YC 1


จุดประกายนัก YC น้อย

การจุดประกายการเป็น YC youthcounselor ของนักเรียนเเก้ปัญหานักเรียนเอง 


        โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม หรือโรงเรียนดง จังหวัดมหาสารคาม มีเด็กๆที่มีเเรงบันดาลใจมาเเต่ครั้งเมื่อประถมศึกษา ที่เขาได้มีโอกาสทำกิจกรรม YC ในห้องเรียน ที่เขาในตอนนี้เรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นส่วนใหญ่ เเกนนำหลัก เป็น เจมส์ เเละเเนท พวกเขามีเเนวคิดที่อยากให้โรงเรียนแห่งนี้มีวิธีการเเก้ไขปัญหานักเรียนด้วยนักเรียนเอง ที่อยู่ในลักษณะของการให้คำปรึกษา เพื่อด้วยกัน เพื่อนคนไหนที่มีเรื่องที่ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ก็ให้มาปรึกษา YC โดยพวกเขามีการประสานงาน จัดทำห้องการให้คำปรึกษาเรียบร้อยเเล้ว โดยเราเองพี่ใหญ่ ได้เเก่ เเสน เอ็ม ก๊อต เเซม เเละส้ม คอยดูอยู่ห่างๆ คอยโค๊ชชิ่งอีกทีหนึ่ง เเกนนำส่วนใหญ่ของ YC เป็น ม.5 ม.4 เเละ ม.6 เขามีเเนวทางวิธีการดำเนินงาน ดังนี้

๑.มีการประกาศรับสมัคร เเละเขียนใบสมัครสำหรับเเกนนำการให้คำปรึกษาเพื่อน

๒.การไปดูงานเพื่อศึกษาเรียนรู้ว่า YC ในระดับประเทศของเขานั้นเป็นอย่างไร

๓.การสรุปงานเเล้ววางแผนการดำเนินงาน / อันนี้อาจเกิดค่าย youthcounselor ขึ้น

๔.การดำเนินงาน ที่เเยกตามเคส ซึ่งจะเเบ่งปัญหาที่น้องๆมาปรึกษาเเบ่งเป็นเคสในเเต่ละฝ่ายรับผิดชอบ 

๕.การร่วมเเลกเปลี่ยนสะท้อนปัญหาให้กันเเละกัน เเละเก็บข้อมูลของเเต่ละบุคคล เพื่อวางเเผนพัฒนาเป็นรายบุคคล

๖.การสรุปงาน การส่งต่อให้รุ่นต่อรุ่น โดยถ้าผลิตผลออกมาดี อาจนำเด็กที่ผ่านกระบวนการให้คำปรึกษาที่มีปัญหามาเเล้ว ลุกขึ้นมาเป็นเเกนนำ YC ที่จะระเบิดออกจากด้านในสูงสุด 

        เมื่อได้คุยกันในระยะหนึ่งเเล้ว ก็มีการไปดูงาน ณ โรงเรียนอุ่มเม้า จังหวัดนครพนม ที่เป็นเพียงโรงเรียนระดับตำบล เเต่เก่งในระดับประเทศ ด้านการให้คำปรึกษา กิจกรรม YC วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ ไปดูงานที่โรงเรียนอุ่มเม้า ซึ่งมีเป้าหมายในการดูงานครั้งนี้ คือ การไปดูว่ากิจกรรม YC ของโรงเรียนต้นแบบนั้นเป็นอย่างไร เพราะเชียงยืนเรา กำลังจะเริ่มโครงการเพื่อนที่ปรึกษาเพื่อน โดยอยากเห็น กิจกรรมของเขา กระบวนการของเขา วิธีการของเขา เเละโครงสร้าง เเละโครงข่ายการทำงานของเขา...
*** สิ่งที่เห็นมีดันนี้ ได้เเก่
๑.เห็นความหมายของคำว่าเพื่อนที่ปรึกษาที่ต้องมีหลักจิตวิทยากับผู้อื่น เเล้วต้องมีการจัดการตนเองก่อนเสมอๆ
๒.เห็นกิจกรรมที่เขาทำโดย เขามีโครงการต่างๆที่เป็นองค์ประกอบในหลายด้าน ได้เเก่ ด้านการเรียน การสุขภาพ การครอบครัว การชุมชน ฯ แล้วเขามีการบูรณาการ่วมกันเป็น yc เดียว
๓.เห็น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่กิจกรรม yc อยู่ในระบบการเเก้ไข การแก้ไขพฤติกรรมนักเรียน
๔.เห็น วิธีการดำเนินงาน ที่มีการปรึกษาในด้านของการเรียน การครอบครัว การใจ การกาย การกระทำ ฯ
๕.เห็น การสร้างเครือจ่ายในการปรึกษาทั้งในเเละนอกโดยมีเครือข่ายที่ปรึกษา yc ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน คือ ชุมชน
๖.เห็น วิธีการในการปรึกษาที่ไม่ยึดเเต่อยู่ในห้องเท่านั้น เเต่ต้องเข้าถึง โดยปรึกษาตามที่ต่างๆที่เห็นปัญหา
๗.เห็น โครงสร้างการทำงานที่มี ผู้บริหาร ครูที่เป็นโค๊ช นักเรียนที่ดำเนินงาน กลุ่มเครือข่ายในการทำงาน เเละเห็นโครงข่ายในการทำงาน คือ มีกิจกรรม yc ของเด็ก มีคณะครูที่คอยโค้ช มีผอ.ที่ระเบิดจากด้านใน มีเครือข่ายภายนอกที่เข้าม่ ที่มี ชุมชน เเละกลุ่ม yc ที่เป็นรุ่นพี่ มีครูคอยให้คำแนะนำ ฯ
*** เห็นผลแฝงที่เกิดขึ้น ดังนี้
๑.เห็นแรงบันดาลใจเล็กๆที่เกิดขึ้นในหลายคนที่อยากทำ
๒.เห็น km ที้เกิดขึ้นในระหว่างการดูงาน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนข้อเรียนกันในการทำงาน ที่ทั้งเป็นเรื่องวิธีการทำกิจกรรม หรือ คณะกรรมการนักเรียน
๓.เห็นความกล้าในการ km ของเด็กเราที่แสดงออกมาให้เห็น

        จากการไปดูงานที่โรงเรียอุ่มเม้า ซึ่งเอาโมเดลการทำงานของเราผสมผสานน่าจะมีวิธีการหรือข้อต่อยอด เป็น ดังนี้ 

๑.การคัดเด็กเเกนนำ เด็กที่เข้ามาจะคัดเลือกมาเเต่ละห้อง ห้องละ 5 คน เพื่อให้เกิดการเข้าถึงมากยิ่งขึ้น เพราะการเข้าถึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราช่วยเขาได้มากที่สุด เเต่คนให้คำปรึกษานั้น จำต้องมีหลักจิตวิทยาในการรับฟังที่ดี บางครั้ง ก็ต้องรับฟังเฉยๆ เพราะการให้คำเเนนะนำไปนั้น อาจทำให้เขาเกิดความทุกข์ เเละถูกสังคมมองไม่ดี หรือทำให้เขาเกิดความเครียดจนเกิดเหตุมิดีมิร้ายขึ้นก็เป็นได้ 

๒.เคส เป็นการเเยกการให้คำปรึกษา มีประเภท ดังนี้  การเรียน(กาย,คิด)  การครอบครัว(กาย)  การจิตใจ(ใจ)  เเละการส่งเสริมจิตใจ(ใจ,คิด) ฯ โดยที่ในการให้คำปรึกษาเเต่ละประเภทนั้น ก็ให้คัดเเกนนำ เเต่ละประเภท โดยมองถึงศักยภาพของเเกนนำเป็นหลัก อาจใช้หลัก สัตว์ ๔ ทิศ เเบ่งก็ได้

๓.เครือข่าย การดำเนินงานก็สำคัญ โดยเราอาจสร้างเครือข่ายในชุมชน ในโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อที่จะคอยช่วยกันในบางเคส ที่เรายากจะเข้าถึง เเละการเเลกเปลี่ยน้รียนรู้ระหว่างทางไปด้วยกัน

๔.เด็กเเกนนำ  ควรเป็นนักจับประเด็นที่ จับความรู้สึก  ความต้องการ  ความคิด เเละการกระทำ  เเล้วเป็นนักเก็บข้อมูลด้วยในตัว ที่เมื่อให้คำปรึกษาเพื่อนไป ด้วยความรู้เรื่อง มีการเก็บข้อมูล ความคิด  ความรู้สึกของเขาอยู่ทุกๆครั้ง เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาจิตใจเเละความคิดต่อไป

๕.การเเลกเปลี่ยนกันอยู่เสมอ ในการดำเนินงาน เพื่อวางเเปนเเละมองปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพราะ บางเคส เเละหลายๆเคส อาจมองมุมเดียว หรือคิดคนเดียวกลุ่มเดียวไม่ได้ จำต้องมีวิเคราะห์ร่วมกันในปัญหาของเด็กที่เกิดขึ้น 

๖.การมีพี่เลี้ยงคอย โค้ช เเกนนำอีกครั้งหนึ่ง เพราะในการดำเนินงานงานนี้ นอกจากหวังที่จะเเก้ไขนักเรียนที่มีปัญหาเเล้วยังหวังผลที่อยากให้ นักเรียนเเกนนำมีหลักคิดที่ดี ทั้งในเเง่ของกระบวนการคิด การดำเนินชีวิต  การอยู่ในสังคมเเห่งการทำงาน  การเป็นผู้นำ การรักษาความลับเเละการให้เกียรติผู้อื่น

๗.การบูรณาการ  ซึ่งการบูรณาการนี้เอง ที่จะทำให้งานออกมาง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยกันนำกิจกรรมของสาระการเรียนรู้ต่างๆมารวมกัน เเละใช้ ประเด็นเดียวกัน คือ ระบบการดูเเลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อสามารถทำให้ดังนี้เเล้วนั้น งาน YC จะเป็นบทบาทของทุกๆคนในโรงเรียน ที่ครู เเละ คนอื่นๆอาจหันมามองเห็นคุณค่าร่วมกัน ที่ทำให้เข้าถึงได้มากที่สุด ซึ่งหากทำได้ดังนั้นเเล้ว การขับเคลื่อนโรงเรียนในหลายๆด้าน อาจเคลื่อนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น 


.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 574201เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2014 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2014 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท