียน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">อ่านจบแล้วได้เห็นภาพของประวัติศาสตร์ช่วงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ จนถึงเวลาแห่งการคืนเมืองของหนุ่มสาวที่อ่อนล้าได้ชัดเจน  แม้จะเป็นการบอกเล่าผ่านผู้หญิงคนหนึ่ง  แต่สามารถต่อเป็นภาพใหญ่ที่สมบูรณ์ได้ไม่ยาก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ยิ่งเมื่อย้อนกลับไปอ่านกวีนิพนธ์แห่งชีวิต  ใบไม้ที่หายไป ของจิระนันท์ ซึ่งได้รับรางวัลซีไรท์ ปี ๒๕๓๒  ยิ่งเห็นภาพชัดทุกตัวอักษร  รับรู้ลึกซึ้งสะเทือนใจกับความเศร้า และสิ้นหวังของเจ้าของบทกวี  ตั้งแต่  ตะวันตกดินที่ซับฟ้าผ่า  พินัยกรรม  หิ่งห้อย  และ  ท่อนสุดท้ายของบทกวีที่ชื่อ  เศษธุลี</p>          “ฉัน คือกรวดเม็ดร้าว    แหลกแล้วด้วยความเศร้าหมองหม่น   ปรารถนาเป็นธุลีทุรน   ดีกว่าทนกลั้นใจอยู่ใต้น้ำ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ถ้าคุณเป็นนักอ่าน  ไม่ว่าจะเป็นคนร่วมสมัยสิบสี่ตุลาหรือไม่  ขอเชิญชวนให้ซื้อหามาอ่าน  หนังสือเพิ่งออกขายเมื่อต้นปี ๔๙  พิมพ์ครั้งที่ ๒ แล้ว  มีคุณค่ามากเหลือเกินสำหรับหนังสือดีที่น่าอ่านเล่มนี้  อ่านจบแล้วคุณจะเห็นด้วยกับที่คุณคมสัน พงษ์สุธรรม เขียนถึงเธอไว้เมื่อปี ๒๕๒๔ ว่า</p>          “เธอมิใช่กรวดเม็ดร้าว   เธอยังสุกสกาวสดใส   กาลเวลาไม่อาจพรากเธอจากไกล   เธอยังอยู่ในใจ  ยังจดจำ   เขียนเมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

หมายเลขบันทึก: 57565เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
รออ่านเรื่องเล่าดีดี ต่อไปนะคะ

แหม  ดูท่าคุณจะเป็น "ขาประจำ" นะ  ยังไงก็ขอบคุณนะคะ

กำลังจะเมล์ไปถามคุณครูอยู่เดี๋ยวนี้แล้ว

ก้อ ชอบนี่ค๊า มีคนมาอ่านหนังสือให้ฟัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท