การใช้ ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase (SK)


การพัฒนาระบบการจัดบริการผู้ป่วย ในโรงพยาบาลชุมชน . ตาม Service Plan จังหวัดปัตตานี


การใช้ ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ( SK )

1,5000,000 ยูนิต/vial (1.5 MU/ vail) เก็บที่อุณหภูมิ 2-25 องศาเซลเซียส (ตู้เย็น)


ข้อบ่งใช้: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (STME )

รักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด,

ภาวะหลอดเลือดในปอดอุดตันเฉียบพลัน


ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มี 2 ชนิด

1.ST elevevation MI ( STMEMI) หลอดเลือดอุดตัน 100%

2.Non- ST elevation MI (NSTEMI) หลอดเลือดตีบรุนแรง


ประโยชน์การรักษาการใช้ยาละลายลิ่มเลือด

1.ช่วยลดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ( limit infarct size)

2.ช่วยให้ประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ( improve Left Ventricular function)

3.ลดอัตราตาย

ในผู้ป่วยSTEMI ที่ได้รับการรักษาสามารถลดอัตราตายลง 20-50% ประโยชน์ของการรักษาที่ได้รับมากที่สุดคือ ภายใน1-3 ชั่วโมงของ onset ของchest pain


ข้อบ่งชี้ Streptokinase (SK) ( จาก ( โรงพยาบาลแม่ข่าย ) รพ.ปัตตานี
1.มีอาการ angina cheat pain อย่างน้อย –30 นาที ไม่เกิน 12 ชั่วโมง 2.EKG พบมีข้อใด ข้อหนึ่ง
2.1 ST elevation ≥0.1 mv (1 mm) ใน 2 leads ที่อยู่ติดกัน หรืออย่างน้อย 0.2 mv (2mm) ใน Lead V .1 V2 หรือ V3

2.2 New LBBB (Left bundle branch block)

2.3 มี LBBB อยู่ก่อนแล้วเกิดข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

-ST elevation > 0.5 mv (5mm)ในทิศทางตรงกันข้าม QRS complex

-ST elevation 0.1 mv (1mm)ในทิศทางเดียวกับ QRS complex

-ST elevation 0.1 mv (1mm)ใน Lead V .1 V2 หรือ V3 (อย่างน้อย 2leads ติดกัน)

3. angina chest poain >12 ชั่วโมง แต่ยังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่และมี STelevation

ข้อห้ามให้SK

ข้อควรระวัง SK

- มีประวัติแพ้ยานี้ -มีความเสี่ยงต่อ bleeding: มีเลือดออกภายในช่องท้อง ในสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมาไม่นาน ได้รับการผ่าตัดใน -กะโหลกศีรษะหรือในไขสันหลังมาไม่นาน มีเนื้องอกในกะโหลกศีรษะ มีเนื้องอกที่เสี่ยงต่อเลือดออกได้รับการผ่าตัดใหญ่มาไม่นาน (6-10วัน) การตัดอวัยวะหรือเนื้อเยื่อมาวินิจฉัย มีเลือดออกภายในช่องท้อง ในสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมาไม่นาน ได้รับการผ่าตัดในกะโหลกศีรษะหรือในไขสันหลังมาไม่นาน มีเนื้องอกในกะโหลกศีรษะ มีเนื้องอกที่เสี่ยงต่อเลือดออกได้รับการผ่าตัดใหญ่มาไม่นาน (6-10วัน) การตัดอวัยวะหรือเนื้อเยื่อมาวินิจฉัย -การรักษาพร้อมกับการใช้ Wafarin (INR>1.3) -โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ Systolic>200mmHg และ/ หรือ Diastolic> 100mmHg
  • โรคความดันโลหิตสูงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตา
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis)หรือถุงหุ้มหัวใจอักเสบ(Pericarditis)
  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
ตับหรือไตบกพร่องรุนแรง>200mmHg และ/ หรือ Diastolic> 100mmHg
  • โรคความดันโลหิตสูงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตา
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis)หรือถุงหุ้มหัวใจอักเสบ(Pericarditis)
  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

-ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกหรือเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก
  • ระวังในผู้ป่วยลิ้นหัวใจบกพร่องหรือมี atrial fibrillation
  • ระวังในผู้ป่วยคลอดบุตรหรือคลอกมาไม่นาน
  • หญิงตั้งครรภ์ใน18สัปดาห์ แรกห้ามให้SK (ยกเว้นจำเป็นจริงๆ)
  • ยังไม่มีข้อมูลในหญิงให้นมบุตร
  • หากจำเป็นต้องเจาะหลอดเลือดแดงในระหว่างการรักษาควรเจาะเส้นเลือดที่ แขนหรือขาด้านบน หลังจากเจาะเลือดแล้ว ให้กดแผลไว้อย่างน้อย30นาที ปิดด้วยผ้าพนแผล และตรวจเช็คบริเวณดังกล่าวบ่อยครั้งเพื่อดูว่ามีเลือดออกหรือไม่
  • ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่เคยรับ SK ภายใน 1-2ปีเนื่องจากผู้ที่เคยได้รับ SK ร่างกายจะสร้าง Streptokinase antibody ขึ้นส่งผลให้อาจจะลดประสิทธิภาพของยาและอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้




ข้อห้ามใช้ตาม Protocal โรงพยบาลปัตตานี

Absolute Contraindication Relation Contraindication
1.มีประวัติเป็นHemorrhagic Stroke
2.มีประวัติเป็นnon hemorrhagic stroke ใน3เดือน 3.สงสัยหรือตรวจพบ intracranial ncoplasm Arteriovenous malformation

4.actiov หรือrecent (ภายใน2-4 wk) internal bleeding (ไม่รวมประจำเดือน)

5.สงสัยมี Aortic dissection, Significant Closed head หรือ facial trama ใน3 เดือนที่ผ่านมา

1.Sytolic> 180 mmHg หรือ Diatolic >110 mmHg เมื่อแรกรับและควบคุมไม่ได้ 2.โรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ทราบชนิดแน่ชัดหรือโรคของเนื้องอก 3.ใช้anticoagulant และมี INR >2-3 หรือมีภาวะเลือดออกง่าย

4.มีประวัติ severe injury ภายใน 2-4 wk.(internal bleeding)

5.มีประวัติ CPR มากกว่า 10นาที หรือจนเกิด trama รุนแรง

6.มี major surgery ภายใน 3 wk มีประวัติเลือดหยุดยาก

7.ตั้งครรภ์

8.active peptic ulcer มีเลือดออกรุนแรง

9.เคยได้รับSK ภายใน 2 ปี หรือมีประวัติแพ้ยา

ระบบป้องกันการได้รับ SK ซ้ำภายใน 1-2 ปี โรงพยาบาลปัตตานี
1.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าไม่ควรได้ยา SK ซ้ำภายใน 1-2 ปี
2.ออกบัตร SK ซึ่งระบุวันที่ใช้ยาให้กับผู้ป่วย

3.ติดสติ๊กเกอร์ระบุวันที่ใช้ยาในOPD card

4.ทำ pap-up เตือนใน HOS-xp

Drug Interaction

  • ขณะให้ยาลิ่มเลือดไม่ควรให้ยาอื่นร่วมด้วย
  • Heparin:หากผู้ป่วยได้ heparin อยู่ก่อนแล้วค่า thrombin time ไม่ควรสูงกว่า 2 เท่า ของค่าปกติก่อนเริ่มการรักษาด้วย SK
  • Warfarin: ห้ามใช้ SK ในผู้ที่ INR>1.3

ขนาดยาที่ใช้

- ขนาดยา : 1.5 mu/ :1 vail 1 IV infusion in 60 นาที

-ให้ผ่าน infusion pump ตั้งrate 100 ml/hr

-ตัวทำละลาย D5W, NSS,RLS

การผสมยาและความคงตัว
1.การละลายให้ฉีด D5W 5ml เข้าไปในขวดยาแล้วกลิ้งขวดไปมาช้าๆ ห้ามเขย่า หลังผสมยาให้ใช้ภายใน8 ชั่วโมง.(สารละลายที่ได้ไม่มีสี-สีเหลืองอ่อน ใส-ขุ่นเล็กน้อย) ควรใช้ทันทีหรือเก็บในตู้เย็นได้ไม่เกิน 24 ชม
2. เจือจงด้วย D5W 100ml.ให้1 IV infusion ผ่าน infusion pumpภายใน 60 นาที

ข้อควรระวังขณะให้ยา

อาการไม่พึ่งประสงค์
1.เมื่อเริ่มให้ยารักษาอาจเกิดความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ อาจแก้โดยลดอัตราเร็วของการให้ยาเมื่อความดันโลหิตลดลงหรือหยุดให้ยาทันทีเมื่อผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยหรือ bleeding
2.อาจให้ Hydrocortisone เพื่อป้องกันอาการไม่พึ่งประสงค์







1 .>10% : ความดันโลหิตต่ำ,เลือดออกบริเวณที่ฉีดยามีการพัฒนาของ antistreptokinse antibodies มีความผิดปกติของจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ angina pectoris

2.1-10 % ไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ bleeding อาการแพ้ยา คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดแสบท้องเนื่องจากกรดไหลย้อน


การพยาบาลผู้ป่วยให้ยา SK


ก่อนให้ยา
SK

ขณะให้ยา
SK

หลังให้ยา

1.ซักประวัติและตรวจร่างกาย

-ซักประวัติข้อบ่งชี้ในการให้ยาSK

-ซักประวัติเกี่ยวกับข้อห้ามและข้อควรระวังในการให้ยาSK

-ตรวจร่างกาย

2.แพทย์/พยาบาลให้ข้อมูลผู้ป่วย/ญาติ เกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็นและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากยาและให้ลงนามยินยอมรักษา

3.เจาะเลือดหรือติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ เช่น CBC,aPTT,PT,HCT,INR,Eleatrolyte,Cr,Cardiac enzyme เป็นต้น การวัด aPTT,PT(วัดค่า thrombin time, Aptt, PT ก่อนเริ่มการรักษาและหลังการให้ยา4 ชั่วโมงรวมถึง hematecrit และ plateiet count เพื่อเฝ้าระวังพิษจากยา)

4.เปิดเส้นเลือดดำส่วนปลายไว้ 2เส้นเพื่อแยกยา SK ออกจากยาและสารน้ำอื่นๆที่ให้ทางเส้นเลือดดำ(กรณีที่ไม่ได้ให้น้ำอื่นๆให้ on heparin lock ไว้)

5.ถ้าประเมินแล้วพบว่าต้องใส่ Invasive procedure ควรใส่ก่อนที่จะให้ยา SK เพื่อป้องกัน bleeding

6.เตรียมรถ Emargency และอุปกรณ์ช่วยชีวิต รวมทั้งเครื่องDefibrillator ให้พร้อมใช้

7.วัดสัญญาณชีพ: V/S, N/S 8.วัดPain score 9.ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่องทำ Complete lead ECG ก่อนการให้ยาเพื่อไว้เปรียบเทียบภายหลังการให้ยา 10.เตรียมยา

1.วัด HR, BP Heart rate ,

-BP วัด ทุก15 นาที *4 ครั้ง ,ทุก 30นาที*2 ครั้ง ต่อในทุก1-2 ชม ต่อเนื่อง 48 ชม(อาจเกิดภาวะ hypotension จากการขยายตัวของหลอดเลือด)

2.วัด Neuro sign (N/S)

-วัด ทุก15 นาที *4 ครั้ง ,ทุก 30นาที*2 ครั้ง ต่อในทุก1-2 ชม ต่อเนื่อง 48 ชม เพื่อประเมินระดับความรู้สึกตัวและอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท(อาจเกิดภาวะเลือดออกในสมองจากการแตกของเลือดในสมอง)

3.ติดตามลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจเกิดVT,VF จากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

4.Bleedig: อาการแสดงของภาวะเลือดออก เช่นตำแหน่งที่ทำหัตถการในระบบปัสสาวะ ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รอยช้ำตามตัวทุก 15นาที ใน1ชม แรกที่ให้

5.สังเกตอาการแพ้ยาใน 1 ชม แรกของการให้ยา เช่น ผื่น แน่นหน้าอก

6.ประเมินอาการเจ็บหน้าอกPain score

7.ดูให้ absolute bed rest

8.บันทึกเวลาที่เริ่มให้ยา อาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ได้รับยาและหากจำเป็นต้องหยุดยาต้องบันทึกปริมาณที่ได้รับและเวลาที่หยุดย

1.ประเมินว่ามี reperfusion ของหลอดเลือดหรือไม่โดยผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บหน้าอก

-ทำEKG 12 lead ที่ 60-90นาที หลังจากเริ่มให้ยา พบว่า S-T segment ยกลดลงจากเดิมก่อนการให้ยาอย่างน้อย50%

2.วัด HR,BP,N/S วัด ทุก15 นาที *4 ครั้ง ,ทุก 30นาที*2 ครั้งถ้าคงที่วัดทุก1 ชั่วโมง

3.Bleedig precaution 72ชั่วโมง เช่นการแปรงฟัน การดูดเสมหะ (ใช้แรงดันไม่เกิน80 มิลลิเมตรปรอท),หากมียาที่ต้องฉีดบริเวณผิวหนังหรือกล้ามเนื้อรายงานแพทย์ทราบ

4.ติดตามตรวจทางห้องปฏิบัติการตามการรักษา

5.วัดค่าaPTTT,PTให้ยา 4 ชั่วโมง








อาการที่ต้องรายงานแพทย์:

1.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะsustained VT,VF

2. BP < 90/60 mmHg หรือBP ต่ำกว่าของเดิม≥20 mmHg , HR<60 หรือ >100 ครั้ง/นาที ,RR 30 ครั้ง/นาที

3.มีภาวะเลือดออก

4.Sever chest pain

5.อาการแพ้ยาเช่น ผื่น แน่นหน้าอก

6.plateiet<100,000 cell/ mm

แนวทางปฏิบัติการเบิกจ่าย SK เพื่อทดแทนแก่ รพช

1.เมื่อมีการให้ยาSK ที่ รพช. ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อมาที่โรงพยาบาลปัตตานี

2.พยาบาลER ร.พปัตตานี พิมพ์สติ๊กเกอร์ชื่อและ HN ผู้ป่วยพร้อมทั้งเขียนข้อความ “SK" และระบุชื่อโรงพยาบาลที่ส่งต่อผู้ป่วยมา แล้วมอบให้เจ้าหน้าที่ รพช.นำไปเบิกยาที่ห้องยาผู้ป่วยนอก

3.เจ้าหน้าที่ รพช. นำสติ๊กเกอร์ในข้อ 2 พร้อมกระติกน้ำแข็ง มาเบิกยาที่ห้องยาผู้ป่วยนอก

4.เภสัชกรตรวจสอบประวัติการใช้ยาSK –ของผู้ป่วยในระบบHos-xp หากพบว่าผู้ป่วยเคยให้ SK ภายใน 1-2ปี รายงานแพทย์ทราบเพื่อเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ท่อาจเกิดขึ้น

5.เภสัชกรจ่ายยา SK โดยวางบนน้ำแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้ยาอยู่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส

การเก็บรักษา SK (2-25 องศา)

1.ระหว่างนำส่งจากโรงพยาบาลปัตตานีไป รพช.ต้องเก็บยาใส่กระติกน้ำแข็งตลอดเวลา โดยวงยาบนน้ำแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้ยาอยู่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า2 องศา

2.เก็บยาในตู้เย็นช่องธรรมดา โดยใส่กล่องแยกจากยาอื่นๆและมีป้ายระบุชื่อยาติดที่หน้ากล่องให้ชัดเจนนอกจากนี้ควรระบุวันหมดอายุของานี้หน้ากล่องเก็บยาเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ

คำสำคัญ (Tags): #ๅ/
หมายเลขบันทึก: 575412เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2014 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2015 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีประโยชน์แก่ผู้สนใจมากเลยครับ

เพิ่งไปยะลามาครับ

เสียดายไม่ได้แวะ

คงมีโอกาสต้อนรับอาจารย์คะ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท