อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

แจ้งเตือนให้เฝ้าระวัง โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปเทอร่า


สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬได้รับรายงานการเกิดโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปเทอร่าในพื้นที่ อำเภอบุ่งคล้า และอำเภอเซกา จึงขอแจ้งให้ทุกอำเภอเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด

ใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปเทอร่า (Phytophthora leaf fall) ทำความเสียหายแก่ต้นยางทั้งยางเล็กและยางใหญ่โดยเข้าทำลายใบ ก้านกิ่ง กิ่งแขนงสีเขียว ฝักยาง และเป็นแหล่งที่เชื้อสามารถแพร่ระบาดเข้าทำลายหน้ากรีด เกิดอาการโรคเส้นดำได้

                                                สาเหตุเกิดจาก

เชื้อรา Phytophthora botryose Chee, P. palmivora (Butl.) Butl.

P. nicotianae Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouse

ลักษณะอาการ

สังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ โดยปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อนำใบยางเป็นโรคมาสะบัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย ทำให้ใบร่วงทั้งที่ยังเขียวสดอยู่ เชื้ออาจเข้าทำลายปลายใบหรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ในสภาพอากาศเหมาะสมยางพันธุ์อ่อนแอ ใบจะร่วงหมด และผลผลิตลดลงอย่างชัดเจนเชื้อยังสามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาว เจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา

การแพร่ระบาด

เชื้อราแพร่ระบาดโดยลมและฝน ความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย ๔ วัน โดยที่มีแสงแดดน้อยกว่า ๓ ชั่วโมงต่อวัน

การป้องกันและรักษา

  • ๑. เกษตรกรควรเฝ้าระวังการเกิดโรค โดยหมั่นสำรวจแปลงยางพาราอย่างสม่ำเสมอ

๒. เมื่อพบการแสดงอาการของโรคให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า การฉีดพ่นเฉพาะจุดให้ฉีดพ่น ภายในรัศมีรอบต้นยางที่แสดงอาการเป็นโรค จำนวน ๓ ต้นยาง

๓. ฉีดพ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มาทุก ๓ เดือน อัตรา ๒๕๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร ฉีดพ่นพื้นที่ ๑ ไร่ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของต้นยางพาราและสามารถป้องกันการทำลายของเชื้อราได้

๔ กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง

๕. ใช้สารเคมี

สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ตัวอย่างชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
เมทาแลกซิล เมทาแลกซิล รีแล็คซ์ 25 % WP 40 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นพุ่มใบยาง หรือ ใบยางที่ร่วงหล่น เมื่อเริ่มพบการระบาดทุก 7 วัน
ฟอสอีทิล อลูมิเนียม อารีเอท ฟอสอีทิลอลูมิเนียม 80 % WP

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ

โทร 042-491820

หมายเลขบันทึก: 574057เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2014 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2014 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท