อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา" <=> "อาตฺมานํ อุปมํ กฺฤตฺวา


อนุสนธิ จากสถานะของท่านเจ้าอาวาส @Bm. Chaiwut Pochanukul ในเฟสบุ๊ก
เกี่ยวกับพุทธสุภาษิต อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา... ฯลฯ
ผมอ่านแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ เพราะคุ้นแต่ "อตฺตานํ อุปมํ กเร" จึงทักท่านไป

 

ท่านอธิบายว่า ข้อความนี้ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่ข้อความที่ลงท้าย กเร นั้น ไม่ปรากฏ แถมยังแนะนำเว็บไซต์สำหรับค้นข้อความในพระไตรปิฎกมาให้ด้วย ผมลองค้นข้อความดังกล่าวจากเว็บที่ท่านให้มา ก็ไม่เจอจริงๆ

แต่เมื่อค้นจากวรรณคดีสันสกฤต พบข้อความคล้ายกัน คือ "อาตฺมานํ อุปมํ กฺฤตฺวา" อันที่จริงเป็นข้อความเดียวกันเลยเชียว ต่างกันแต่ "อตฺตานํ" กับ "อาตฺมานํ" และ "กตฺวา" กับ "กฺฤตวา" เท่านั้นเอง

ข้อความนี้พบในสุนทรกาณฑ์ แห่งมหารามายณะของวาลมีกิ จากโศลกเดิมว่า

ยถา ตว ตถานฺเยษำ รกฺษยา ทารา นิศาจร
อาตฺมานมุปมํ กฺฤตฺวา สฺเวษุ ทาเรษุ รมฺยตามฺ ฯ (สรรค ๑๙, โศลก ๗)

ดูก่อน นิศาจร (ยักษ์) ภรรยาทั้งหลายของท่านได้รับการคุ้มครองจากท่านฉันใด ภรรยาของผู้อื่นก็ฉันนั้น, เมื่อทำตนเป็นตัวอย่างแล้ว (อาตฺมานํ อุปมํ กฺฤตฺวา) พึงให้ความสุขแก่ภรรยาทั้งหลายของท่านเอง. (นางสีดากล่าวสั่งสอนทศกัณฐ์)

[โปรดสังเกต ทาร ภรรยา นี้ใช้พหูพจน์ เพราะทศกัณฐ์มีภรรยาหลายตน, การใช้ภาษาในรามายณะไม่ซับซ้อน ใช้คำสั้นๆ ไม่นิยมสมาสยาวๆ. หากอ่านหลายๆ บทจะพบการเล่นคำซ้ำคำอย่างไพเราะ]

การทำตนเป็นตัวอย่าง เป็นการสอนที่ดีอย่างหนึ่ง ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งกว่าการสอนด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว โบราณาจารย์จึงยกย่องการทำตนเป็นตัวอย่าง ดังปรากฏในวรรณคดีหลายเรื่องดังกล่าวมาแล้วนี้.

หมายเลขบันทึก: 574125เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2014 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2014 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)


หมอเปิ้น ....ใช้เข็มนี้มาเกือบ 33 ปี ในการรับราชการค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท