​ผลของการแก้การพักตัวของเมล็ดด้วยวิธีการตัดปลายต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์แตงไทย ที่ผ่านการเก็บรักษาในอายุที่แตกต่างกัน


ผลของการแก้การพักตัวของเมล็ดด้วยวิธีการตัดปลายต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์แตงไทย

ที่ผ่านการเก็บรักษาในอายุที่แตกต่างกัน

Effect of Clipping Seed Dormancy Breaking Method on the Germination of Thai Melon Seeds (Cucumis melo L.) from Different Seed Storage Ages

                                                                                                           ชยพร แอคะรัจน์ 1

                                                      บทคัดย่อ

                  ได้นำเมล็ดพันธุ์แตงไทย (Cucumis melo L.) ชนิดผลกลม ที่เก็บรักษาไว้นานแตกต่างกัน 4 เวลาคือ กรกฎาคม 2553, กรกฎาคม 2554, กรกฎาคม 2555 และ กรกฎาคม 2556 มาแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์โดยวิธีการตัดปลายเมล็ด (Clipping seed dormancy breaking method) แล้วนำไปทดสอบความงอก เปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาตามปกติในระยะเวลาที่นานเท่ากัน ใช้แผนการทดลองแบบ CRD มี 4 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของความงอกของเมล็ดที่มีการตัดปลาย เมื่อเก็บรักษาไว้นานแตกต่างกัน 4 เวลาคือ กรกฎาคม 2553, กรกฎาคม 2554, กรกฎาคม 2555 และ กรกฎาคม 2556 ได้เท่ากับ 30.00, 54.50, 90.25 และ 90.00 % ตามลำดับ ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยของความงอกของเมล็ดพันธุ์ตามปกติ เมื่อเก็บรักษาไว้นานแตกต่างกัน 4 เวลาคือ กรกฎาคม 2553, กรกฎาคม 2554, กรกฎาคม 2555 และ กรกฎาคม 2556 ได้เท่ากับ 27.25, 52.50, 35.50 และ 23.25 % ตามลำดับ

                  ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์แตงไทยโดยวิธีการตัดปลายเมล็ด สามารถทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์เพิ่มมากขึ้นได้ในระยะแรก จนกระทั่งเมล็ดพันธุ์มีอายุการเก็บรักษานาน 1 ปี แต่เมื่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์แตงไทยนานมากกว่านี้ การแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์โดยวิธีการตัดปลายเมล็ด จะไม่สามารถทำให้ความงอกของเมล็ดเพิ่มมากขึ้นได้เลย

                                                      Abstract

                  Thai melon seeds (Cucumis melo L.), round type, storaged in 4 ages, July,2010, July,2011, July 2012 and July,2013 were applied by clipping seed dormancy breaking method. Then, the germination seed testing was done compared with the normal seeds from each seed storage ages by standard method at laboratory of seed technology. The CRD with 4 replications was used. The results showed that the means of the germination percentages of treated seeds of July,2010, July,2011, July 2012 and July,2013 were 30.00, 54.50, 90.25 and 90.00 %, respectively. While the normal seeds from each seed storage ages showed that the means of the germination percentages of treated seeds of July,2010, July,2011, July 2012 and July,2013 were 27.25, 52.50, 35.50 and 23.25 %, respectively.

                   This phenomenon showed that the clipping seed dormancy breaking method treated on Thai melon seeds was affected to the height the seed germination percentage till seeds storage about 1 year passed. After that, this treating method was not affected to the seed germination percentage compared with the normal seeds from each seed storage ages.

ชื่อคำสำคัญ : เมล็ดพันธุ์แตงไทย ความงอก อายุการเก็บรักษา การพักตัวของเมล็ด การตัดปลาย

Key words : Thai melon seeds Germination Seed storage Seed dormancyClipping

---------------------------------------------------------------------------

1 รองศาสตราจารย์, สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000. E-mail : chayaporn.ae @ gmail.com

คำสำคัญ (Tags): #ชยพร#วิจัย
หมายเลขบันทึก: 574275เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2014 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2014 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท