ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่น 3


เป็นการนำเอาความรู้ของนักศึกษาปริญญาเอกที่เรียนมาไปช่วยเหลือรากแก้วของสังคมไทย

         วันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 ศ.ดร.จีระ ได้ไปสอนวิชานโยบายทรัพยากรมนุษย์ ให้แก่นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐปศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่น 3 ตลอดทั้งวัน

           นักศึกษาให้ความสนใจในทฤษฎี 4 L's มาก สนุกกันทั้งอาจารย์และนักศึกษา มีการโต้ตอบกันอย่างสนุก มีประเด็นหลายเรื่องที่น่าสนใจเกิดขึ้นในวันนั้น เช่น

           -  เรื่องของโลกาภิวัตน์ เช่น ภาวะโลกร้อน น้ำท่วม

           -  เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวข้องกับสังคมการเรียนรู้ และจะนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอิสานได้อย่างไร

           -  การมองภาพ HR architecture

           -  ข้อสังเกต และคำแนะนำ ในการเรียนปริญญาเอกจากอาจารย์

           ในการสอนครั้งนี้ อาจารย์ได้เปลี่ยนรูปแบบ การประเมินผล จากการทำรายงาน เป็นการนำเสนอเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ อบต. ฟัง ไปช่วยชาวบ้าน ชุมชน ให้เข้าใจเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นการนำเอาความรู้ของนักศึกษาปริญญาเอกที่เรียนมาไปช่วยเหลือรากแก้วของสังคมไทย ในครั้งสุดท้ายของการเรียน ประมาณอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า

           จึงขอเชิญนักศึกษาและผู้สนใจร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

 

            UBOL3.jpg

  

           UBOL2.jpg

 

หมายเลขบันทึก: 57384เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)
นายวิโรจน์ เซมรัมย์ ป.เอก รุ่นที่ 3 อุบลราชธานี

เรียน ศ ดร จีระ (ปูชนียบุคคล)

ผมเคยรู้จักอาจารย์ทางสื่อtv and newspaper แต่ไม่เคยสัมผัสจังๆ แต่โชคดีที่ผมไปเรียนป เอก ที่ มอบ.ได้ใกล้ชิดและเห็น

ตัวจริง เสียงจริง แนวคิดจริง ของอัจฉริยะบุคคลที่หาใครเปรียบยาก ผมอ่านหนังสือสองเล่มเกือบจบแล้ว ยิ่งทึ่งมากขึ้นเพราะบุคคลชั้นแนวหน้าได้พูดถึงท่านอย่างมากมาย และได้เข้าใจตัวตนอาจารย์มากยิ่งขึ้น และอย่างรวดเร็ว  จะรีบอ่านให้จบแล้วกลั่นความจริงจาก สองเล่มให้ได้มากที่สุดครับ

วิโรจน์  เซมรัมย์

เรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพ                เมื่อวันพุธ ได้เสวนากลุ่ม ป.เอก ม.อุบลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้ HR.จากการได้เรียนรู้HR.ในห้องเรียน ที่ ดร.จีระ ได้จัดนำกระบวนการเรียนรู้แบบ 4 L's มาใช้ให้มีการปะทะทางปัญญา และท่านยังให้หนังสือไปอ่าน 2 เล่ม ที่เป็นการกลั่นจากองค์ความรู้และประสบการณ์ผ่านการปฏิบัติจริง เราได้มาเสวนากันเป็นกลุ่ม เพื่อสรุปสิ่งที่ได้ จากสุดยอดของนักวิชาการที่ผ่านการปฏิบัติ บวกสุดยอดของผู้บริหารภาคเอกชนและภาครัฐ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ปัญญาของนักศึกษา เซลล์สมองของเราสิครับ ได้ขยายออกไปอย่างไม่สิ้นสุด  บรรยากาศการเสวนา ดีมาก หนังสือ 2 เล่มนั้นเป็นบทเรียน อันมีค่ายิ่ง อ่านแล้ว "มันป่อง" (ภาษาอีสานที่แปลแล้วจะคล้ายๆกับ มันปิ๊ง... หรือโป๊ะเซะ) คิดถึงปราญที่วิ่งแก้ผ้าแล้วร้อง ยูเรก้า ยูเรก้า..... ก็มันสุดยอดนะอยากวิ่งร้องออกไปว่า พบแล้ว พบแล้ว HR... กระบวนการสร้างองค์ความรู้ ของ ท่านแค่วันเดียว มันเป็นสิ่งอะไรที่บอกไม่ถูก มันเหนือกว่าการได้ความรู้ ท่านไม่ได้มาให้แค่เนื้อหาวิชาความรู้ แต่ท่านมาสร้างความตระหนักลึกถึงคุณค่า ท่านมาสร้างปัญญา    จิรชัย พรหมพล ป.เอก ม.อุบล...3 

เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพยิ่ง(gulu-แผ่นดิน)

          นับเป็นความโชคดีที่มีโอกาสได้เรียน รป.ด.   ม.อุบลฯ และโชคดียิ่งกว่าที่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ตลอดเวลาที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านในวันนั้นเต็มไปด้วยความตื่นเต้น ท่าทาย น่าสนใจ วันนั้นผมได้เกิดวิสัยทัศน์ แนวคิดหลายๆอย่าง จากคำสอนของอาจารย์ เพียงแค่ 8 ชม.จะทำให้เกิดปัญญาอะไรได้ขนาดนี้ ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่ว่าเรียน ป.เอกไปทำไม จนได้คำตอบว่าเรียนระดับนี้คงไม่ได้มุ่งเฉพาะให้ได้แค่ความรู้หรือปริญญาอีก 1 ใบเท่านั้น  แต่เป็นการเรียนเพื่อชีวิต เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ และโลก ท่านสอนให้เป็นคนที่มี Public Mind  และผมได้ down load ทุกทฤษฎีของท่านอาจารย์ไว้ศึกษาแล้วและขอชื่นชมว่าท่านเป็นบุคคลอัจฉริยะที่สังคมโลกควรจารึกไว้เป็นอย่างยิ่งครับ (เป็นคนไทยด้วยน่าภาคภูมิใจยิ่ง)

Worawut  Inthanon    D.P.A.3

 

 

 

อภิกนิษฐา นาเลาห์ ป.เอก ม.อุบลฯ รุ่น 3

เรียน  ท่านอาจารย์จีระที่เคารพ 

            ดิฉันขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่อาจารย์ได้เสียสละเวลาอันมีค่า  มาสอนนักศึกษาป.เอก  ดิฉันไม่แปลกใจเลยที่รุ่นพี่มาขอพบอาจารย์  รออาจารย์สอนเสร็จเพื่อขอเข้าพบพูดคุย  ด้วยความรักความศรัทธา  เพราะดิฉันได้พบด้วยตนเองว่าอาจารย์เป็นผู้ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนอย่างไม่น่าเชื่อ  จากการที่อาจารยฺบรรยายในห้อง  8  ชั่วโมง  แต่ทำให้สร้างแนวความคิดอย่างเป็นระบบ  แบบภาพกว้าง  (Macro)  ทำให้เกิดวิสัยทัศน์  มีแนวทางในการรวบรวมองค์ความรู้  แนวคิด  ทฤษฏี  ที่เห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม  จนเกิดแรงบันดาลใจ  ยากมีทฤษฏีเป็นของตนเอง  ท่านอาจารย์เป็นแบบอย่างในทุกๆด้าน  เป็นปูชนียบุคคลที่เป็นคนไทย  และเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดของไทยและได้รับการยอกย่องจากนานาประเทศ  ดิฉันรู้สึกบ้าคลั่งในความรู้ความสามารถ  วิธีการสอนของอาจารย์   และยิ่งอ่านหนังสือของอาจารย์  ยิ่งทึ่งและบ้าคลั่ง  เป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง  และยังสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น  ความปราถนาดีที่อาจารย์ได้มอบให้กับลูกศิษย์  ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากๆที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์และเป็นบัญที่ได้เรียนกับอาจารย์    ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ 

     อภิกนิษฐา  นาเลาห์  รปด.รุ่น  3

นางสาวละมัย ร่มเย็น นางสาวดวงเนตร สำราญวงศ์ นางสาวอภิกนิษฐา นาเลาห์ และนายวรวุฒิ อินทนนท์ ป.เอก ม.อุบลฯ รป.ด.รุ่น 3
ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  (HR.CHAMPIONS)                   จากหนังสือทรัพยากรมนุษยพันธุแท” เปนชองทางที่สําคัญอีกชองทางหนึ่งในการเผยแพรความสําคัญของทรัพยากรมนุษยอสังคม โดยนําบุคคลที่ทรงคุณคา และไดรับการยอมรับนับถืออยางกวางขวางทั้งสองทานในเรื่องทรัพยากรมนุษย ทั้งดานเปนผูนําทางความคิด ผูบุกเบิก และปฏิบัติ คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ  หงสลดารมภมานําเสนอในรูปแบบของการสนทนา ทั้งบทสนทนา โดยตรงจากทานทั้งสอง และบทสนทนาจากผูใกลชิดและรวมปฏิบัติงาน          เรื่องวันนั้นชื่อ HR.CHAMPIONS” รูปแบบพบกันแบบ สองแชมปสืบเนื่องจากภูมิหลังชีวิตของพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และจีระ    หงสลดารมภ   ก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่สะทอนความคลายคลึง และใกลเคียงกันในบริบทชีวิต แตมีเปาหมาย เดียวกัน นั่นคือการมุงมั่นในเรื่อง การพัฒนาคน          โดยวัยไมมีใครตามใครทัน แตโดยประสบการณดร.จีระ ไดพยายามที่จะเขาไปศึกษา และยึด คุณพารณฯ เปนตนแบบอยูเสมอ  หลายสิบปที่ศาสตราจารยดร.จี ระ หงสลดารมภโลดแลน อยูบนเวทีการพัฒนาทรัพยากรมนุษยและทําใหคนไทยไดเขาใจความหมายที่แทจริงของการพัฒนาคนานไดสรางงานที่ยิ่งใหญและยากลําบาก ใหประสบความสําเร็จมามากตอมาก นับตั้งแต      อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษยแหงมหาวิทยาลั ยธรรมศาสตรเมื่อป.. 2525 การกอตั้ งมูลนิธิ ทรัพยากรมนุษยระหวางประเทศ เมื่อป..2539 กระทั่งมูลนิธิ ไดเปนองคกรหลัก ที่จัดสัมมนาระดับนานาชาติ“Leadership  Forum”หลายครั้งที่ผ่านมา จนประสบความสําเร็จ สูงสุดที่สามารถทําใหประเทศไทยมีมูลนิธิ อันเปนที่ยอมรับในระดับนานาชาติอยางที่เขาพูดกัน ชื่อนั้นสําคัญไฉน .. จีระ หงสลดารมภ  ทุมเทกับการสรางสถาบันทรัพยากรมนุษยมาก  จุดออนของเขาในขณะนั้นคือวัยอันนอยนิด แตจุดแข็งที่มีตลอดมาคือ ความคิดริเริ่ มสรางสรรคและมีความกลาที่จะทํางานแหวกวงลอม เพื่อเดินไปสูเปาหมายใหสําเร็จการขาดบารมีจึงไมใช ปัญหาที่เขาตองเผชิญ ความสําเร็จอันหนึ่ง ในฐานะผูบริหารคนแรกของสถาบัน คือแนวคิดเรื่องทรัพยากรมนุษยองไดรับการยอมรับ     ความโดดเด  คือ  การกระโดดเขาไปปรากฏตัวและแสดงศักยภาพในการ   สัมมนาระดับนานาชาติ เปนภาพลักษณใหมของสถาบันที่ไดรับความสนใจจากสื่อมวลชนมาก  และได้รับการยอมรับทั้งจากภายในประเทศและระดับนานาชาติ     งานอีกดานหนึ่งที่ ดร.จีระ  ภูมิใจมาก คือ ไดรับเลือกใหเปนประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแหงชาติ                   โลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอยางทั้งการเมือง  สังคมเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี คนที่ มีวิสัยทัศนอมมีสมองที่สามารถคิดริเริ่มในสิ่ งแปลกๆ ใหมๆ ทันเหตุการณคือ ทฤษฏีตางๆ ที่ไดเรียบเรียง คัมภีรคนพันธุแทเปนชวงที่บอกถึงแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษยตั้งแตเรื่องปรัชญาของทรัพยากรมนุษยที่วคน ถือเปนสินทรัพยที่สําคัญที่สุดขององคกร และมีทฤษฏีที่ กลาวถึงใน  เรื่องชื่อ HR.CHAMPIONS”               ทฤษฏี 3 วงกลม  ของ ดร.จีระ ซึ่งเปนสูตรสําหรับรับการเปลี่ยนแปลง หรือ Changing Management   คือ                 วงกลมที่ 1 เรื่อง CONTEXT หรือบริบทพูดถึง เรื่อง IT ามี ความสํ าคัญ การบริ หารทรัพยากรมนุษยองใชระบบสารสนเทศมากขึ้น และการจัดองคกรที่เหมาะสม เรียกวาเปนบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย                 วงกลมที่ 2 เรื่อง ภาวะผูนํา นวัตกรรม การบริหารเวลา ซึ่งเรียกวาเปนทฤษฏีเพิ่มศักยภาพของคน                   วงกลมที่ 3  เปนหลักที่ดี คนเราจะสําเร็จในงานไดองมองวางานทุกอยางเปนงานที่ท้าทาย ตองมีแรงบันดาลใจ ใหเกิดขึ้นจริง   ทฤษฏีควรแกการเรียนรูคุณพรอมแลวหรือยังที่จะขึ้น เรือบินลําแรกไปดวยกัน                 ทฤษฏี 4 L’s พารณ1. Village that Learn หมูานแหงการเรียนรู2. School that Learn โรงเรียนแหงการเรียนรู3. Industry that Learn อุตสาหกรรมแหงการเรียนรู4. Nation that Learn ชาติแหงการเรียนรู                 ทฤษฏี 4 L’s จีระ1. Learning Methodolody เขาใจวิธีการเรียนรู2. Learning Environment สรางบรรยากาศในการเรียนรู3. Learning Opportunity สรางโอกาสในการเรียนรู4. Learning Community สรางชุมชนการเรียนรู                  ทฤษฏี 8 K’s ก็คือ Social Capital ซึ่งแปลวา ทุนทางสังคม คือทุนที่มนุษยมีความสัมพันธกัน1. Sustainable Capital ทุนแหงความยั่งยืน2. Social Capital ทุนทางสังคม3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม4. Happiness Capital ทุนแหงความสุข5. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT6. Intellectual Capital ทุนทางปญญา7. Talented Capital ทุนทางความรูทักษะ และทัศนคติ8. Human Capital ทุนมนุษย                   คนที่สามารถพาองคกรใหประสบความสําเร็จ จะตองทั้งเกงทั้งดี ไมใชเกงในทางไมถูก หรือ ดีอยางเดียวซึ่งก็จะไมทันคนอื่ นเขา คุณพารณบอกวาจะสรางคนเกง ทั้งดีในคนๆเดียวกัน
นางสาวละมัย ร่มเย็น นางสาวดวงเนตร สำราญวงศ์ นางสาวอภิกนิษฐา นาเลาห์ และนายวรวุฒิ อินทนนท์ ป.เอก ม.อุบลฯ รป.ด.รุ่น 3
เขาเชื่ออยางนั้น จึงมีแนวคิดว่าจะตองกําหนดออกมากu63242 .อนวา คนเกง คืออะไร คนดีคืออะไร จะไดไปทางเดียวกัน ไมเชนนั้นก็ไมทราบวาแบบไหนถึงจะเรียกวาเกง แบบไหนถึงจะเรียกวาดีมีที่มา  ซึ่งเป็นแนวคิดที่ประยุกต์คำสอนของศาสนามาใช้ คือต้นแบบ เก่ง 4  ดี 4”    4 เกง ไดแก      เกงงาน เกงคน เกงคิ ด และเกงเรียน 4 ดี ไดแกประพฤติดี มีน้ำใจ  ใฝความรู คูคุณธรรม  รวมถึงมีการประเมินโดยจะเรียกวาเปCAPABILITY  สําหรับคนเก และAcceptability สําหรับคนดี    จีระ : าเปพันธุแท” องทําสามเรื่อง                  1. องทําใหสําเร็จ                  2. องมีบารมี                  3. องยั่งยืน                  าเรามีระบบการบริหารงานที่ดีผูใหญที่สูงสุดดูแลผูใหญรองลงมา ผูใหญรองลงมา ดูแลระดับหัวหนาลดหลั่นลงมาตามลําดับ อยางนี้แลว คุณไมองหวงวา คุณจะไมมีใครดูแลคุณพารณบอกวAction speaks louder than words นี่ถูกตองอยาไปพูดแคนั้นนะมันไมเกิด แตจะตองลงมือทําใหเขาเห็นผลงานก็จะเกิดความศรัทธา                   คําวา ปรัชญาที่ ปลายนวมความหมายนี้ขาพเจาชอบมาก หมายถึง ศาสตรทุกศาสตรบนผืนพิภพนี้ จะมีปรัชญาเฉพาะของมันอยูเชนเดียวกับศาสตรานทรัพยากรมนุษยองคกรจะประสบความสําเร็จในเรื่องของคนก็คือ องคกรที่ผูนํามีวิสั ยทัศนกวางไกล สามารถสื่อสารถายทอดวิสัยทัศนนั้นใหแกผูวมงานไดสําเร็จและเปนตนแบบทั้งการเปคนเกและ คนดี  ความสําเร็จ HR เปนของยากแตไมใชทําไมไดองคกรจะตองมุงมั่นปจจัยที่จะไปสูความสําเร็จมีความสลับซับซอน ซึ่งบางครั้ง เราอาจตองปรึกษาผูรูางนอก หรือแสวงหาความคิดใหมๆ แปลกๆ ตลอดเวลา     หลายทานคงเคยไดยินว Global Citizen คุณสมบัติ 3 ประการที่เปนเสมือนตั๋วเดินทางสําหรับคนไทยกาวสูระดับโลก ไดแก                  1. ความคลองแคลวในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ                  2. เทคโนโลยี                  3. คุณธรรม                      สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ หงสลดารมภและ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาไดนําเสนอมานี้เปนสิ่งที่ อาจารยจีระ ไดพยายามสื่อเรื่องที่ กลาวถึงบุคลากร ซึ่งหมายถึงคนที่ทานทั้ งสองไดใหคํานิยามและกลาวถึง การจัดการทรัพยากรมนุษยานนวัตกรรม และความคิดสรางสรรคนํ าไปสูมูล   าเพิ่ม “The world is changing   very fast and unpredictable”  (คนเปนทรัพยากรที่มีคาที่สุดขององคกร (พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  ทรัพยากรที่สําคัญที่สุดในปจจุบันไมใชเงินสิ่งของหรือเครื่องจักรแตเปนคน   (จีระ หงสลดารมภ ) “การบริหารความเปนเลิศของคนในองคกร ไมใชแคปลูกขาว แตองดูวาเก็บเกี่ยวไดผลหรือเปล   Cultivation is nccessary but harvesing is more important  (จีระ หงสลดารมภ)                 ดังนั้น  การดําเนินการดานทรัพยากรบุคคลนั้นผูนําตองมีวิสัยทัศนองมีความมุงมั่น สามารถที่จะทําอะไรสักอยางนั้น เราตองมีหัวใจใหกับสิ่งนั้น อยางเต็มที่มีศรัทธาและความเชื่อ  อสิ่งที่เราจะทําอยางไมสั่นคลอน เพราะสิ่งเหลานี้จะเปนแรงผลักดันชั้นดีที่ทําใหเราทํางานสําเร็จไดและเชื่อมั่นในคุณคาของคน ถาเห็นคนมี คุณคาตอองคกรมากอยางนั้นแลว และผูใหญในองคกรลงมาดูแลเรื่องนี้ดวยตนเอง จะสรางความสําเร็จใหกับองคกรไดมากทีเดียวสําหรับเรื่องการบริหารดานทรั พยากรมนุษยนั้น มีความสุขกับการเปผูให” อสังคมโดยไมสนใจวาจะไดรับ  กลองหรือ การเชิดชูเกียรติจากใคร                    การทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมองภาพแบบ  Macro ให้ครอบคลุม มีมุมมองกว้าง มองถึงการพัฒนาต่อไปในอนาคต  ดังนี้                 ความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์1.       มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยจิตวิญญาณ2.       ยืนหยัดมุ่งมั่นทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน3.       สร้างสรรค์งานให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และผลงานมีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม4.       มีปฏิสัมพันธ์กับต่างชาติและประสบความสำเร็จทั้งเป้าหมายและการยอมรับ มีความน่าเชื่อถือแสวงหาความรู้ตลอดเวลา5.       เป็นผู้ให้ทั้งความรู้ ความรัก ความอบอุ่นแก่คนใกล้ชิด เป็นครูผู้สร้างคน  6.       มีความสุขต่อการเป็นผู้ให้ต่อสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน                จากคำถามท่านได้อะไรจากการอ่าน HR. CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  มีการต่อยอดความรู้  โดยนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งจากการได้เข้าเรียนกับ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เมื่อวันเสาร์ที่  4 พฤศจิกายน 2549 ทีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  อาจารย์ได้ให้แนวคิดนำไปสู่การปฏิบัติเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่าให้เจ้าหน้าที่ในสำนักงานคิดและปฏิบัติว่าในแต่ละวันมีสิ่งใดดีๆที่ควรจะมีการปฏิบัติบ้าง จากการอ่านหนังสือ  HR. CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ กับ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน   โดยเฉพาะทฤษฎี 4 L’S  ของคุณพารณ  กับศ.ดร.จีระ   ท่านทั้ง 2 เป็นสองแชมป์ และทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ที่เป็นแบบ อย่างที่ดีที่สุด  โดยเฉพาะ 4 L’S ของศ.ดร. จีระ และการได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ทำให้ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจมากคงถึงขั้นคลั่งไคล้   กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำแนวคิดดังกล่าวไปปรึกษาผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  ท่านผู้อำนวยการชอบมาก  ยินดีมาก  อนุมัติให้ทำโครงการด้วยวาจาก่อนทันที   
นางสาวละมัย ร่มเย็น นางสาวดวงเนตร สำราญวงศ์ นางสาวอภิกนิษฐา นาเลาห์ และนายวรวุฒิ อินทนนท์ ป.เอก ม.อุบลฯ รป.ด.รุ่น 3
4 L’S  ของคุณพารณ 4 L’S ของศ.ดร. จีระ
Village  that learn : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ learning  Methodology: เข้าใจวิธีการเรียนรู้
School that learn : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
Industry  that learn : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ Learning Oppo rtun ity : สร้างโอกาสในการเรียนรู้
Nation  that learn : ชาติแห่งการเรียนรู้ Learning Community : สร้างชุมชนการเรียนรู้
                     จึงเกิดเป็นโครงการในข้อที่ 2 ทันที (โครงการตู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้)  ในการลงมือปฏิบัติ งาน  2  งานดังต่อไปนี้  1.       ได้ทำการประชุมเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาที่ข้าพเจ้า(นางสาวละมัย  ร่มรื่น)ดูแลอยู่ในฐานะรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา  และอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง  โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเรื่องการพัฒนางานเบื้องต้น  ทุกคนในที่ประชุมได้ให้ข้อคิดข้อเสนอแนะที่ดีมากและพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติทันที  จากการประชุมสรุปงานสถาบันวิจัยและพัฒนาออกเป็น  3 ลักษณะ1.1                 งานที่ต้องปรับปรุงแก้ไข  หมายถึง  งานที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำแล้วมี   ปัญหาไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้1.2                 งานที่ต้องการพัฒนา  หมายถึง  งานที่ไม่มีปัญหาใดๆ เพียงแต่ปฏิบัติไปเรื่อยๆเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วทำให้ไม่ทันสมัย  ไม่ทันเหตุการณ์  จึงควรปรับให้เข้ากับยุคโลกาภิวัตน์                                 1.3   งานที่คิดขึ้นมาใหม่  หมายถึง  งานที่ยังไม่เคยมีแต่ถ้ามีจะช่วยให้การทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจากที่กล่าวมาทั้ง  3 ข้อแสดงเป็นตารางได้ดังต่อไปนี้ 
วัน  เดือน   ปี งาน / กิจกรรม การประเมินผล
  งานปรับปรุงแก้ไข งานพัฒนา งานใหม่  
         
         
         
        งานทั้ง 3 ลักษณะต้องคิดและปฏิบัติทุกวัน  เมื่อครบสัปดาห์จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น                     2.  ความคลั่งไคล้ในตัวอาจารย์และทฤษฎี 4 L’S ที่กล่าวมาแล้วประกอบกับ ในภาคเรียนที่ 2/ 2549 ได้ทำการสอนวิชาการวิจัยเบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์  และวิชาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารนิเทศข้าพเจ้าได้เข้าสอนและพูดคุยแบบมีส่วนร่วมกับนักศึกษาได้ข้อตกลงและข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้                                2.1 มีการทำโครงการตู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยนักศึกษาและอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการจะมีการนำหนังสือที่ตัวเองมีอยู่มาแลกเปลี่ยนกันอ่านที่ K- PARK ของมหาวิทยาลัย ขออนุญาตกล่าวถึง K- PARK ว่าตรงนี้รับผิดชอบโดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้งบประมาณการจัดทำK- PARKมาจากงบผู้ว่า CEO สถานที่นีมีการจัดบรรยากาศอย่างสวยงาม  ร่มรื่น  เงียบสงบ  โล่ง  โปร่งสบาย  มีมุมกาแฟ  เครื่องดื่ม  อาหารว่าง  ให้บริการในราคาเป็นกันเอง   ดังภาพ2.2           เมื่อนักศึกษาที่เข้าโครงการนำหนังสือมาแลกเปลี่ยนกันอ่านก่อนที่จะหยิบหนังสือไปอ่านให้มีการบันทึกลงในสมุดบันทึกยืม- คืน ดังต่อไปนี้  
วัน เดือน ปี ชื่อ -สกุล วิชาเอก/หน่วยงาน ชื่อหนังสือที่อ่าน ความรู้ที่ได้รับจากการอ่าน ความรู้ที่ได้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หมายเหตุ
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
                                 2.3  เมื่อทุกคนอ่านหนังสือผ่านไป 1 สัปดาห์ จะต้องมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้รับและพูดคุยถึงการนำไปปฏิบัติจริง  สำหรับนักศึกษาวิขาเอกบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์จะมีการพูดคุยและปฏิบัติโครงการที่จะมีต่อเนื่องจากโครงการตลาดความรู้ (เมื่อถึงวันที่มาแลกเปลี่ยนความรู้ขึ้นอยู่กับเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ว่าจะโยงความรู้ที่ได้รับจากการอ่านไปสู่การปฏิบัติจริงเป็นโครงการอะไรซึ่งผู้สอนจัดโครงการตลาดความรู้ และโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จัดอยู่ในรายวิชาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารนิเทศ)                                2.4  มีการทำแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ กับผู้ใช้บริการ และผู้เข้าร่วมโครงการตลาดความรู้  และโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (สรุปออกมาเป็นเล่มประเมินผล
นางสาวละมัย ร่มเย็น นางสาวดวงเนตร สำราญวงศ์ นางสาวอภิกนิษฐา นาเลาห์ และนายวรวุฒิ อินทนนท์ ป.เอก ม.อุบลฯ รป.ด.รุ่น 3
โครงการจะนำผลมาใช้ในการพัฒนาโครงการ)  งานนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการวิจัยเบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์                       จากแนวคิดโครงการ ดังกล่าวซึ่งเป็นแนวคิดที่กลุ่มพยามแสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม  ซึ่งได้ใช้หลักการคิดจาก ทฤษฎี 4 L’S  ของคุณพารณ   กับท่าน ศ.ดร.จีระ  และพวกเราจะพยายามเป็นนักคิด นักปฏิบัติ อย่างมีหลักการเพื่อพัฒนามนุษย์ และสังคม  ต่อไป      2 พลังความคิด ชีวิต และงาน                    จากหนังสือ2 พลังความคิด ชีวิต และงาน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรคปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และ .ดร.จีระ หงสลดารมภทรัพยากรมนุษยพันธุแทผูจุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษยไทย ใหาวไกลบนเวทีโลก 8 H’s ทฤษฏีบริหาร และพัฒนาทรัพยากรมนุษย โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค   ทฤษฏี 8 H’s พัฒนามาจากศัพท Head Hand Heart 3 ตัวนี้การจะทําอะไรใหสําเร็จตองใชความคิด มือ และความตั้งใจ ได้พัฒนาใหเปนหลัก 8 H’s1. Heritage รากฐานของชีวิต2. Head สมอง (คิดเปน คิดดี)3. Hand มืออาชีพ4. Heart จิตใจที่ดี5. Health สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ6. Home านและครอบครัว7. Happiness การดําเนินชีวิตอยางมีความสุข8. Harmony ความปรองดองสมานฉันท8 K’s ทฤษฏีทุนในทรัพยากรมนุษย โดยศาตราจารยดร.จีระ หงสลดารมภ  ทฤษฏี 8 K’s ทุนในทรัพยากรมมนุษยดร.จีระ   นักพัฒนาทรัพยากรมนุษยสายพันธุแทไดกลาวไวทรัพยากรมนุษยที่มีวุฒิภาวะสามารถเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพนั้น จะตองมีองคประกอบของทุนทั้งสิ้น 8 ประการ1. Sustainable Capital ทุนแหงความยั่งยืน2. Intellectual Capital ทุนทางปญญา3. Talent Capital ทุนทางความรูทักษะ และทัศนคติ4. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม5. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ6. Human Capital ทุนมนุษย7. Happiness Capital ทุนแหงความสุข8. Social Capital ทุนทางสังคม                  ที่มาของ ทฤษฏีการเพิ่มทุนมนุษย 8 K’s” จากการประมวลสถานการณของโลก         จจุบัน ที่จะนําไปสูการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแขงขันของแตละประเทศโดย      ศาสตราจารยดร.จีระ หงสลดารมภ   โลกปจจุบันและอนาคตจะเปนโลกแหงทุน ทุนดังกลาว คือทุนที่มีอยูในมนุษยในปจจุบันและอนาคต ความยิ่งใหญขององคการจะขึ้นอยูกับปจจัยที่มองไมเห็น คือ ทุนในทรัพยากรมนุษยองคความรูการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผูบริโภคจากการบริโภคแบบมวลชน (Mass) ไปสูความตองการที่เฉพาะเจาะจง (Tailor-Made) ความตองการความคิด    สรางสรรคและนวัตกรรมของลูกคา หรือ แมกระทั่งการปรับตัวขององคกรสูองคกรแหงการเรียนรู (.ดร.จีระ)                        เมื่อสตรีผูนําในระดับปลัดกระทรวง และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษยพันธุแทปะทะสังสรรคกันดวย 2 ทฤษฏีทุนมนุษย8 H’s”  และ 8 K’s”  ดังนี้    
8 H’s” โดยคุณหญิงทิพาวดี     เมฆสวรรค 8 K’s”  .ดร.จีระ หงสลดารมภ
1. Heritage รากฐานของชีวิตมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเปนรากฐานของชีวิตคน  1. Sustainable Capital ทุนแหงความยั่งยืนสรางคุณคาทางสังคม และเพิ่มมูลคาทางเศรษฐกิจในกระแสโลกาภิวัฒน
2. Head สมอง (คิดเปน คิดดี) การเปนผูนํานั้น สิ่งสําคัญคือ ตองรูมาก รูกวางและรูสึกกวาคนอื่น   2. Intellectual Capital ทุนทางปญญาในระดับนานาชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษยจะมุ     เนนไป 3 เรื่องใหญๆ ดวยกันคือ ความรูความชํานาญ ความสามารถ   ความรูและ ปญญา  คืออํานาจ
3. Hand มืออาชีพความเปน มืออาชีพ ในการทํางานทุกประเภทโดยเนนที่การลงมือทําดวยตนเอง 3. Talent Capital ทุนทางความรูทักษะและทัศนคติทุนที่สําคัญและขาดไมไดสําหรับทรัพยากรมนุษย
4. Heart จิตใจที่ดีองเปนจิตใจที่ดี หรือ ทัศนคติในเชิงบวก  4. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมพื้นฐานดี มีทุนทางความรูทุนทางปญญาดี แตาไมมีคุณธรรมก็ไมสามารถพัฒนาองคกรหรือประเทศไดเทาที่ควร
5. Health สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณทุกสิ่งทุกอยาง ถาเรามีความตั้งใจ มีความปรารถนาที่จะทําหลายๆอยางในชีวิต แตาหมดสิ้นลมหายใจหรือไมมีชีวิตเราจะทําอะไรได 5. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศผูมีความรูมีปญญา ยอมรูสถานการณโลก และใหความสนใจพัฒนาบุคลากรให้มีความรู ความสามารถทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศ 
นางสาวละมัย ร่มเย็น นางสาวดวงเนตร สำราญวงศ์ นางสาวอภิกนิษฐา นาเลาห์ และนายวรวุฒิ อินทนนท์ ป.เอก ม.อุบลฯ รป.ด.รุ่น 3
8 H’s” โดยคุณหญิงทิพาวดี     เมฆสวรรค 8 K’s”  .ดร.จีระ หงสลดารมภ
6. Home านและครอบครัวานและการมีครอบครัวที่อบอุน เพราะเปพื้นฐานที่สําคัญมากของทุกๆคน 6. Human Capital ทุนมนุษยทุนที่ไดมาจากความรูขั้นพื้นฐานของการศึกษาเลเรียนในสถาบันการศึกษา
7. Happiness การดําเนินชีวิตอยางมีความสุขการดําเนินชีวิตอยางมีความสุข โดยตองไมเบียดเบียนใคร 7. Happiness Capital ทุนแหงความสุขหากมนุษยมีทุนทางความรูมีทุนทางปญญา และมีทุนทางจริยธรรมแลว ยอมเปนพื้นฐานที่จะมีความสุขไดายกับทุกสถานการณ
8. Harmony ความปรองดองสมานฉันทผูนําที่แทองมีศิลปะในการสรางความปรองดองในหมูผูใตบังคับบัญชา ผูประสบความสําเร็จบนความแตกแยกราวฉานมักไมยั่งยืน 8. Social Capital ทุนทางสังคมการทํางานที่ดี คือการทํางานที่สามารถดึงความเกงหรือทักษะของแตละคนมารวมกัน และปฏิบัติภารกิจนั้นๆ ใหลุลวงไป
                   2 พลังความคิด ชีวิตและงานของ 2 นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย  ความสอดคลองกับวิถีชีวิต และการดํารงอยูของคนไทย ในกระแสโลกาภิวัตนแตลุมลึก และสรางความยั่งยืน ใหทุนมนุษยของคนไทยไดจริง ดวยเนนการพึ่งพาตนเอง การเรียนรูอยางตอเนื่องบนรากฐานทางวัฒนธรรม และภูมิสังคมที่แข็งแกรง กรอบดวยคุณธรรมและจริยธรรมที่ เขมแข็ง เพื่อใหเกิดความพอเพียงในแตละระดับแตพรอมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญไดอยางไรขีดจํากัด  สรุปถึงความเกี่ยวเนื่องของ ทรัพยากรมนุษยพันธุแท (HR.CHAMPIONS)”    และ2 พลังความคิดชีวิตและงาน  ของ 2 นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย                   ศาสตราจารยดร.จีระ    หงสลดารมภ   สามารถเชื่อมโยง และใชความรูความสามารถที่มี ของ ดร.จีระ   สามารถพัฒนาบุคลากร องคกรใหมีประสิทธิภาพสามารถนําพาองคกรสูสังคมโลก ที่มีความเจริญกาวหนา มีชื่อเสียง โดงดังเปนที่ยอมรับและมีมาตรฐาน กาวสูระดับโลกและเปนผูจุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษยโดยมีปรมาจารยคือ คุณพารณ   อิศรางกูล ณ อยุธยา เปนต้น แบบที่ดี ของ ศ.ดร.จีระหงสลดารมภโดยใชทฤษฏีตางๆ ซึ่งเปนสูตรสําหรับรับการเปลี่ยนแปลง    งเสริมการเปนผูนํา นวัตกรรม การบริหาร ซึ่งเรียกว่าทฤษฏี เพิ่มศักยภาพของคน ซึ่งเปนทฤษฏีที่ควรแกการเรียนรูมากมาย ซึ่งการใชทฤษฏีตางๆ ของ ดร.จีระ สอดคลองกับทฤษฏี ของ คุณพารณ ที่เปนตนแบบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษยทั้งองคกรเอกชน และหนวยงานราชการเพื่อพัฒนา คนใหไดรับสิ่งที่ ดี และปรับเปลี่ยนใหทุกอยางเป็นไปอย่างกาวหนา และเปนที่ยอมรับสูสากลโลกอยางไรขีดจํากัด                      วนในเรื่อง ของ 2 พลังความคิด ชีวิตและงานของ 2 นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย ที่นําเสนอขอคิดพลังชีวิตและงานของ  2 นักพัฒนาทรัพยากรมนุษยระหวาง  คุณหญิงทิพาวดี       เมฆสวรรค ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม   รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และ ศ.ดร.จีระ     หงสลดารมภ  ซึ่งสามารถมีโอกาสไดายทอดแนวคิดหรือ ทฤษฏีในการพัฒนาคนของทั้ง2 าน  เลาสูกันฟ โดยมีทฤษฏี 8 H’s” ทฤษฏีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรคและ8 K’s” ทฤษฏีทุนในทรัพยากรมนุษย โดยศ.ดร.จีระ หงสลดารมภ  ซึ่งองคประกอบดังกลาวในทฤษฏี ของทั้งสองทานไดสนทนากัน และมีความสอดคลองตองกันอยูถึง 7 อ แตมีอยู 1 อที่ แตกตางกัน คือ Health (การมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ) และ Digital Capital (ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที) และทฤษฏีทั้งหมด 8 H’s  และ8 K’s ที่กลาวมาแลวนั้น ในเรื่องทุนมนุษยนั้น จะตองเนนการพัฒนามากกวาคอนโทรล ตองมี Speed of learning and understanding   เพราะถาเราเคลื่อนตัวชาจะไมทันตอการเปลี่ยนแปลง ตองสรางความรูใหตัวเอง  วยการพัฒนาและการเรียนรูามศาสตร์คิดนอกกรอบ ยิ่งคิดสรางสรรคก็ยิ่งทําใหเกิดการเรียนรู  และมองภาพกว้างแบบ Macro  จะมองตัวเป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยภาพรวม  แล้วจึงเจาะลึกเข้าไปในรายละเอียดของแต่ละส่วน  จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดำเนินงานอย่างเป็นระบบครอบคลุมต่อเนื่อง สร้างสรรค์ อย่างยั่งยืน                   เมื่อคนเรามี ความมั่นใจในความรูมีปญญา และจิรยธรรมครบถวน ก็จะมีความกลาที่จะออกสังคม และมีปฏิสัมพันธที่ ดีกับคนทั่ วไปในทางสรางสรรค “คนที่มี ทุนทางสังคมดี เมื่อพัฒนาตัวเองไปถึงระดับหนึ่งจะสามารถบริหารเครือขายความสัมพันธทางสังคม (Network and Partnership) ใหเปนประโยชนกับงาน หรือกับสังคมสวนรวมไดวย (.ดร.จีระ หงสลดารมภ) วิธีการคือเราตอง ใหเขากอนที่เขาจะรองขอใหความชวยเหลือ ใหคําแนะนําใหเกียรติใหการยกยอง ใหความรวมมือ และใหการสนับสนุน...หากเรามี ความจริงใจและมุงมั่นที่จะสรางงานที่    เปนประโยชนอสวนรวม เขาก็จะดูออก และพรอมจะชวยเราดวยเหมือนกัน                       ระบบราชการเปนองคกรใหญ  องขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน ลีลาและศิลปะของการทํางานตองมี อยากระเพื่อมน้ำแรงถาไมแนใจตองอยาฝน เพราะจะแพเหมือนยืนทาทายสู้กับธรรมชาติสุดทาย  าแพอาจไมมีโอกาสไดทําอะไรเลย    (คุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค)                   นั่นคือคํากลาว ของ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษยสายพันธุแท                    จากพลังการคิดของนักปราญช์ทางด้านการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์จนได้มาเป็นทฤษฎีต่างๆ  ซึ่งทุกท่านล้วนมีฐานคิดให้แก่ผู้อื่น บนพื้นฐานของการมีจิตสาธารณะ (Public  Mind)แนวคิดจึงออกมาคล้ายคลึงกัน เชื่อมโยงกันไปสู่เป้าหมาย คือ การพัฒนามนุษยชาติให้สามารถอยู่ในสังคมโลกอย่างสันติสุข สมดุลกับธรรมชาติ และยั่งยืน************************
นางสาวละมัย ร่มเย็น นางสาวดวงเนตร สำราญวงศ์ นางสาวอภิกนิษฐา นาเลาห์ และนายวรวุฒิ อินทนนท์ ป.เอก ม.อุบลฯ รป.ด.รุ่น 3

เรียน   ท่านอาจารย์จีระที่เคารพ

           กลุ่มของพวกเราได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มของท่านอาจารย์แล้ว คือ หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (HR.CHAMPIONS)”   และหนังสือ“ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน  ของ 2 นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย”   ได้ตอบคำถามและยกตัวอย่างประกอบตามที่อาจารย์มอบหมายได้จำนวน 12 หน้า  แต่มีข้อจำกัดของการส่งข้อมูลต้องแยกส่งที่ละ 2 หน้า และไม่สามารถส่งรูปภาพประกอบได้  ซึ่งกลุ่มของพวกเราจะทำต้นฉบับที่สมบูรณ์ส่งให้ท่านอาจารย์ในวันเสาร์ที่ 11 พ.ย. 49 อีกครั้งหนึ่ง

                      กราบเรียนอาจารย์ด้วยความเคารพ

นางสาวละมัย ร่มเย็น                                                                          นางสาวดวงเนตร สำราญวงศ์                                                           นางสาวอภิกนิษฐา นาเลาห์                                                               นายวรวุฒิ อินทนนท์                                                                     นักศึกษา ป.เอก ม.อุบลฯ รป.ด.รุ่น 3

กลุ่มนายประดิษฐ ตันวัฒนะพงษ์
จาก HR.CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ สู่  2 พลังความคิด ชีวิตและงาน ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเป็นประกายเพลิงอันยิ่งใหญ่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(นักศึกษา ม.อุบล รุ่น 3) เนื้อหาภายในหนังสือ HR.CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นเสมือนผลงานวิจัยอัตตชีวิตของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2 ปราชญ์ผู้ที่ยิ่งใหญ่  ปราชญ์หนึ่งเป็นนักวิชาการผู้ปฏิบัติจริง ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ดร.ทางเศรษฐศาสตร์ ที่บุกเบิกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย มีผลงานทั้งระดับประเทศและระดับสากล สั่งสมประสบการณ์กว่า 3 ทศวรรษ เป็นผู้มีบุคลิกแบบ participative management  โดยมุ่งมาตรกับการสร้างอานาจักรแห่งการเรียนรู้แบบไม่ยึดติดกับแบบ (out of box) โดยอาศัยทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในยุคของ Globalization  อีกปราชญ์หนึ่งนั้นเป็นนักธุรกิจ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้พัฒนาองค์กรภาคธุรกิจที่มีเครือข่ายยิ่งใหญ่ในระดับภูมิภาคเอเชีย(บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย) ประสบการณ์กว่า 3 ทศวรรษและมีบุคลิกแบบ participative managementเช่นกัน เป็นนักคิดและทำอย่างจริงจังปฏิบัติสร้างเด็กและเยาวชนของชาติไทยภายใต้แนวคิด Constructionism  ไปสู่ Global Citizen    ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในบรรยากาศของ Learning Organizationอีกทั้งแสดงให้เห็นรูปธรรมที่สะท้อนพลังอันยิ่งใหญ่ของคนที่ไม่หยุดนิ่งมุ่งมั่นแสวงความรู้อยู่ตลอดกาล ผลงานท่านจึงเป็นผลสำเร็จที่สังคมต่างยอมรับ  เราได้ตระหนักว่าคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดขององค์กร เมื่อองค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าแล้ว องค์กรก็จะรุดหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะมีอุปสรรคลำบากแสนเข็ญเพียงใดก็ตาม เราได้พบทฤษฏี 4 L’s อันเป็นทฤษฏีที่กลั่นจากองค์ความรู้แลประสบการณ์ กว่า 30 ปี ของ ศ.ดร.จีระ ในการทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฏี 4 L’s ทำให้ทราบว่าการสร้างความรู้เพื่อให้เกิดคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์นั้น ใช่แค่การมาป้อนเนื้อหา วิชาความรู้แก่เขา แต่ต้องสร้างกระบวนการให้เขารู้วิธีแสวงหาความรู้ มีความตระหนักกระหายต่อการแสวงหาความรู้อย่างมิรู้อิ่ม ดังนั้น 4L’s จึงเป็นทฤษฎีเครื่องมือที่สำคัญมาก  เพื่อช่วยให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ  เป็นการเรียนรู้อย่างยั่งยืนภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ (Learning Community)  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 2 R’s                2 พลังความคิด ชีวิตและงาน เป็นการต่อยอดที่สมบูรณ์ของทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เพราะเป็นการผนวกองค์ความรู้ในส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐโดยผ่านมุมมองชีวิตของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ สตรีผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดแห่งชีวิตราชการ วิวาทะปะทะกันทางปัญญา 8 K’s และ 8 H’s จาก 2 พลังความคิด คือคุณลักษณะทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัฒน์  ทฤษฎี 8 K’s  ให้ความสำคัญทุนมนุษย์ (Human Capital) มาเป็นอันดับแรก ทฤษฎี 8 H’s ให้ความสำคัญกับ “H” Heritage มาเป็นอันดับแรกทฤษฎีทั้งสองให้ลำดับคุณค่าของคนมากที่สุด  สถาบันครอบครัวจึงเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดของสังคมมนุษย์ต่อจุดเริ่มต้นของ “Good Learner” ไปสู่ “Global Citizen”การพลาดจากหนังสือ 2 เล่มนี้คือโอกาสแห่งชีวิตที่สูญเสียไปอย่างประเมินค่ามิได้ จาก HR.CHAMPIONS ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ สู่ 2 พลังความคิด ชีวิต และงาน ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จึงเป็นเสมือนประกายเพลิงอันยิ่งใหญ่ที่มาเจิดจรัสแสงกล้าในหัวใจของเรานักศึกษา ม.อุบล รุ่น 3 ที่จะพัฒนาตนเป็นทรัพยากรมนุษย์อันมีค่าต่อชุมชนท้องถิ่น  และประเทศชาติ The best of  Leadership  แสดงหมดเปลือกแล้วใน 2 เล่มนี้ผู้สนใจลองค้นหาดูครับกลุ่มงานนายประดิษฐ์  ตันวัฒนะพงษ์พ.ต.อ.พนมพร  อิทธิประเสริฐนายจิรชัย  พรหมพรนายวิโรจน์  เซมรัมย์นายพิทักษ์  สายสมาน

 

เจริญพร  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

เรื่อง  ส่งงานกลุ่ม

งานของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์1. อ่านหนังสือเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แล้ว  ได้อะไร ?2. อ่านหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน  2  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ฯ แล้ว มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับหนังสือเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้                อ่านหนังสือเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แล้ว  สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ                1. ทางชีวิตสองแชมป์                เป็นเรื่องประวัติของแต่ละบุคคล โดยอิงอาศัยความรู้ประสบการณ์การทำงาน  โดยเป็นการกล่าวถึงประวัติการทำงานของแต่ละท่านโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาองค์กรหรือสถาบันนั้น ๆ  ให้มีความเจริญรุ่งเรือง  ซึ่งในด้านของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนทั้ง 2  ซึ่งจะมีความแตกต่างกันคือ                1.1 คุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา  พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหน่วยงานของท่านที่ทำงานโดยเป็นหน่วยงานเอกชน                1.2 ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหน่วยงานของท่านที่ทำงานโดยเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของรัฐ  กว่าจะดำเนินการได้ลำบากยากเย็นแสนสาหัส                2. พารณ ฯ : “ช้างใหญ่ ธงชัยปูน                เป็นแนวปฏิบัติในอดีตที่คุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา  ได้ยึดถือปฏิบัติ  และบางสิ่งบางอย่างที่บุคลากรภายในบริษัทยังนำมาปรับใช้  เช่น  เรื่อง  คนเก่ง คนดี  (เก่ง 4  ดี  4)                - เก่ง 4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน                - ดี  4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  และคู่คุณธรรม                3. จิระ : จารึกไว้บนรายทาง                เป็นเรื่องที่ผู้เขียน (ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์)  นำประสบการณ์การทำงานร่วมกับบุคคลต่าง ๆ  ซึ่งมีข้อมูลต่าง ๆ มากมายและนำมาปรับใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งเน้นที่การบริหารแบบมีส่วนร่วมและมีความโปร่งใสพร้อมกับพยายามเผยแพร่เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบด้วย                4. ปรัชญาที่ ปลายนวม                เบื้องต้นเปรียบเทียบกับต่างประเทศซึ่งบ่งบอกถึงศักยภาพของคนไทยโดยเป็นเรื่องที่กล่าวถึงอดีตนั้นจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมาก  ไม่ค่อยเห็นความสำคัญในการพัฒนาคน  ซึ่งในเรื่องนี้ต่อไปทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มากเพื่อจะได้เป็นแรงงานสนับสนุนให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้                5. ความเชื่อ....ศรัทธา  และหลักการ                เป็นความเชื่อในหลักการที่ว่า คน ถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร  ต้องพยายามพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจังโดยมีแนวทางพัฒนาที่กำหนดโดยผู้บริหาร                 6. บันไดแห่งความเป็นเลิศ                เป็นการแนะแนวทางเพื่อเป็นสิ่งปฏิบัติในการนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (จีระ หงส์ลดารมภ์)                6.1 ลองทำอะไรที่เริ่มจากความคิดดี   ลงมือทำ    ทำให้สำเร็จ (สู่ผลสำเร็จ)                6.2 จัดความสำคัญของงาน  งานไหนที่มีความสำคัญต้องทำก่อน                6.3 สร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม                7. ให้ความรักถึงจะภักดี                เป็นการแนะนำผู้บริหารให้คำนึงถึงความภักดีของลูกน้องโดยอาศัยระบบการดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ต้นมีผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี  มีการปกครองที่เป็นธรรม  ให้ความรักและความสำคัญกับลูกน้อง  ให้มีส่วนร่วมในการบริหาร  และทำงานร่วมกันเป็นทีม                8. มหัศจรรย์แรงจูงใจ                เป็นการแสดงความคิดเห็นว่า ระบบการจ่ายผลตอบแทนหรือกลยุทธ์ค่าจ้าง  มิได้เป็นแรงจูงใจที่สำคัญและแรงจูงใจที่สำคัญคือ                8.1 สร้างคนให้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้มากขึ้น                8.2 การประเมินคุณภาพตามความสามารถมีการเปลี่ยนแปลง เช่น วัดเชิงปริมาณแล้วยังต้องวัด       เชิงคุณภาพของคนได้ด้วย                9. สานสร้าง  Global  Citizen                เป็นการนนำความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ  ของคุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  มีการจัดทำเป็นรูปแบบด้านการศึกษาคือสร้างโรงเรียน ฯ สำหรับไว้ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้เรียนที่อยู่ตามชนบทรอบนอก                10. ปลายทางสู่ชัยชนะ                เป็นการจุดประกายหรือแนวคิดของคุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  ที่พยายามทำให้นานาประเทศรู้จักระบบอุตสาหกรรมไทยโดยการว่าจ้างนักวิจัยจากต่างประเทศมาทำเรื่องวิจัยอุตสาหกรรมไทยและเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตและสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง                11. บทบันทึก พารณ จีระ                เป็นเรื่องราวของบุคคลทั้งสองคนที่มีแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์                โดยคุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา  มุ่งไปทางการสร้างคนตามแนวคิดแบบ “Constructionism”                 ส่วนคุณจีระ  หงส์ลดารมภ์  มุ่งมาตรกับการสร้างอาณาจักรแห่งการเรียนรู้ขึ้นอย่างไม่ยึดติดรูปแบบ                12. ส่งท้าย... คนพันธุ์แท้                โดยคุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา  และคุณจีระ  หงส์ลดารมภ์  ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้ต่างก็มีอายุแตกต่างกันแต่มีจุดมุ่งหมายปลายทางเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์                  13. จีระพบ... GURU                เป็นการพบปะกับกูรู (Guru) เก่ง ๆ ในโลก  ซึ่งในการพบปะนี้เป็นการสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเมื่อได้ความคิดใหม่ ๆ ก็พยายามนำมาปรับใช้และพยายามถ่ายทอดให้สังคมไทยได้รับทราบโดยอาศัยทฤษฎี  2  R’s  คือ                13.1 Reality          ค้นพบแนวความคิดจากการศึกษาและวิเคราะห์จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น                13.2 Relevance    เกี่ยวข้องสัมพันธ์ตรงประเด็นกับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว                อ่านหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน  2  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ฯ แล้ว มีความเกี่ยวข้องกับหนังสือเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ดังนี้  คือ                เกี่ยวข้องอย่างนี้ คือ  เป็นเรื่องของการนำแนวคิดและนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถทำงานภายในองค์กรนั้นให้บังเกิดความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ                จะมีความแตกต่างก็คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของหนังสือเล่มเล็กนั้น เป็นผู้หญิงที่สามารถนำแนวคิดและทฤษฎีต่าง    ไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ภายในหน่วยงานราชการ  ส่วนหนังสือเล่มใหญ่เป็นผู้ชายทั้งหมด  แต่ทั้งหมดนี้ถึงแตกต่างกันในเรื่องของเพศ  แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ พยายามพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้  ความสามารถ  อยู่เสมอ                 โดยเนื้อหาสาระของหนังสือทั้ง  2  เล่มนั้น  เป็นเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ของแต่ละท่านนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาองค์กรที่ท่านอยู่และปฏิบัติหน้าที่นั้นให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น  และกลุ่มเห็นว่าควรนำหลักธรรมของแต่ศาสนาเข้าไปประยุกต์ใช้ด้วย  เช่น  หากเป็นหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาควรใช้  หลักอริยสัจ  4   คือความจริงอันประเสริฐ  สำหรับวินิจฉัยแก้ไขปัญหา และหลักทศพิธราชธรรม  10  คือ ธรรมสำหรับนักปกครองหรือนักบริหาร  สำหรับใช้ในการบริหารงานภายในองค์กรแต่ละแห่ง                อริยสัจ  4  กระบวนการแก้ปัญหา                โดยใช้อริยสัจ 4  เป็นปัจจัยในการแก้ไขปัญหา

LISTING  ALTERNATIVE  COURSES OF ACTION

การกำหนดทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหา 
PROBLAM  INDENTIFICATION
DATA  ANALYSIS-CAUSES  (GREED/ ANGER/ IGNORANCE)
ทุกข์
สมุทัย

DATA  COLLECTION

นิโรธ
OBJETTIVE  DETERMINATION
มรรค
 

 

       

 

                ทศพิธราชธรรม  10                ธรรมราชา  หรือ ทศพิธราชธรรม ซึ่งนักผู้ปกครองและนักบริหารควรคำนึงและยึดถือเป็นหลักของการปกครองมี  10 ประการ คือ                1. ทาน  การบำเพ็ญตนให้เป็นผู้ให้  โดยมุ่งปกครองหรือทำงานเพื่อให้ประชาชนหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับประโยชน์สุด เพื่อให้ประชาชน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาซาบซึ้งว่าตนได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพระราชา ผู้ปกครอง                2. ศีล    การรักษากาย วาจา ให้เป็นปกติ โดยผู้ปกครอง ต้องรักษาเกียรติอันดีงานของตน เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน และเพื่อให้ประชาชนมีความเคารพว่าเจ้านายของเราเป็นผู้มีศีลมีคุณธรรม                3. บริจาค  การบำเพ็ญตนเป็นผู้เสียสละ สละความสุขของตนเพื่อที่จะดูแลความสุขของประชาชนได้                4. อาชชวะ  การมีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีพฤติกรรมที่จริงใจต่อประชาชน เพื่อให้เกิดความเชื่อถือไว้วางใจ                5. มัททวะ  การแสดงกิริยาที่อ่อนโยน  อ่อนน้อม  ไม่เย่อหยิ่งถือตัว  เพื่อให้ประชาชนได้รับความเมตตาใกล้ชิด                6. ตบะ  การมีจิตใจที่เข้มแข็งสมกับเป็นนักปกครองผู้นำ  รู้จักระงับยับยั้งความลุ่มหลงในกิเลส หรืออำนาจตน                7. อักโกธะ   ความไม่โกรธไม่เกรี้ยวกราดต่อผู้อื่น ไม่ลุแก่อำนาจโทสะ เพื่อมิให้ประชาชนเกิดความขยาดกลัว                8. อวิหิงสา  การไม่เบียดเบียนข่มเหงรังแกผู้ใต้ปกครองไม่เป็นธรรม  ทำให้ผู้ใต้ปกครองมอบความรักให้                9. ขันติ  อดทนต่อความยากลำบากทั้งปวง ทั้งหน้าที่การทำหน้าที่  การถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งคำสรรเสริญและนินทา เพราะผู้นำไม่มีความอดทน ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ใต้ปกครองเชื่อมั่นว่า การทำหน้าที่จะมีผลสำเร็จด้วยดีได้                10.  อวิโรธนะ การประพฤติตนไม่ให้ผิดทำนองคลองธรรม  หรือหลักการที่เป็นธรรมทางสังคม  เพื่อให้เป็นธรรมเนียมที่ถูกต้องและดีงาม ของสังคมทุกระดับ ที่ได้เห็นว่าผู้ปกครองตนนั้นถือเอาคุณธรรมเป็นที่ตั้งแห่งใจเสมอ                การยึดถือสถาบันกษัตริย์ซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   เป็นจักรพรรดิแห่งธรรมนั้นพระองค์ทรงเป็นยอดนักบริหาร ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาและพระองค์ยังทรงเป็นกษัตริย์ทศพิธราชธรรม ซึ่งประชาชนชาวไทยและผู้บริหารควรยึดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้สังคมไทยเกิดการพัฒนาทั้งในด้านการเมือง  และเศรษฐกิจด้วย   กลุ่มนี้ประกอบไปด้วย                1. พระณรงค์   คำซาว                2.  นายวรเดช  บุญอินทร์                3.  นางสาววิชชุดา  วงศ์พาณิชย์                4. นายสุรศักดิ์   จันทา

 

เช้านี้มาเข้า blog ของ ม.อุบล,3 ที่ท่าน ศ.ดร.จีระ กรุณาจัดทำขึ้น เป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาของอาจารย์ท่าน ผมจึงได้มาสัมผัส IT. เห็นว่าเป็นInnovation หนึ่งของการจัดการเรียนรู้  ทำให้ผมได้รับรู้ข้อคิดเห็นของเพื่อนๆร่วมห้องในประเด็นที่น่าสนใจ และเห็นความเป็นเอกฉันท์ ในการยอมรับวิธีการเรียนรู้ที่อาจารย์มอบให้ว่าดียิ่งนัก                ในฐานะผมเป็นนักการศึกษา จึงอยากให้บุคคลอื่นๆ ได้ทราบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบรูปธรรม ที่ท่านนำมาใช้ให้ชาว ป.เอก ม.อุบล,3 เพื่อเป็นต้นแบบ กระบวนการพัฒนาปัญญา

 

กระบวนการพัฒนาปัญญา ที่ ศ.ดร.จีระ นำไปใช้ที่ ม.อุบล

                ความพร้อมของอาจารย์                    - อาจารย์มีการเตรียมการที่ดี มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ และใช้                                                                                               เทคโนโลยี มีผู้ช่วยที่มีทักษะปฏิบัติสูง ขึ้นจอได้ทุกเรื่องสอดคล้อง                                                                          กับการอภิปราย                วิธีการเรียนรู้แบบสร้างปัญญา         1. อาจารย์นำเสนอเนื้อหาอย่างเป็นรูปธรรม ประสานการกระตุ้น                                                                               สร้างแรงจูงใจใฝ่รู้ และการสร้างจิตสำนึกที่ดีงาม2. การสร้างบรรยากาศ การเรียนรู้ สนุก นักศึกษามีส่วนร่วม เปิดเวที      ปะทะทางปัญญา มีการใช้เทคโนโลยีประกอบ การบรรยายจะ      ประสานกับจอภาพที่เร้ากระตุ้นสมองตลอดเวลา บางช่วงก็เป็น     ภาพเคลื่อนไหว VCD ที่น่าสนใจเหมาะกับเนื้อหา3. การมีจังหวะก้าวที่เหมาะสม ในแต่ละรูปแบบที่นำมาใช้ เช่น    บรรยาย ถาม-ตอบ การดู VCD การอภิปรายกลุ่ม การนำเสนอโดย  การสรุปประเด็น ที่มีระยะเวลา ลีลา แสนกลมกลืน4. การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ อาจารย์จะเปิดโอกาสให้ นศ.มีส่วน   ร่วมในการแสดงความคิดเห็น และยังกระตุ้นเป็นรายบุคคลให้ร่วม    คิด     การเรียนเนื้อหา + แลกเปลี่ยน + กระบวนการคิด = ปัญญา5. การสร้างกระบวนการทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมอบงาน    การอ่าน และให้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนเป็นกลุ่ม เป็นการตอกย้ำให้    เกิดองค์ความรู้และพัฒนาทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง 6. จากกระบวนการ นศ. เกิดปัญญา รู้วิธีแสวงหาความรู้ และมีจิตใจ   ใฝ่รู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้นธารของสังคมแห่ง    การเรียนรู้7. ทฤษฏีสู่การปฏิบัติ  การปฏิบัติที่รับใช้สังคม ท่านอาจารย์มอบงาน     ให้ นศ.จัดทำโครงการสู่ชุมชนนำเสนอเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจ     พอเพียง ให้ อบต. ฟัง ไปช่วยชาวบ้าน ชุมชน ให้เข้าใจเรื่อง     ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นการนำเอาความรู้ของนักศึกษา     ปริญญาเอกที่เรียนมาไปช่วยเหลือรากแก้วของสังคมไทย                จิรชัย พรหมพล สรุป
เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พย นี้  การจัดการเรียนรู้ HR. ที่ ม.อุบลราชธานี โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พวกเรา ป.เอก รุ่น 3 ต่างได้รับรู้ถึงการเป็น HR.พันธ์แท้ ของท่านอาจารย์ จากบทความ นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย ที่ท่านให้อ่านและวิเคราะห์ บทความนั้นได้เชื่อมโยงความเป็นอัจฉริยะภาพของในหลวง ต่อการเป็นรากฐานที่มั่นคงเกื้อหนุนในการแก้ไขวิกฤติให้แก่ระบบต่างในสังคมไทย รวมถึงระบอบประชาธิปไตยไทย และท่านเข้าสู่จุดยืนของท่านคือ HR.ด้วยการให้ตระหนักว่าการพัฒนาที่สมบูรณ์ยั่งยืนแก่ระบบต่างๆในสังคม ก็ด้วยคุณค่าของคน ของประชาชน (HR.ที่มีคุณธรรม + ความรู้ + ปัญญา หรือคน 8 kนั้นเอง)Innovation เป็นอีกเรื่องที่ท่านได้นำเสนอจาก VCD การสนทนาของท่าน ดร.จีระ กับ คุณศุภชัย หล่อโลหะการ ความแหลมคมของการเป็นวิทยากรแบบนักวิชาการระดับอินเตอร์ของ ดร.จีระ ทำให้พวกเราได้รับข้อมูลจากการสนทนาที่เป็นระบบองค์ความรู้ ผู้ดู ผู้ฟัง ป่อง  ปิ๊ง  โป๊ะเซะ ในเรื่อง Innovation ที่เป็นลักษณะของ องค์ความรู้ + ความคิดสร้างสรรค์ + การกระทำให้สำเร็จ + คุณค่าได้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแลสังคม
สรุป HR.กับการพัฒนาภาคอีสาน อีสานมีประชากรร่วม 25 ล้านคน กว่า 1 ใน 3 ของประชากรไทย มีสถานะเศรษฐกิจที่ยากจน เสมือน Bottom of the Pyramid การพัฒนาโดยนำทรัพยากรต่างๆภายนอกไปให้ เช่นขนสรรพกำลังภาครัฐไปวิเคราะห์ปัญหาแล้วทุ่มงบลงช่วยเหลือแก้ไข แบบอาจสามารถโมเดล ย่อมเป็นการแก้ไขปัญญหาแบบฉาบฉวยไม่ยั่งยืน คนคือทรัพยากรที่สำคัญสูงสุดในองค์กร คุณค่าของคนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การจะพลิกฐานปิรามิดกลับเป็นยอด หรือการพลิกฟ้าคว้ำดินให้อีสานพัฒนา ก็ต้องพัฒนาสังคมอีสานให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ คนอีสานมีคุณค่ามีปัญญา HR. ของ ดร.จีระ คือแนวคิดที่จะนำสู่การพลิกปิรามิด พลิกฟ้าคว้ำดินอย่างแท้จริง

ในช่วงนี้ พวกเราต่างมิได้หยุดพัก ด้วยท่าน ดร.จีระ ได้สร้างจิตสำนึกให้แก่เรา ปริญญาเอกที่เรียนมาต้องนำไปช่วยเหลือรากแก้วของสังคมไทย   พวกเราต่างวิ่งประสานดำเนินการโครงการสู่ชุมชนนำเสนอเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ อบต. ชาวบ้าน ชุมชน ให้เข้าใจ โครงการนี้จะเริ่ม ณ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลานี้ แม้แต่ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชธานี ประธาน ป.เอกรุ่น 3 ท่านประดิษฐ์  ตันวัฒนะพงษ์ และรองผู้การ พตอ.พนม  อิทธิประเสริฐ รวมทั้งคุณพิทักษ์  สายสมาน  ก็ได้ลงสำรวจพื้นที่ ประสานงานมวลชนในพื้นที่ด้วยตนเอง จนตัวดำเกือบจำไม่ได้ ส่วนผมจิรชัย  พรหมพล และคุณวิโรจน์  เซมรัมย์ ก็ประสานผู้นำมวลชน ทั้งภาครัฐและเอกชน ติดต่อประสานงานวัสดุอุปกรณ์ กันอย่างมิได้พัก อีเมลส์กลุ่มก็เป็นศูนย์ประสานงานให้แต่ละท่านเตรียมงานในส่วนของตนอย่างเต็มที่ พวกเราถูก ดร.จีระ จุดประกายเพลิงในหัวใจจนบ้าคลั่งแล้ว ....  แต่ก็เต็มใจยิ่ง           โดยกลุ่มอุบลราชธานี  นายประดิษฐ์  ตันวัฒนะพงษ์ พตอ.พนม  อิทธิประเสริฐ นายพิทักษ์  สายสมาน นายจิรชัย  พรหมพล และนายวิโรจน์  เซมรัมย์    

พระณรงค์  คำซาวสรุปเนื้อหาตามความเข้าใจในการเรียนวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2549จาก = นิตยสาร  Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย                จากบทความดังกล่าวได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ทรงให้การช่วยเหลือประชาชน  ด้วยความเพียรและเสียสละเพื่อประชาชนอย่างไม่หยุดยั้ง   เป็นต้น  พร้อมกับกล่าวถึงการเมืองของสหรัฐอเมริกาโดยอ้างถึงการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งของประชาชนโดยอาศัยข่าวสารในการตัดสินใจที่ทำเช่นนี้ได้เพราะพื้นฐานประชาชนของเขามีการศึกษาในระดับดี  เป็นประชาธิปไตย  จึงสามารถเปลี่ยนความนิยมได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งแตกต่างกับประชาชนไทย  ยังคิดไม่เป็น  เพราะไปเน้นวัตถุนิยมอย่างมาก  ประเด็นนี้อาจเป็นเพราะพื้นฐานประชาชนของประเทศไทยมีการศึกษายังไม่ดีพอ  ตามบทความนี้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความพยายามสื่อให้เห็นว่า  ต่อไปทุกหน่วยงาน  ทุกภาคส่วน  ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีความรู้  ความสามารถ  หากทำสิ่งนี้ได้แล้วจะทำให้การตัดสินใจของประชาชนอยู่ในพื้นฐานที่ดีมากยิ่งขึ้น  เพราะสามารถใช้ดุลพินิจของตนเองในการตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเองต้องการในการดูสื่อการสนทนา                จากการดูสื่อระหว่างคุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา  กับ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  สนทนากัน  ทำให้ได้ทราบเรื่องเกี่ยวกับการมุ่งเน้นของคุณพารณ ฯ  ที่ต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้อยู่คู่กับองค์กรมากที่สุด  ซึ่งมีบางประเด็นในช่วงของการสนทนาที่น่าสนใจเช่น                - คนที่ได้ผ่านการพัฒนาและมีความรู้ความสามารถยิ่งอยู่นานยิ่งมีคุณค่า                - ในอดีตนายจ้างหรือบริษัทต่าง ๆ จะมองเฉพาะคนภายในองค์กรของตน  แต่ต่อไปต้องคิดใหม่  โดยต้องมองภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร หมายความว่า                1. การมองภายในองค์การ = การพัฒนาคนภายในองค์กร คือ ฝึกอบรมเฉพาะคนภายในองค์กร  โดยไม่สนใจบุคคลภายนอก                2. การมองภายนอกองค์กร = ต้องเอาใจใส่บุคคลภายนอกองค์กร คือ การบริการก่อนและหลังที่มีการจำหน่วยสินค้าให้แก่ลูกค้า  ต้องให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ                ส่วนการดูสื่อของรายการสู่ศตวรรษใหม่  เกี่ยวกับเรื่องของคำว่านวัตกรรม  ในช่วงสนทนา ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และคุณศุภชัย ฯ ผู้ร่วมรายการ  มีบางประเด็นทำให้ได้ทราบเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของทั้ง 2 ท่านมีดังนี้ คือ                1. ศ.ดร.จีระ  ฯ ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะรับผิดชอบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกภาคส่วน มิได้เจาะจงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง  จึงเปรียบเหมือน ศ.ดร.จีระ เป็นต้นน้ำ  ซึ่งถือได้ว่าเป็นตนน้ำที่ดีและเป็นน้ำที่บริสุทธิ์                2. คุณศุภชัย ฯ ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะรับผิดชอบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เฉพาะในภาคธุรกิจเท่านั้น  คือมุ่งเน้นในด้านธุรกิจเป็นสำคัญ  จึงเปรียบเหมือน คุณศุภชัย ฯ เป็นปลายน้ำ                และทำให้ทราบถึงการที่จะนำนวัตกรรมไปใช้กับหน่วยงานหรือสังคมนั้นได้  ต้องรู้พื้นฐานของหน่วยงานหรือสังคมนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อน 
วรวุฒิ อินทนนท์ / อภิกนิษฐา นาเลาห์ / ละมัย ร่มเย็น / ดวงเนตร สำราญวงศ์
        จากการที่ได้เรียนกับท่าน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์   เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2549  ที่ผ่านมาทำให้ได้วิธีการค้นพบองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย  ที่ประทับใจมากเริ่มจากความมีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริงนอกเหนือจากความเป็น HR พันธุ์แท้ของท่านอาจารย์จีระ  วันนั้นท่านรอนักศึกษาที่กำลังเดินทางมาเรียนซึ่งบางคนก็เดินทางมาจากที่ไกลๆ และให้เพื่อนโทรตามจนครบแล้วจึงค่อยเริ่มกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน รู้สึกประทับใจมากๆ   และจากการได้อ่านบทความจาก นิตยสาร Time : ยกย่องกษัตริย์ไทย  บทความนั้นเชื่อมโยงพระปรีชาสามารถต่างๆของในหลวงไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาตามพระราชดำริต่างๆ  ตลอดจนการแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมืองที่สำคัญของไทยตั้งแต่ ช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2549   ช่วงพฤษภาทมิฬ 2535  และช่วงปฏิรูปการปกครองในปีนี้  ต่อจากนั้นท่านได้โยงไปถึงสังคมการเมืองในระดับโลก คือการเลือกตั้งที่สหรัฐอเมริกาที่ท่านพยามยามแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งของประชาชนชาวอเมริกัน สามารถตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยตนเองตามวิถีทางประชาธิปไตย ไม่เหมือนกับประเทศไทยเราที่ต้องเร่งสร้างองค์ความรู้ ความมีเหตุมีผลให้ประชาชนโดยเน้นที่การศึกษาเป็นหลัก  ท่านให้เน้นที่ ทฤษฎี 2  R’s คือ              1. Reality มองสภาพจากความเป็นจริง และสภาพพื้นฐานการศึกษาไทย
              2. Relevance เจาะประเด็นที่จะแก้ให้ตรงกับความต้องการ และนำสิ่งที่เราพูดนำไปสู่ Execution ควรจะทำให้สำเร็จ
              จากนั้นท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้คุณปิง(อาจารย์ผู้ช่วย) ได้นำเสนอ VCD การ สนทนาของท่านพารณ กับ ดร.จีระ ทำให้ได้แนวคิดในการมุ่งที่คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา การบริหารด้วยคุณธรรม การเห็นมนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า สนับสนุนการพัฒนาตามกำลังสามารถ ให้ความเป็นกันเองดูแลเขาตั้งแต่เข้าทำงานจนเกษียณ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้บุคคลรักองค์กรและมีความภักดีทุมเทการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และท่านยังให้ความสำคัญกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเป็นการขยายเครือข่ายเชื่อมโยงต่อกัน ตามทฤษฎี Social Capital – Networking ของท่าน ดร.จีระ และจากการได้ชมสารคดีการสนทนาระหว่างคุณศุภชัย กับ ดร.จีระ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ HR+INNOVATION ทำให้ได้เข้าใจว่านวัตกรรมหมายความรวมถึงแนวคิด การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆที่จะต้องผ่านการปฏิบัติและทำให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลหรือสังคม ดังนี้ องค์ความรู้ + ความคิดสร้างสรรค์ + การกระทำให้สำเร็จ + คุณค่าได้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแลสังคม  เข้ากับหลักการทฤษฎี 5 K ใหม่  คือ·        Innovation Capital               ทุนทางนวัตกรรม·        Creativity Capital                 ทุนแห่งการสร้างสรรค์·        Knowledge Capital              ทุนทางความรู้·        Cultural  Capital                  ทุนทางวัฒนธรรม·        Emotional Capital ทุนทางอารมณ์              ส่วนแนวคิดในการพัฒนาภาคอีสาน เป็นที่ซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งที่ท่าน ดร.จีระ เป็นห่วง สนใจ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอีสานเป็นอย่างยิ่ง (สงสัยว่าภพก่อนท่านอาจจะเกิดเป็นพญาของเมืองอีสานมาก่อน)  โดยสรุปท่านให้แนวคิดในการพัฒนาอีสาน 4 เรื่องที่ควรมาร้อยเรียงกัน คือ·        เกษตร·        วัฒนธรรม·        องค์ความรู้·        นำไปสู่ความยั่งยืนและการสร้างมูลค่าเพิ่ม           ตอนท้ายชั่วโมงท่านให้ นศ.ป.เอก พูดคุยกันเพื่อเตรียมการลงพื้นที่ตามโครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ณ ศาลาวัดคูสว่าง   อบต.หนองกินเพล  อ.วารินชำราบ  ซึ่งจะเป็นการนำความรู้ตั้งแต่ที่เริ่มเรียนลงสู่ชุมชนตามหลักการ  ทฤษฏี 4 L's   คือ·    L ที่ 1 คือ Learning Methodology  วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia   ·     L ที่ 2 คือ Learning  Environment                การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก  สนใจ  และมีส่วนร่วม    บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด  มีมุมหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark) ·     L ที่ 3 คือ Learning  Opportunity  การสร้างโอกาสในการเรียนรู้  เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน     ·    L ที่ 4 คือ Learning  Communities                 การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง    ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community  เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน  วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment)  และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง                       และขอขอบคุณกลุ่มเพื่อนนักศึกษา ป.เอก ชาวอุบลฯทุกท่าน เป็นอย่างยิ่งที่ได้ประสานงาน เตรียมการในการลงพื้นที่อย่างเต็มที่  โดยเฉพาะคนที่ถูกท่าน ดร.จีระ  จุดประกายเพลิงในหัวใจจนบ้าคลั่ง ...                     กลุ่ม... สกล-นครพนม-ราชสีมา...//นายวรวุฒิ   อินทนนท์ // นางสาวอภิกนิษฐา   นาเลาห์ //   นางสาวละมัย   ร่มเย็น // นางสาวดวงเนตร   สำราญวงศ์   //  นักศึกษา ร.ป.ด.รุ่น 3 ม.อุบลฯ 
วรวุฒิ อินทนนท์ / อภิกนิษฐา นาเลาห์ / ละมัย ร่มเย็น / ดวงเนตร สำราญวงศ์
Chapter 2  Products  and  Services  for  the BOP                จากงานที่ท่านอาจารย์มอบหมายให้อ่านหนังสือ The  Fortune  at The Bottom of The Pyramid  ซึ่งประพันธ์โดยนักเขียนชาวอินเดีย  และกลุ่มของกระผมได้อ่าน Chapter 2  Products  and  Services  for  the BOP (ผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับ BOP)  สามารถสรุปได้ว่า ผลลัพธ์ที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับ BOP ดูได้จากการเชื่อมโยงเป็นชั้นๆของรูปกรวยในเรื่อง เทคโนโลยี  ราคา  ความยั่งยืน และไม่สามารถเริ่มต้นจัดการกับการที่ไม่มีพื้นฐาน(Zero Base)โดยใช้นวัตกรรมด้านการตลาด BOPได้                  ผู้จัดการที่มีความต้องการใช้ปรัชญาใหม่กับการตลาด BOP  ซึ่งปรัชญาใหม่  ได้แก่  ปรัชญานวัตกรรม  ผลิตภัณฑ์ และการบริการส่งถึงที่หมาย   พร้อมทั้งปรัชญาเกี่ยวกับหลักการ 12 ข้อ ซึ่งประกอบด้วยปรัชญาของนวัตกรรม แต่ก็เป็นปรัชญาส่วนน้อยของนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการทำความเข้าใจและการประยุกต์ใช้  นอกจากนั้นยังมีนักธุรกิจที่ชอบความท้าทายทั้งหลายได้กล่าวว่าพวกเขามักพบกับความตื่นเต้นเสมอในการตั้งข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด                นอกจากนี้ยังมีแนวคิดจากผู้จัดการในการทำโครงการใหญ่ๆ ว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจน จะมีการตรวจสอบซ้ำ จากข้อสันนิษฐาน เช่น ตรวจซ้ำทางความคิด  การทดสอบซ้ำทั้งด้านรูปแบบ  โครงสร้าง  ช่องทางของทุน และการแพร่กระจายทุน เป็นต้น                 การตลาด   BOP สามารถช่วยและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆได้   แต่ก็มีสิ่งที่ยิ่งใหญ่และสำคัญเข้มข้นที่สุดสำหรับผู้จัดการ  ได้แก่  เรื่องโครงสร้างของทุนซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานที่สำคัญใน MNcs  โดยเฉพาะข้อที่สำคัญที่สุดของ MNcs สามารถเรียนรู้จากผลกำไรตอบแทนที่รวดเร็วในตลาดBOP ช่วยให้การเป็นเจ้าของกิจการดีขึ้น  ตั้งแต่การจัดการกระบวนการข้างใน และพื้นฐานทั้งหมด  สามารถตรวจสอบ MNcs จากผลกำไรสูงสุดที่ทำไว้ใน BOP                    สุดท้ายนี้ขอกล่าวถึง  หลักการ 12 ข้อ twelve principles of innovation for bottom of pyramid markets (p 25-27) ดังที่เกริ่นนำไว้แล้วข้างต้น  หลักการ12ข้อของนวัตกรรมสำหรับด้านล่างของตลาดพีระมิดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้                1. จุดสำคัญของรายละเอียดราคาของผลิตภัณฑ์ และ การบริการ รายละเอียดของด้านล่างของตลาดพีระมิดนั่นไม่ใช่แค่เกี่ยวกับราคาของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่า แต่เกี่ยวกับการสร้างสมรรถนะราคาใหม่ กระโดดจากปริมาณราคาในรายละเอียดของราคา และความต้องการของส่วนล่างของตลาดพีระมิด                2. นวัตกรรมที่ต้องการ รวมกับปัญหาทางออกของผู้บริโภค ด้านล่างของตลาดพีระมิด ไม่สามารถแก้ได้กับหลักด้านเทคโนโลยีเดิมๆ ได้ การแก้ปัญหา การตั้งราคา ประกอบกับการเพิ่มความต้องการความก้าวหน้า และการพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งความคิดสร้างสรรค์กับ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรที่มีวิวัฒนาการรวดเร็ว                3. เป็นด้านล่างของตลาดพีระมิดใหญ่ การแก้ปัญหาซึ่งถูกพัฒนา คือหลักเกณฑ์ และสามารถขนส่งข้ามประเทศ  วัฒนธรรม และ ภาษา อย่างไรก็ตาม คนเอาการแก้ปัญหาจากส่วนทางใต้ของอินเดีย ผ่านไปทางเหนือจากบราซิล หรือ จีน ทางออกก็คือต้องได้รับการออกแบบเหมาะสมสบายๆ ทำให้เหมาะสมในตลาดส่วนล่างของพีระมิด ที่นี่คล้ายการพิจารณากุญแจสำหรับการได้รับรูปแบบหลักเกณฑ์                4.ตลาดที่พัฒนา เป็นตัวอย่างความสิ้นเปลือง สำหรับทรัพยากร  ถ้าผู้บริโภค ตลาดส่วนล่าง ที่เริ่มต้นการใช้ บรรจุภัณฑ์  มากขึ้นต่อกลุ่ม เท่าเทียมกับสหรัฐอเมริกา ทางการพิมพ์ หรือ ผู้บริโภคญี่ปุ่น โลกไม่สามารถทนรับระดับนวัตกรรมนั้น ที่ใช้นวัตกรรมทั้งหมด จุดรวมของทรัพยากร การกำจัด ลด และ การนำมาใช้ใหม่ การลดลงของทรัพยากรอย่างรวดเร็ว คือ หลักการวิกฤตใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์  เช่น ผงซักฟอก หรือไอศกรีม                5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้องเริ่มต้นจาก  การเข้าใจที่ลึกซึ่งของ เจ้าของบริษัท หรือ เจ้าหน้าที่ ไม่ใช่แค่ รูปแบบ จุดคุ้มทุนที่เปลี่ยนแปลง สู่ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาสำหรับลูกค้าที่ร่ำรวย ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น พื้นฐานผู้บริโภค ของตลาดล่าง โครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์การต้องมีชีวิต และเรียกร้องในการทำงาน การคิดถึง เรื่องเสื้อผ้าใหม่ แตกต่างจาก การซักล้างเสื้อผ้า ในเงื่อนไขที่ถูกควบคุม ของเครื่องจักรที่ล้าง ซึ่งปรับตัวเองถึงระดับของความสกปรก และสำหรับกลุ่มของผ้าสี และ เสื้อผ้าสีขาว                6. นวัตกรรม แก้วิกฤตเหมือน ตลาดล่างเป็นนวัตกรรม ในการพัฒนาตลาด ระบบการขนส่ง กำลังเสริม ในทางทหารสำหรับการเข้าถึงผู้บริโภค เป็นได้ การขายเพื่อพวกเขา และ การบริการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีการพัฒนาที่ดี ในด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์การ สามารถเชื่อถือได้ และมีส่วนเป็นรองในการแลกเปลี่ยนอาจจะต้องทำเฉพาะ ตลาดล่างของผลิตภัณฑ์ ที่เจาะจงของตลาด การปรากฏตัวของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์การ การขนส่งกำลังในทางทหาร ไม่สามารถ รวบรวมอำนาจ นวัตกรรมต้องมีจุดรวม โครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์การการขนส่งกำลังเสริมในทางทหารเท่านั้น รวมถึงการกระทำซึ่งไวต่อความรู้สึก เพื่อเป็นเงื่อนไขของผู้บริโภค เหตุผลที่ได้ชัยชนะ และการจัดการศึกษา พวกเขายังสามารถสร้างอำนาจที่แข็งแกร่ง                7. โต๊ะงานของการตลาดส่วนล่าง ระมัดระวัง มากคือ ความยากจน ในการออกแบบ  ของผลิตภัณฑ์ และ การบริการ ต้องพิจารณาระดับความชำนาญ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์การที่ยากจน และความลำบากของการเข้าถึงสำหรับการบริการในพื้นที่ระยะไกล                8. การศึกษาของลูกค้า บนการใช้ผลิตภัณฑ์ คือกุญแจไข นวัตกรรม อยู่ในการจัดการศึกษา กลุ่มวิจัย สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถท้าทาย ส่งเสริมให้น่าสนใจ ส่วนมากใน ตลาดล่าง ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ สื่อมืด หมายความว่า ที่พวกเขาไม่ได้เข้าถึงวิทยุ หรือ ทีวี เป็นกลยุทธ์ดั้งเดิมเพื่อการโฆษณา การศึกษาดั้งเดิม และกลยุทธ์มีความคิดสร้างสรรค์เดิม เช่น การนำวีดีโอขึ้นรถบรรทุก  และการผลิตที่มีราคาต่ำของผลิตภัณฑ์ เพื่อแสดงในหมู่บ้าน นี่คือสิ่งที่ต้องถูกพัฒนา               ทั้งนี้ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ The  Fortune  at The Bottom of The Pyramid  ของ C.K. Prahalao นักศึกษา ร.ป.ด.รุ่น 3  ม.อุบลฯ  //นายวรวุฒิ   อินทนนท์//นางสาวอภิกนิษฐา   นาเลาห์ //นางสาวละมัย   ร่มเย็น//นางสาวดวงเนตร   สำราญวงศ์ 
วรวุฒิ อินทนนท์ / อภิกนิษฐา นาเลาห์ / ละมัย ร่มเย็น / ดวงเนตร สำราญวงศ์
Chapter 3 BOP : A  Global  Opportunity               จากบทความตามบทที่ 3 นี้สรุปได้ว่า  ตลาด BOP  markets ได้ดึงดูดบริษัทมากมาย(รวมถึง MNCs ) เพื่อเปลี่ยนระบบภายใน และกระบวนการ การพัฒนาจะได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตของธุรกิจนั้น  และเกี่ยวข้องกับสังคม และ NGOs  และองค์กรชมรมต่างๆในสิทธิขั้นพื้นฐาน  ดังนี้                1.   สร้างความสามัคคี โอกาศต่างๆ  การลงทุนเวลา และพลังงาน และจัด BOP  narkets มากมาย ให้ดึงดูดใจอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว                        2.   นวัตกรรม(Innovations)จำนวนมากมายสามารถนำมาใช้ใน  BOP  markers เป็นการสร้างโอกาสทั่วโลกของนวัตกรรม                        3.  นวัตกรรม(Innovations)จำนวนหนึ่งจากผู้ค้นพบ BOP  markersจะค้นพบโปรแกรมในการพัฒนาผู้ค้นพบนั้น                4   บทเรียนจากผู้ทำ BOP  markersในทางปฏิบัติการจัดการกับอิทธิพลของบริษัททั่วโลก  คุณประโยชน์ของการปฏิบัติที่ BOP  ได้ดำเนินการ                มี BOP  markets จำนวนหนึ่งในจำนวนมาก  พื้นฐานประชากรเป็นตัววัดตัวหนึ่งของขนาดโอกาส  BOP  markets  เช่น  จีน ประเทศอินเดีย   ประเทศอินโดนีเซีย Brazil   เม็กซิโก  รัสเซีย   แอฟริกาทิศใต้  และประเทศไนจีเรีย มีความเป็นไปได้ที่ BOP  markets เกิดขึ้นมายมาก  ถ้าอุตสาหกรรม หรือบริษัทค้นพบ  "จุดสำคัญ"  ที่ส่งผลให้ธุรกิจที่เหมาะสมที่จำลอง และการรวมเข้าด้วยกันที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ และการบริการตลาดเหล่านี้สามารถมีการเจริญเติบโตอย่างมาก                คิดว่าโอกาสการเจริญเติบโตในจีน วันนี้จีนคือผู้ผลิตเหล็ก ที่สำคัญที่สุดของโลก การเจริญเติบโตของเครื่องมือ  การสร้าง และตลาด  ได้สร้างความต้องการ สำหรับเหล็กของจีนถูกคะเนที่ 220 ล้านตันเปรียบเทียบโดย 110 ล้านตันในญี่ปุ่น และ 90 ล้านตันในสหรัฐ  จีนได้ติดตั้งพื้นฐานของ 250 ล้านลอยเหนือโทรศัพท์เซลล์อีกด้วย นั่นคือมากมายกว่ากว่าติดตั้งพื้นฐานของสหรัฐ จีนมีตลาดมากที่สุดสำหรับโทรทัศน์  การเจริญเติบโตในจีนมีมาก  เช่นเดียวกับ ประเทศอินเดียอยู่ที่ขั้นล่าสุด ในการเจริญเติบโตในความหลากหลายของธุรกิจ                 BOP  markets สามารถพับตารางเวลาที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์   เทคโนโลยี  และความคิดที่จะกระจายในระบบ   เป็นส่วนสนับสนุนอย่งมากของการเปลี่ยนแปลง และไม่มีกฎการเจริญเติบโตในตลาด รวมถึงเส้นรอบวงของ BOP  markets มีสิ่งเชื่อมต่ออยู่ทุกหนทุกแห่ง                ในกระบวนการ ธนาคาร Grameen ที่ถูกเล็งทั้งหมด ลูกค้า BOP เฉลี่ยให้ยืมมีขนาดเพิ่มขึ้น นั่นคือตัวแปรของ Grameen ความคิดเห็นรอบๆโลก รวมถึงในสหรัฐ ปฏิวัติ microfinance มีการปรึกษากันทั่วโลก  ความสำเร็จของฟุต Jaipur คือการส่งออกให้ความหลากหลายของประเทศ กับ ความต้องการอันดับแรกรวมทั้งสิ้น คือ ลูกค้า BOP  markets มีใน 19 ประเทศ                วิธีทำเราเชื่อมต่อพื้นที่ระยะไกลให้ระบบการควบคุมเวลาเพื่อแผ่ขยาย  ติดตามการใช้อุปกรณ์ที่มีให้บนตำแหน่งของโทรศัพท์ ซึ่งระบบจำเป็นต้องมีอุปกรณ์การติดต่อระยะไกลจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับจุดศูนย์กลางเพื่อผู้วางแผน และ นโยบายการตลาด(policymakers)เช่น ระบบ  พัฒนาจากแบบดั้งเดิม  Peru  กำลังค้นพบความสำเร็จในสหรัฐ ระบบ  สร้างโดยแบบดั้งเดิมโดย  Voxiva  คืออาศัยสามหลักฐาน                1.   ระบบ  แข็งแรง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์นั่นคือโทรศัพท์ หรือโทรศัพท์ไร้สาย  หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนมากเป็นโทรศัพท์ใช้อย่างกว้างขวางเป็นอุปกรณ์สำหรับการคมนาคม                2.   ประชากรที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถอ่าน หรือสามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ปานกลางระบบจะพิจารณา โอกาสและประสบการณ์ต่างกัน  คุณภาพของการพิจารณาจำเป็นต้องระดับโลก                3.   ระบบจำเป็นต้องเชื่อถือได้                 การปรับตัวในความต้องการ BOP  markets ได้รับการเอาใจใส่อย่างมีจิตสำนึก  BOP สำหรับการคำนวณทั่วโลกนั้น  มีประสิทธิภาพมากเช่นเดียวกับประเทศจีน   Taiwan  ประเทศไทย Philippines  และประเทศ  มีสิ่งที่สัมพันธ์แตกต่างสำหรับ  สเกล  เวลาของการลงทุน ความเข้มข้นของการลงทุน  และโดยรับการอนุญาตจากตลาด และการพัฒนาอย่างมาก  ราคาจำเป็นต้องถูกนำมาพิจารณาในการเจริญเติบโตเชื้อเพลิงของตลาด  ธนาคาร ICICI   จัดการ  ด้วย 16  ผู้จัดการ  กระเป๋าเอกสาร 200,000  ของลูกค้า BOP  markets มีเครือข่ายทั้งหมดของการจัดการประกอบด้วยลำดับชั้น  มี 16 ผู้จัดการ(ลูกจ้าง) จากด้าน ICICI  ผู้จัดการโครงงานแต่ละอันคุมงาน เขารู้เขาสามารถบริหารบริษัทได้  ถึงแม้ว่าทรัพยากรถูกจำกัดกับ ธนาคารไม่สามารถทำการตัดสินใจข้างเดียว ต้องมีความสมดุลของอำนาจ                การเรียนรู้ของความสัมพันธ์ MNCs ของการทำงาน BOP  markets  เรียนรู้เพื่ออยู่ กับความหลากหลายอย่างกว้างของความสัมพันธ์  กับสถาบันจำนวนมาก เป็นต้นว่า ในกรณีที่เรียนรู้มาก ที่เรื่องสาธารณะ นโยบายการตลาด(policymakers)  และเรื่องสุขภาพ NGOs เล็งภายในชมรม  และในกรณีเกิดความขัดแย้ง   ในทางปฏิบัติด้านอุตสาหกรรม HLL จะต้องเรียนรู้เพื่อสู้ กับระเบียบวาระการประชุมของที่ต่างๆ  รวมถึง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในโหมดเกี่ยวกับการร่วมมือ กับรัฐบาลสถานะ และNGOs  กับธนาคารโลก  สิ่งซึ่งต้องการที่จะใช้โปรแกรมเงินทุนบางส่วนของการศึกษา และการแจก ต้องมีการประเมินค่าของผลลัพธ์  บริษัทจะต้องเรียนรู้เพื่อสู้ด้วยการมีสิทธิก่อน  สเกลเวลา  วงจรการตัดสินใจ  และเทคนิคภาพเหมือนจริงที่สาเหตุมาจากปัญหา  ธรรมชาติ และประสิทธิภาพของการแก้ปัญหา ปฏิกิริยาของกลุ่มต่างๆ  มีความหลากหลายจากการเปิดความเป็นปรปักษ์กับ MNC ถึงความร่วมมือ   MNCs เรียนรู้วิธีเปลี่ยนรูปทางความคิดของฐานะประชากรที่ดี และสิ่งที่เป็นภาระหน้าที่เกี่ยวกับสังคมเข้าไปในธุรกิจแกนของค่าที่ส่งให้บนพื้นฐานธุรกิจวันแล้ววันเล่า  องค์กรเซคเตอร์เกี่ยวกับสังคมเรียนรู้วิธีสเกล  เกี่ยวกับขอบเขตกิจการที่เกี่ยวกับสังคม  เข้าไปในธุรกิจทารกจำลอง  ที่ใช้สำหรับตลาด BOP  markets แสดง 80 เปอร์เซ็นของมนุษย์  ตามความเหมาะสมที่หวังว่าคนจำนวน  4  พันล้านคนแสวงหาการปรับปรุงคุณภาพชีวิต  จะสร้างสิ่งหนึ่งของตลาดการเจริญเติบโตที่สั่นสะเทือนที่เราจะได้เลยเห็น  เซคเตอร์ส่วนตัวเกี่ยวข้องกับการพัฒนา  สามารถชนะผู้บริโภค BOP  markets ทั้งสอง และเซคเตอร์ส่วนตัว เราทั้งหมดสามารถเรียนรู้ การไหลเวียนของแนวความคิด  ความรู้   และสิ่งใหม่คือถนนสองทางจาก  ประเทศพัฒนาที่พัฒนารวมทั้งกลับหลัง MNCs สามารถช่วยตลาด BOP  markets ที่จะพัฒนา เขายังสามารถเรียนรู้จาก BOP  markets ในบทที่ถัดไป  เรากล่าวถึงวิธีของบริษัทมากมายสามารถสร้างส่วนของเส้นรอบวงของระบบเศรษฐกิจ  และกฎหมายเป็นบริษัทเกี่ยวกับ ระบบเศรษฐกิจ คือ  สิ่งที่จำเป็นสำหรับตลาดที่พัฒนา BOP  markets                                       ทั้งนี้ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ The  Fortune  at The Bottom of The Pyramid  ของ C.K. Prahalao              กลุ่ม... สกล-นครพนม-ราชสีมา...//นายวรวุฒิ   อินทนนท์ // นางสาวอภิกนิษฐา   นาเลาห์ //  นางสาวละมัย   ร่มเย็น //    นางสาวดวงเนตร   สำราญวงศ์   //      นักศึกษา ร.ป.ด.รุ่น 3 ม.อุบลฯ
พระณรงค์ คำซาว และนายจิรชัย พรหมพล
จากเนื้อหาของบทที่ 6 การพัฒนาและปฏิรูปสังคม สามารถสรุปได้ดังนี้                เราได้ดูตลาดการเจริญเติบโตและผลกำไรของราษฎรระดับรากหญ้าของพีระมิด. พวกเราเข้าใจว่าการช่วยเหลือ BOP ทางการตลาด  สามารถทำให้ความจนลดลงได้ด้วย  โดยเฉพาะ ถ้า NGOs และกลุ่มชมรมสามารถเข้าร่วม กับ MNCs (บรรษัทข้ามชาติ) และบริษัทท้องถิ่นเป็นผู้ร่วมธุรกิจ  การพัฒนาของตลาด และธุรกิจได้ผล  ที่สามารถเปลี่ยนรูปงานการบรรเทาความยากจนจากการแข่งขันที่ไม่เปลี่ยนแปลง กับการสงเคราะห์ทางการเงิน และผู้อุปถัมภ์หรือนายทุน และการเติบโตของทรัพย์สิน  ความยากจนหรือความน่าสงสารของราษฎรซึ่งอยู่ในแบบฐานพีระมิดได้ถูกกระทำเช่นผู้บริโภค  พวกเขาสามารถเลือกรับผลประโยชน์ของความสัมพันธ์ และการมีความซื่อสัตย์ในตนเอง และการมีโอกาสได้หลุดพ้นจากความยากจน  ขณะที่กิจการขนาดเล็กและใหญ่ที่ไม่เป็นทางการของพวกเขา  กลายเป็นผู้ร่วมของ MNCs (บรรษัทข้ามชาติ) ผู้อุปถัมภ์หรือนายทุนที่พัฒนาทางเข้าสู่ตลาดทั่วโลก และเมืองหลวง  ได้เข้าสู่ตลาดใหม่มากมาย  การพัฒนากิจการด้วยวิธีใหม่ ๆ (นวัตกรรม) สามารถให้ผลกำไรทั้ง  BOP  และตลาดที่สมบูรณ์แล้ว  รัฐบาลแห่งชาติ และรัฐบาลท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้  พวกเขาต้องสร้างเงื่อนไขที่เป็นไปได้ในการทำงานส่วนตัว  รวมถึงในส่วนของการสร้างโอกาสทางการตลาดของ BOP นี้  ดังนั้น  TGC  คือสิ่งที่จำเป็น  รัฐบาลมีเครื่องมือใหม่ที่จะสร้าง TGC  ในระยะเวลาสั้น  ที่มากกว่าเทคโนโลยีใหม่ และวิธีใหม่เพื่อไปถึง BOP เช่นเดียวกันกับ SHGs  และการกระจายโดยตรงที่สร้างนายทุนหลายล้านคน  สามารถสร้างความสัมพันธ์เพื่อตัวกฎหมายและข้อตกลงทางการค้าในระหว่างผู้บริโภค BPO ตัวอย่างเช่น พวกเขาได้รับความเชื่อถือจากแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ และนายทุนในระดับท้องถิ่น  การมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาความจนตลอดปี  รวมทั้งผลกำไรทางธุรกิจที่ BOP สามารถหาได้ ซึ่งพวกเรามีตัวอย่างประกอบ อย่างไรก็ตาม  การเปลี่ยนแปลงความยากจนสู่ตลาดต้องการวิธีการใหม่ ๆ  หลักการสำหรับสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากการต้องการมากกว่าวิธีการดั้งเดิม  บทเรียนรู้ของ BOP สามารถเปลี่ยนรูปการทำงานของ MNC ในการพัฒนาประเทศดีกว่า  และ  BOP  สามารถเป็นเครื่องจักรสำหรับการหมุนเวียนของการขยายทางการค้าและกำไร  ถ้าเราทำตามวิธีนี้   จะทำให้การดำรงชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป                 การพัฒนาเป็นการปฏิรูปสังคม   มีความคิดที่จะเปลี่ยนอยู่ 3 อย่าง อย่างแรก เราได้แสดงว่า BOP - ความขัดสน - สามารถเป็นตลาดได้  สองครั้งหนึ่งเรายอมรับ BOP เช่นเดียวกับตลาดเพียงอย่างเดียวที่จะรับว่าตลาดมีการเปลี่ยนแปลง  BOP  ต้องการขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงในตัวผลิตภัณฑ์และการบริการแบบอย่างทางธุรกิจ และกระบวนการการจัดการ สาม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องประกอบกับการเพิ่ม TGC รัฐบาลต้องทำการรายงานถึงจำนวนประชากรและเข้าถึงได้ง่ายและความโปร่งใส ระบบนิเวศสามารถทำให้ง่ายขึ้นด้วยกระบวนการที่ตรงไปตรงมา การเข้าถึงและความสัมพันธ์ของข้อตกลงทางการตลาดเป็นหนทางของชีวิต                  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีผลต่อชีวิตของ BOP  อย่างไร  ดังที่ผู้บริโภค BOP  ได้มีโอกาสเข้าร่วมและได้รับผลประโยชน์จากการเลือกผลิตภัณฑ์และการบริการสามารถเข้าถึงกลไกของตลาด การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐศาสตร์สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว  เหตุผลสำหรับสิ่งนี้คือ ผู้บริโภค BOP  แบบหนึ่งเกี่ยวกับธุรกิจมาก และสามารถจินตนาการได้ง่าย ซึ่งสามารถใช้ได้และเร็วโดยค้นพบทางข้อมูลข่าวสาร  ตัวเลือกโครงสร้างพื้นฐาน ให้เราดูบางตัวอย่าง ITC  หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ  โครงสร้างพื้นฐานซึ่งถูกสร้างสำหรับชาวนาให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับราคาเท่ากับข้อมูลความสัมพันธ์ทางการเกษตร  ชาวนาใช้เวลาน้อยกว่า 3 เดือน ที่จะเข้าใจความมีประสิทธิภาพของอินเตอร์เน็ท และพวกเขาเริ่มใช้ระบบนี้  พวกเขาพบว่าพวกเขาสามารถติดต่อกับกลุ่มอื่นและพูดคุยถึงขอบเขตของการแจกจ่ายหรืออื่น ๆอีก ไม่ใช่แต่การเกษตรและราคา  พวกเขาพบว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความบันเทิงได้ เช่น ฉายภาพยนตร์ ฟังเพลง  อุปสรรคของการคมนาคมซึ่งเกือบจะล้มเหลว                ICT  ต้องทำงานหนักเพื่อสร้างส่วนจุดเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับชาวนาเจ้าของภาษาท้องถิ่น, คือภาษาฮินดู  มันยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าซอฟแวร์จะพิมพ์ตัวอักษรภาษาฮินดูได้ โดยดูการใช้แป้นคีย์บอร์ดอังกฤษมาตรฐาน ภาษาที่ใช้กันมากสำหรับการเขียนจดหมายอิเลคโทรนิค และการคมนาคมอิเล็กโทรนิคอื่นๆ,  อย่างไรก็ตาม,  คือการพิมพ์ภาษาฮินดูกับตัวอักษรอังกฤษ เหตุผลสำหรับสิ่งนี้เพื่อว่ากำลังผสมเสียงสระ และเสียงพยัญชนะที่จะสร้างจดหมายภาษาฮินดูคือสิ่งที่ยุ่งยากมากบนคีย์บอร์ด  เขาสามารถที่จะเคลื่อนย้ายอย่างเร็วในสิ่งก่อสร้างทั้งความสามารถที่จะติดต่อ กับภายนอกโลก และความสามารถที่เขาเองเข้าใจได้ดี  คุณสมบัติในการสร้างสรรค์ในการสร้างแบบแผนการคมนาคมที่สร้างสามารถแสดงให้เห็นได้เหล่านี้คือสิ่งก่อสร้างเดียวกันนั่นคือกำลังนำพาผู้บริโภคมากกว่าการใช้ทฤษฎีที่อาศัยหลักความเป็นจริงที่พัฒนาการตลาด.ยกระดับผู้บริโภค BOP                สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของประชาชนผู้บริโภค BOP มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากสภาวะที่เคยเป็นของเขา และบริษัทใหญ่ปรับปรุงมากมายเพื่อจะขึ้นไปยังบนสุดพีระมิด  การยกระดับจากสถานะปัจจุบันของเขาทั้งหลายทางธุรกิจ เป็นต้นว่าเมื่อNirma, เริ่มต้นแนะนำผงซักฟอกในประเทศอินเดียการก่อตั้งบริษัทขึ้นในธุรกิจนั้น การเปลี่ยนใหม่ผู้บริโภค BOP จากคุณภาพของความจนสบู่,ที่ทำเฉพาะในท้องถิ่น  ข่าวสารคือสิ่งที่ง่ายๆ สำหรับผู้บริโภค ,  การได้เข้าสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งที่ดี กับความต้องการของเขาทั้งหลาย  ในความสามารถพวกเขาที่จะใช้ขั้นตอนใหญ่โตในปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาการได้รับความรู้                เราได้ตรวจดูความเรียบร้อยของผลประโยชน์ และความโปร่งใส และสิ่งเป็นผลกระทบที่ไม่สมดุลของข้อมูลนั่นเคยเป็น( และยังเป็น) มาตรฐานทั้งหมดของตลาด BOP  อย่างไรก็ตามครั้งหนึ่งผู้บริโภค BOP ได้รับรู้ข้อมูลในทางเทคโนโลยีดิจิตอล,  แบบแผนของการเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้ เป็นต้นว่าใน EID Parry Agriline ใช้ตัวอย่างในหนังสือชาวนามีความเกี่ยวพันเกี่ยวข้องคุณภาพของพืชโดยเฉพาะผลไม้  พวกเขาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของพวกเขา และกล้องถ่ายรูปที่จะส่งรูปภาพของใบไม้ที่ได้รับ ผลกระทบให้ศูนย์กลางปฐพีศาสตร์ที่อยู่ห่างออกไป 600 ไมล์ให้ตรวจสอบ   เขาได้รับคำแนะนำจากนักปฐพีวิทยา ที่อยู่ระยะไกล  ปัญหาของพวกเขาต้องได้รับการแก้ไขแน่นอน  ตัวอย่างหนึ่งแม้การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า, ได้นำการดูแลทางสายตาระดับโลกไปสู่ชาวชนบทในประเทศอินเดีย มันมีเหมาะกับส่วนหน้ากับอุปกรณ์วัดสายตาที่สิ่งนั่นได้รับการเชื่อมต่อผ่านทางดาวเทียมติดต่อ ถึงโรงพยาบาล  แพทย์อาวุโสสามารถแนะนำกรณีที่ซับซ้อนในการประชุมผ่านทางวีดีโอที่เชื่อมต่อกัน และกล่าวถึง คนไข้กับปัญหาของคนไข้   เขายังสามารถวินิจฉัยโรคโดยอาศัยรูปภาพที่แสดงบนจอภาพ เขาสามารถแนะนำวิธีการของการกระทำได้ นี่คือความไม่น่าเชื่อสู่เทคโนโลยีชั้นสูงในการแก้ปัญหากำลังเปลี่ยนไปในทางที่เราคิดเกี่ยวกับผู้บริโภค BOP  การเพิ่มขึ้นไวต่อสิ่งที่เป็นไปได้,  เขายังกำลังต้องการเทคโนโลยีชั้นสูงในการแก้ปัญหาของเขาทั้งหลายเอกลักษณ์สำหรับแต่ละบุคคล                สิ่งหนึ่งของปัญหาธรรมดาสำหรับ BOP มันคือว่าเขาไม่มี"เอกลักษณ์." และไม่มี "เอกลักษณ์ที่ถูกกฎหมาย,"รวมถึงการลงทะเบียนผู้ลงคะแนนเสียงใบอนุญาตขับรถ, หรือสูติบัตร เครื่องมือของเอกลักษณ์ที่ถูกกฎหมาย ที่เราใช้สำหรับการอนุญาต?  มันเป็นหนังสือหนังสือเดินทาง  ผู้บริโภค BOP ไม่สามารถเข้าถึงการบริการที่เราได้รับอนุญาตได้,  เช่นเดียวกับเครดิต  เอกสาร Hernando de Soto มีปัญหาของไม่ถูกต้องตามเอกลักษณ์ที่ถูกกฎหมาย BOP  สถานะของ" การใม่ใช่บุคคล "ในทางที่ถูกกฎหมายสามารถกำหนดขอบเขตคนในวัฏจักรความยากจนได้ผู้หญิงคือวิกฤตสำหรับการพัฒนา                ผู้หญิงคือจุดศูนย์กลางของกระบวนการพัฒนาทั้งหมดพวกเขาเป็นแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพเกี่ยวกับสังคมอีกด้วย  เป็นต้นว่า,  ความสำเร็จของธนาคาร Grameen คือให้ผู้หญิงยืมได้เท่านั้น  ผู้บริหารกิจการสามารถที่จะใช้สถาบันการเงินขนาดเล็ก (microfinance)  มาจากความสามารถของพวกผู้หญิง  โทรศัพท์ Grameen "ผู้หญิง"คือผู้บริหารกิจการ   มี หลักฐานที่เด่นชัดของบทบาทของผู้หญิงในสร้างสังคมใหม่ที่ BOP ที่ธนาคาร ICICI เป็นผู้หญิงทั้งหมด,   ผู้หญิงเหล่านี้คือผู้บริหารกิจการมีหน้าที่รับผิดชอบ โลกได้อาศัยบทบาทของผู้บริหารกิจการโดยผู้หญิงอีกด้วย ความเจริญในตรวจสอบและความสมดุล                เราต้องทำการตรวจสอบและความสมดุล   เราต้องการที่แน่ใจว่าสิ่งนั่นไม่มีองค์กรที่ใช้อำนาจและอิทธิพลในทางผิด   รัฐบาลและบริษัทใหญ่ ๆ หลายบริษัททำการทุจริต โชคดีการตรวจสอบและความสมดุลกำลังค่อยๆปรากฎขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการแผ่ขยายของการติดต่อโดยไร้สายและ TV  วิวัฒนาการของผู้บริโภค BOP ต้องการการป้องกันอย่างจริงจรังมากที่สุด  เขาทั้งหลายสามารถที่จะปรับตัว และความสามารถกลับสู่สภาพเดิมของเขาทั้งหลายได้  พวกเขาทั้งหลายได้ปฏิบัติตามข้อต่อไปนี้                1. เขาปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่โดยปราศจากความลำบากใดๆ และเต็มใจทดลอง และค้นพบสิ่งใหม่ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน"(โดยบริษัท) ประโยชน์สำหรับเทคโนโลยี ไม่มีใครคิดว่าว่าชาวนาจากตอนกลางของประเทศอินเดียจะตรวจ price5 ที่บอร์ดเมืองชิคาโกของค้าขาย                2. เทคโนโลยี  ถึงการคมนาคม ให้ว่าผู้บริโภค BPO  สามารถสร้างคุณประโยชน์ ของการสนทนา, การได้เข้าไปได้รับประโยชน์ในการวิเคราะห์ และความโปร่งใส และการหาทางเลือกโอกาสของการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมกำลังจะถูกปรับปรุง                3.  ผู้บริโภค BOP  ในปัจจุบันมีโอกาสที่จะแยกระดับและทำให้ชีวิตของเขาทั้งหลายดีขึ้น                4.  ต้องได้รับเอกลักษณ์ที่ถูกกฎหมาย, เขาสามารถมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในสังคม และได้รับผลประโยชน์ของโอกาสที่มีให้  เขาจะต้องไม่พักอยู่อย่างไม่มีขอบเขต                5. ในตอนท้าย,  ปลดเปลื้องผู้หญิงคือส่วนสำคัญของการสร้างตลาดที่  BOP  ให้อำนาจ, จัดระเบียบ, เครือข่าย,  และผู้หญิงทำงานกำลังเปลี่ยนเป็นโครงสร้างในทางสังคม ใช้ด้วยกัน, การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำไปสู่สิ่งที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสังคมและการเปลี่ยนสภาพการทดสอบจริง: 
จากพีระมิดถึงเพชร
                พีระมิดจะต้องกลายเป็นเพชร   พีระมิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์คือมาตรการที่ใช้วัดของความไม่เท่ากันของรายได้    ดังนั้นพีระมิดต้องมีสัณฐานกลายเป็นเพชร   เพชรถูกสันนิษฐานว่าเป็นส่วนของประชากรในระดับกลาง   การเปลี่ยนสภาพเกี่ยวกับสังคมคือตัวเลขเกี่ยวกับผู้คนจำนวนมากมายผู้ที่เชื่อว่าเขาสามารถมีความสามารถขึ้นไปสู่การดำเนินชีวิตในระดับกลางได้  มันคือหลักฐานการเจริญเติบโตทางโอกาส เป้าหมายของเราจะเปลี่ยนพีระมิดกลายเป็นเพชรอย่างรวดเร็ว  การเปลี่ยนสภาพนี้กำลังเกิดขึ้นเร็ว,   ความน่าสนใจของการศึกษานี้โดยสภาการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์แห่งชาติ( NCAER )  ในประเทศอินเดียแนะนำว่าอาจจะมี จุดอ่อนแต่ไม่ชัดเจนเป็นสัญญาณว่าการเปลี่ยนแปลงนี้กำลังปรากฏออกมา  ระหว่าง ๑๐ปีที่แล้ว,  ประเทศอินเดียได้ทำให้อิสระในเศรษฐกิจของตนเอง,  การสนับสนุนการพัฒนาส่วนของตนเอง,  และได้รับอนุญาตแต่ละรัฐในการทดลอง  ดังนั้น,  หนึ่งวิธีที่มั่นคงในการพัฒนาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์,  มี แบบตัวอย่างหลายแบบในการพัฒนาความเป็นอยู่ให้สำเร็จ  แบบแผนกำลังเปลี่ยนอย่างน่าสังเกต  การวางโครงการของการกระจายรายได้จาก NCAER  แบบแผนนี้ซ้ำด้วยตัวเองทั้งในเมืองและชนบท  และสิ่งนี้มีหลายสิ่งที่เกี่ยวข้อง  เช่น                ครั้งแรก,เราสามารถวัดค่าแบบแผนของการกระจายรายได้นอกเวลา และสามารถพัฒนาทั้งความสัมพันธ์และการวัดความเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์                 สอง,  ธรรมชาติที่กำลังเปลี่ยนของการกระจายรายได้สร้างวัฏจักรที่หลากหลาย  ความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์และการบริการทำให้เพิ่มกิจกรรมภายในประเทศด้านเศรษฐศาสตร์การสร้างงานอย่างมากกว่า และทรัพย์สิน  แบบแผนที่เปลี่ยนของการบริโภคแบบยั่งยืนทั้งในตลาดชนบทและในเมืองในประเทศอินเดีย ที่เป็นหลักฐานแน่นอน                 สาม  เพราะรูปสัณฐาณจากพีระมิดกลายเป็นเพชรความแตกต่างระหว่างผู้บริโภค BOP และบนสุดของผู้บริโภคพีระมิดหายไป  มีเพียงกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มหนึ่ง แบบแผนของการเปลี่ยนแปลงในการแจกรายได้ที่เห็นได้ในประเทศอินเดียเป็นสัญญาณล่าสุดของสิ่งที่เป็นไปได้แบบแผนที่เปลี่ยนของการกระจายรายได้, เพิ่มความมั่นใจให้กับ BOP  และความสามารถของเขาทั้งหลายกลายเป็นผู้มีความกระตือรือล้นในเปลี่ยนชีวิตด้วยตัวของเขาทั้งหลายเอง ผ่านไปถึงผู้บริหารกิจการ  เพื่อนำทรัพยากรและความสามารถของส่วนที่เป็นส่วนตัวให้ในการติดตามผลของจุดมุ่งหมายนั้น ออกที่ดีที่สุดเป็นพันธมิตรในความยากจนที่ต้องต่อสู้คือความจนของตัวเอง  ความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิมของเขาทั้งหลาย และความอุตสาหะต้องการความกล้าหาญที่จะก้าวเข้าไปข้างหน้ากับผู้บริหารในการแก้ปัญหา การให้ตำแหน่งผู้นำและความรับผิดชอบจากความเป็นส่วนตัว และองค์กรสังคมเกี่ยวกับคดีแพ่ง, และต่อไปความยากจนจะหมดไปในปี 2020  เราก็สามารถสร้างมนุษยธรรม และเป็นสังคมได้ ***********สมาชิกกลุ่ม           1. พระณรงค์  คำซาว                                2. นายจิรชัย  พรหมพล                                รป.ด. รุ่น 3 ม.อุบลราชธานี 
สรุปสาระองค์ความรู้จากการเรียนรู้              จากการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้จากท่าน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ ที่ ม.อุบลฯ แม้จะเจอท่านเพียงแค่ 3 วัน แต่มีสิ่งที่เกิดเป็นองค์ความรู้ต่างๆมากมาย  ซึ่งพอจะสรุปได้  ดังนี้             โลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอยางทั้งการเมือง  สังคมเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี คนที่ มีวิสัยทัศนอมมีสมองที่สามารถคิดริเริ่มในสิ่งแปลกๆใหมๆ ทันเหตุการณและยึดแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษยตามหลักปรัชญาของทรัพยากรมนุษยที่วคน ถือเปนสินทรัพยที่สําคัญที่สุดขององคกร และมีทฤษฏีที่ กลาวถึง ดังนี้                ทฤษฏี 3 วงกลม  ของ ดร.จีระ ซึ่งเปนสูตรสําหรับรับการเปลี่ยนแปลง หรือ Changing Management   คือ                 วงกลมที่ 1 เรื่อง CONTEXT หรือบริบทพูดถึง เรื่อง IT ามี ความสําคัญ การบริหารทรัพยากรมนุษยองใชระบบสารสนเทศมากขึ้น และการจัดองคกรที่เหมาะสม เรียกวาเปนบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย                 วงกลมที่ 2 เรื่อง ภาวะผูนํา นวัตกรรม การบริหารเวลา ซึ่งเรียกวาเปนทฤษฏีเพิ่มศักยภาพของคน                   วงกลมที่ 3  เปนหลักที่ดี คนเราจะสําเร็จในงานไดองมองวางานทุกอยางเปนงานที่ท้าทาย ตองมีแรงบันดาลใจใหเกิดขึ้นจริง                    ทฤษฎี  3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน  จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ทฤษฏีที่ควรแก่การเรียนรู                 ทฤษฏี 4 L’s พารณ1. Village that Learn หมูบ้านแห่งการเรียนรู2. School that Learn โรงเรียนแห่งการเรียนรู3. Industry that Learn อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู4. Nation that Learn ชาติแห่งการเรียนรู                 ทฤษฏี 4 L’s จีระ1. Learning Methodolody เข้าใจวิธีการเรียนรู2. Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู3. Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู4. Learning Community สร้างชุมชนการเรียนรู                  ทฤษฏี 8 K’s ก็คือ Social Capital ซึ่งแปลว่า ทุนทางสังคม คือทุนที่มนุษยมีความสัมพันธกัน1. Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน2. Social Capital ทุนทางสังคม3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข5. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT6. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา7. Talented Capital ทุนทางความรูทักษะ และทัศนคติ8. Human Capital ทุนมนุษย                ทฤษฎี 2  R’s คือ                 1. Reality มองสภาพจากความเป็นจริง และสภาพพื้นฐานการศึกษาไทย
                 2. Relevance เจาะประเด็นที่จะแก้ให้ตรงกับความต้องการ และนำสิ่งที่เราพูดนำไปสู่ Execution ควรจะทำให้สำเร็จ
                ทฤษฎี 5 K ใหม่  คือ         1.    Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม2.       Creativity Capital    ทุนแห่งการสร้างสรรค์3.       Knowledge Capital     ทุนทางความรู้4.       Cultural  Capital     ทุนทางวัฒนธรรม                5.    Emotional Capital    ทุนทางอารมณ์                   คนที่สามารถพาองคกรใหประสบความสําเร็จ จะต้องทั้งเก่งทั้งดี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ประยุกต์คำสอนของศาสนามาใช้ คือต้นแบบ  เก่ง 4  ดี4”                     4 เก่  คือ  เก่งงาน/เก่งคน/เก่งคิด/เก่งเรียน                    4 ดี  คือ  ประพฤติดี/มีน้ำใจ/ใฝ่ความรู/คู่คุณธรรม                   รวมถึงมีการประเมินโดยจะเรียกว่าเป็CAPABILITY  สําหรับคนเก่ และAcceptability สําหรับคนดี   ต้องทําสามเรื่อง                  1. ต้องทําใหสําเร็จ                  2. ต้องมีบารมี                  3. ต้องยั่งยืน                 Global Citizen คุณสมบัติ 3 ประการ  สําหรับคนไทยกาวสูระดับโลก ไดแก                  1. ความคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ                  2. เทคโนโลยี                  3. คุณธรรม                     การทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมองภาพแบบ  Macro ให้ครอบคลุม มีมุมมองกว้าง มองถึงการพัฒนาต่อไปในอนาคต                       ทฤษฏี 8 H’s  โดยคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค เป็นทฤษฏีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย  พัฒนามาจากศัพทHead Hand Heart 3 ตัวนี้คือ การจะทําอะไรใหสําเร็จตองใชความคิด มือ และความตั้งใจ ได้พัฒนาใหเปนหลัก 8 H’s  ดังนี้1. Heritage รากฐานของชีวิต2. Head สมอง (คิดเป็น คิดดี)3. Hand มืออาชีพ4. Heart จิตใจที่ดี5. Health สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ6. Home บ้านและครอบครัว7. Happiness การดําเนินชีวิตอย่างมีความสุข8. Harmony ความปรองดองสมานฉันท                ทฤษฎี 6 Hats ของ Edward De Bono                             วิธีการคิดมี 6 วิธี  คือใช้หมวก 6 ใบ          (1) คิดได้ แต่ต้องมีข้อมูล (หมวกขาว)          (2) เป็นคนเก่งคิด คือ คิดเยอะ แต่คิดอย่างระวัง และอนุรักษ์นิยม (ดำ)          (3) คิดเร็ว และไปข้างหน้า  ชอบความเสี่ยง มองอะไรดีไปหมด (เหลือง)          (4) คิดสร้างสรรค์  Creative Thinking (เขียว)          (5) คิดตามอารมณ์และความรู้สึก (คนไทยมีเยอะ) (แดง)           (6)  Control of Thinking  มองทั้ง 5 หัวข้อ  และมาวิเคราะห์ดูว่าใช้ตัวไหนให้ถูกต้อง ไม่ให้ขัดแย้งกัน (ฟ้า)                 นอกจากนี้ยังมีเรื่อง INNOVATION  ซึ่งหมายถึงการคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ นำไปสู่การปฏิบัติ ที่สำฤทธิ์ผล เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนา เพื่อสร้างโอกาส เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งข้น คำว่า "นวัตกรรม" จึงหมายถึง "ใหม่" "มีคุณค่า" และมีมูลค่าเพิ่มจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้   HR & INNOVATION เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ (Talent people) คิดใหม่ ทำใหม่ ในสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ต่อมวลมนุษย์ การทำ INNOVATION ให้อยู่ในสายเลือดของทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งท้าทายของผู้นำทั้งปัจจุบันและอนาคต               การจะเกิด Innovation ได้ สิ่งต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้วยคือ ต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ต้องไม่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้กล้าคิดกล้าทำ       INNOVATION ต้องเกิดจากข้างล่างและมีคนข้างบนคอยสนับสนุนทำเป็นตัวอย่าง และต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานตามทฤษฎี 6 ก. กล่าวคือ   1.       กล้าคิด  คิดนอกกรอบ ข้ามศาสตร์ 2.       กล้าพูดกล้าทำมากขึ้นในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง 3.       กล้าเปิดใจ รับฟัง 4.       กล้าเสี่ยง กล้าริเริ่ม การทำผิดเป็นสิ่งที่ยอมรับ 5.       กล้าเรียนรู้ ที่ต้องมีคนกล้าเพราะมีคนกลัวอยู่ กลัวล้มเหลว กลัวนายว่า ฯลฯ 6.       กล้าทำ  ทำจริง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Leadership  [ภาวะผู้นำ]

ทักษะภาวะผู้นำ

-              การสื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร                  -              เป็นผู้ฝึก,พี่เลี้ยง,และพัฒนาผู้อื่น                        -              กระจายอำนาจและสร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่น                -              แก้ปัญหา                          -              ตัดสินใจ                             -              สร้างทีม                 -              บริหารความขัดแย้ง                    -              วางแผนและจัดระเบียบ                                     -              คิดแบบยุทธศาสตร์ 
กระบวนการภาวะผู้นำ-              เข้าใจ และ กำหนดจุดประสงค์/พันธกิจ                              -              อธิบายค่านิยมและอธิบายหลักการสำคัญให้เข้าใจ                     -              สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน                      -              พัฒนาเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ (ระยะยาว กลาง และสั้น)                           -              พัฒนาแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์                    -              นำแผนไปปฏิบัติ ติดตามและปรับปรุงกระบวนการWhere is Leadership in Organization management?   1. Organizations have to set a vision.2. Mission is defined.3. Strategies have to be identified to achieve goals of No. 1 and 2Vision - Mission - Strategy          Leadership Competency.                                                                                                                       Focuses on:·             People Skill ·             Vision ·             Trust  7 Competencies of Leadership       According to Mc Shane, these are necessary for a leader:        Drive           Leadership Motivation          Integrity         Self Confidence        Intelligence         Knowledge of Business           Emotional Intelligence          Leadership Behavior        People  VS.  TaskLeadership in Thailand:  Chira’s perspective        - In the future, there should be a research   about leadership about 4-5 aspects.  The business sector will be influenced by these issues.       - Issue male VS. female          - Issue leadership VS. Management       - Issue west VS. East              - Issue (Intergenerational leadership) เศรษฐกิจพอเพียง [Sufficiency Economy ]              เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง [Philosophy of the “Sufficiency Economy”]                                                    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง             การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ
                            ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง     มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้       •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะ•  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
        •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ        •  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล        •  เงื่อนไข   การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ              •  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ                •  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต          •  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ    จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี  
สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทางสายกลาง
พอประมาณ
                     มีเหตุผล                         มีภูมิคุ้มกันในตัวดี
 เงื่อนไขความรู้(รอบรู้/รอบคอบ/ระมัดระวัง)                        เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์/สุจริต/ขยัน/อดออม/สติปัญญา/แบ่งปัน)
                                                                   นำไปสู่ 
ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม
สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน

                                                 โดยสรุปจากที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีแนวคิดต่างๆที่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากท่าน  ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ นับว่าก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แนวคิดของกระผมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในเรื่องแนวคิดจากแต่เดิมที่คิดเฉพาะในหน่วยงาน เมื่อได้เรียนกับท่าน ดร.จีระ แล้วกรอบความคิดกว้างขึ้น คือเมื่อมีความรู้แล้วไม่ควรจะคิดเฉพาะประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเองเท่านั้นควรคิดทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สังคมทั้งในระดับชุมชน จังหวัด ประเทศ และระดับโลกด้วย (ถ้าหากมีโอกาส)    และกระผมได้คิดนำหลักทฤษฎี 4 L’s  ไปทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาตามแนวทฤษฏี  4 L’s  Chira : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม   โดยจะเป็นการนำเอาหลักทั้ง 4 หลักไปใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน คือ การเข้าใจวิธีการเรียน  การทำบรรยากาศให้น่าเรียนมีสื่อต่างๆที่น่าสนใจ   การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้   สร้างให้เป็นห้องแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป   และอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องที่น่าสนใจและสำคัญ คือ Leadership  หรือภาวะผู้นำของทรัพยากรมนุษย์  ผู้นำที่ดีควรเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์กว้าง มองภาพที่เป็น Macro คิดอะไรก็ต้องคิดให้ลึกตามที่เป็นจริงตามแนวทฤษฎี 2 R’s และมีคุณธรรม  เพื่อนำพาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้   โดยตำแหน่งหน้าที่ของกระผมในปัจจุบันที่มีโอกาสได้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารในระดับต้นซึ่งก็ได้เจออุปสรรคและการแก้ไขปัญหาพอสมควรแต่เมื่อได้ใช้หลักการความมีภาวะนำของท่านดร.จีระ  โดยเฉพาะตามทฤษฎี 3 วงกลม  วงกลมที่ 2 ที่ว่าด้วยเรื่องของภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา และการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างมองการณ์ไกล  กล้าคิดใหม่ ทำใหม่ กล้าเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ถูกต้อง  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงทุนของ บุคลากรที่มีอยู่เพื่อจะได้ส่งเสริมพัฒนาได้อย่างถูกทาง  โดยอาศัยหลักทฤษฎี 8 K’s  และ 5 K new  โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การพัฒนาบุคคลให้เป็นคนที่ฉลาด  สร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  ส่งเสริมให้มีความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน ในทุกภาคส่วนของสังคมและสภาพแวดล้อม  สอดคล้องร้อยเรียงกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งจะนำพาให้โลกอยู่อย่างสันติ มั่นคงและยั่งยืนสืบไป

………………………………..

นายวรวุฒิ   อินทนนท์นศ.ป.เอก /รป.ด.รุ่น 3 / ม.อุบลราชธานี

อภิกนิษฐา นาเลาห์ นักศึกษาป.เอก /รป.ด.รุ่น 3 / ม.อุบลราชธานี

สรุปองค์ความรู้จากการเรียนวิชานโยบายทรัพยากรมนุษย์  สอนโดย  ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์        

                ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์  ได้ให้โอกาสมาถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษา หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต  รุ่น  3  ม.อุบลราชธานี  ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบของการเรียนรู้  ทำให้ได้รับความรู้มากมาย  ในหลายมิติ  อันเป็นการพัฒนาและเกิดองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป  ซึ่งท่านได้กล่าวถึงการนำแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาใช้ในการพัฒนา  เพราะคนถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร  เช่น  ตัวอย่างคำพุดของ  คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  คนที่อยู่กับบริษัทมีคุณค่าเพิ่มขึ้นทุกปีองค์กรต้องมีการฝึกอบรมพัฒนาเพิ่มขึ้น  คนตรงข้ามกับสิ่งของคุณค่าลดลง  คนเป็นสมบัติอันมีค่าที่สุดขององค์กร  จากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์   (HR.CHAMPIONS)  การพัฒนาคนจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการพัฒนาทุกด้าน  เพราะคนสามารถทำการพัฒนาเรื่องอื่น ๆได้  ดังมีทฤษฏีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ ทฤษฏี 3 วงกลม  ของ ดร.จีระ ซึ่งเปนสูตรที่ใช้สําหรับรับการเปลี่ยนแปลง หรือ Changing Management   คือ    วงกลมที่ 1 เรื่อง CONTEXT หรือบริบทพูดถึง เรื่อง IT ามี ความสําคัญ การบริหารทรัพยากรมนุษยองใชระบบสารสนเทศมากขึ้น และการจัดองคกรที่เหมาะสม เรียกวาเปนบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย    วงกลมที่ 2 เรื่อง ภาวะผูนํา นวัตกรรม การบริหารเวลา ซึ่งเรียกวาเปนทฤษฏีเพิ่มศักยภาพของคน    วงกลมที่ 3  เปนหลักที่ดี คนเราจะสําเร็จในงานไดองมองวางานทุกอยางเปนงานที่ท้าทาย ตองมีแรงบันดาลใจที่จะทำใหเกิดขึ้นจริง    ทฤษฎี  3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์   สามารถระบุภารกิจที่ชัดเจน  จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทฤษฏีที่ควรแก่การเรียนรู                 ทฤษฏี 4 L’s
4 L’S  ของคุณพารณ 4 L’S ของศ.ดร. จีระ
Village  that learn : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ learning  Methodology: เข้าใจวิธีการเรียนรู้
School that learn : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ Learning Environment : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
Industry  that learn : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ Learning Oppo rtun ity : สร้างโอกาสในการเรียนรู้
Nation  that learn : ชาติแห่งการเรียนรู้ Learning Community : สร้างชุมชนการเรียนรู้
 ทฤษฏี 8 K’s ก็คือ Social Capital ซึ่งแปลว่า ทุนทางสังคม คือทุนที่มนุษยมีความสัมพันธกันอนาคต   

ทฤษฏี 8 H’s  โดยคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรคเป็นทฤษฏีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย  พัฒนามาจากศัพท Head Hand Heart 3 ตัวนี้คือ การจะทําอะไรใหสําเร็จตองใชความคิด มือ และความตั้งใจ

“8 H’s” โดยคุณหญิงทิพาวดี     เมฆสวรรค “8 K’s”  .ดร.จีระ หงสลดารมภ
1. Heritage รากฐานของชีวิตมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเปนรากฐานของชีวิตคน  1. Sustainable Capital ทุนแหงความยั่งยืนสรางคุณคาทางสังคม และเพิ่มมูลคาทางเศรษฐกิจในกระแสโลกาภิวัฒน
2. Head สมอง (คิดเปน คิดดี) การเปนผูนํานั้น สิ่งสําคัญคือ ตองรูมาก รูกวางและรูสึกกวาคนอื่น   2. Intellectual Capital ทุนทางปญญาในระดับนานาชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษยจะมุ     เนนไป 3 เรื่องใหญๆ ดวยกันคือ ความรูความชํานาญ ความสามารถ ”  ความรูและ ปญญา  คืออํานาจ
3. Hand มืออาชีพความเปน มืออาชีพ ในการทํางานทุกประเภทโดยเนนที่การลงมือทําดวยตนเอง 3. Talent Capital ทุนทางความรูทักษะและทัศนคติทุนที่สําคัญและขาดไมไดสําหรับทรัพยากรมนุษย
4. Heart จิตใจที่ดีตองเปนจิตใจที่ดี หรือ ทัศนคติในเชิงบวก  4. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรมพื้นฐานดี มีทุนทางความรูทุนทางปญญาดี แตาไมมีคุณธรรมก็ไมสามารถพัฒนาองคกรหรือประเทศไดเทาที่ควร
5. Health สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณทุกสิ่งทุกอยาง ถาเรามีความตั้งใจ มีความปรารถนาที่จะทําหลายๆอยางในชีวิต แตาหมดสิ้นลมหายใจหรือไมมีชีวิตเราจะทําอะไรได 5. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศผูมีความรูมีปญญา ยอมรูสถานการณโลก และใหความสนใจพัฒนาบุคลากรให้มีความรูความสามารถทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศ 
6. Home านและครอบครัวบานและการมีครอบครัวที่อบอุน เพราะเปนพื้นฐานที่สําคัญมากของทุกๆคน 6. Human Capital ทุนมนุษยทุนที่ไดมาจากความรูขั้นพื้นฐานของการศึกษาเลาเรียนในสถาบันการศึกษา
7. Happiness การดําเนินชีวิตอยางมีความสุขการดําเนินชีวิตอยางมีความสุข โดยตองไมเบียดเบียนใคร 7. Happiness Capital ทุนแหงความสุขหากมนุษยมีทุนทางความรูมีทุนทางปญญา และมีทุนทางจริยธรรมแลว ยอมเปนพื้นฐานที่จะมีความสุขไดายกับทุกสถานการณ
8. Harmony ความปรองดองสมานฉันทผูนําที่แทองมีศิลปะในการสรางความปรองดองในหมูผูใตบังคับบัญชา ผูประสบความสําเร็จบนความแตกแยกราวฉานมักไมยั่งยืน 8. Social Capital ทุนทางสังคมการทํางานที่ดี คือการทํางานที่สามารถดึงความเกงหรือทักษะของแตละคนมารวมกัน และปฏิบัติภารกิจนั้นๆ ใหลุลวงไป
 ทฤษฎี 2  R’s คือ  1. Reality มองสภาพจากความเป็นจริง และสภาพพื้นฐานการศึกษาไทย    2. Relevance เจาะประเด็นที่จะแก้ให้ตรงกับความต้องการ และนำสิ่งที่พูดนำไปสู่ Execution ที่ควรทำให้สำเร็จ    Global Citizen คุณสมบัติ 3 ประการ  สําหรับคนไทยกาวสูระดับโลก ไดแก       1. ความคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ     2. เทคโนโลยี  3. คุณธรรมทฤษฎี 6 Hats ของ Edward De Bono   วิธีการคิดมี 6 วิธี  คือใช้หมวก 6 ใบ          (1) คิดได้ แต่ต้องมีข้อมูล (หมวกขาว)          (2) เป็นคนเก่งคิด คือ คิดเยอะ แต่คิดอย่างระวัง และอนุรักษ์นิยม (ดำ)          (3) คิดเร็ว และไปข้างหน้า  ชอบความเสี่ยง มองอะไรดีไปหมด (เหลือง)          (4) คิดสร้างสรรค์  Creative Thinking (เขียว)          (5) คิดตามอารมณ์และความรู้สึก (คนไทยมีเยอะ) (แดง)           (6)  Control of Thinking  มองทั้ง 5 หัวข้อ  และมาวิเคราะห์ดูว่าใช้ตัวไหนให้ถูกต้อง ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง (ฟ้า)                                   HR+INNOVATION ทำให้ได้เข้าใจว่านวัตกรรมหมายความรวมถึงแนวคิด การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆที่จะต้องผ่านการปฏิบัติและทำให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลหรือสังคม ดังนี้ องค์ความรู้ + ความคิดสร้างสรรค์ + การกระทำให้สำเร็จ + คุณค่าได้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแลสังคม  เข้ากับหลักการทฤษฎี 5 K ใหม่  คือ         1.    Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม   2.    Creativity Capital    ทุนแห่งการสร้างสรรค์3.     Knowledge Capital     ทุนทางความรู้       4.     Cultural  Capital     ทุนทางวัฒนธรรม        5.    Emotional Capital    ทุนทางอารมณ์                   “เก่งดี4”  4 เก่ง  คือ  เก่งงาน/เก่งคน/เก่งคิด/เก่งเรียน , 4 ดี  คือ  ประพฤติดี/มีน้ำใจ/ใฝ่ความรู/คู่คุณธรรม   องคกรที่จะประสบความสําเร็จได้นั้นต้องมีคนที่ทั้งเก่งทั้งดี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ประยุกต์คำสอนของศาสนามาใช้  และมีการประเมินโดยจะเรียกว่าเป็น CAPABILITY  สําหรับคนเก่ง  และAcceptability สําหรับคนดี   ต้องทําสามเรื่อง   1. ต้องทําใหสําเร็จ    2. ต้องมีบารมี   3. ต้องทำอย่างยั่งยืน                           INNOVATION  ซึ่งหมายถึงการคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ นำไปสู่การปฏิบัติ ที่สำฤทธิ์ผล เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนา เพื่อสร้างโอกาส เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คำว่า "นวัตกรรม" จึงหมายถึง "ใหม่" "มีคุณค่า" และมีมูลค่าเพิ่มจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้   HR & INNOVATION เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ (Talent people) คิดใหม่ ทำใหม่ ในสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ต่อมวลมนุษย์ การทำ INNOVATION ให้อยู่ในสายเลือดของทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งท้าทายของผู้นำทั้งปัจจุบันและอนาคต   การจะเกิด Innovation ได้นั้นต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้วยคือ ต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ต้องไม่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้กล้าคิดกล้าทำ       INNOVATION ต้องเกิดจากข้างล่างและมีคนข้างบนคอยสนับสนุนทำเป็นตัวอย่าง และต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานตามทฤษฎี 6 ก. กล่าวคือ   1. กล้าคิด  คิดนอกกรอบ ข้ามศาสตร์    2. กล้าพูดกล้าทำมากขึ้นในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง 3. กล้าเปิดใจ รับฟัง      4. กล้าเสี่ยง กล้าริเริ่ม การทำผิดเป็นสิ่งที่ยอมรับ   5. กล้าเรียนรู้ ที่ต้องมีคนกล้าเพราะมีคนกลัวอยู่ กลัวล้มเหลว กลัวนายว่า ฯลฯ   6. กล้าทำ  ทำจริง พัฒนาอย่างต่อเนื่องเศรษฐกิจพอเพียง [Sufficiency Economy ]                   ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์  ได้นำนักศึกษาไปศึกษานอกสถานที่  โดยให้ นศ.จัดทำโครงการสู่ชุมชนนำเสนอเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ อบต. ฟัง ไปช่วยชาวบ้าน ชุมชน ให้เข้าใจเรื่อง     ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นการนำเอาความรู้ของนักศึกษาปริญญาเอกที่เรียนมาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านเพื่อช่วยเหลือรากแก้วของสังคมไทย     เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ   ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
- เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ   และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด
- หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลางในการดำรงชีวิต
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้       •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

 

•  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
•  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
•  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
•  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
•  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
•  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
•  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี กภายนอกได้เป็นอย่างดี หลักการพึ่งตนเองด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง เป็นอิสระ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่า โดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน
ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดี จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและ เลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพแวดล้อม และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่การลดรายจ่าย ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือ จะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อน เป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ1.  ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า “...ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง...
2.   ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า ...ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ชอบเป็นหลักสำคัญ...
3.   ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ และแข่งขันกันในทางการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า “...ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น...
4.  ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพ
อภิกนิษฐา นาเลาห์ นักศึกษาป.เอก /รป.ด.รุ่น 3 / ม.อุบลราชธานี
4.  ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า “...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกิน เป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตนเอง...
5.   ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาท ว่า “...พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลดพยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น...
นัยสำคัญของแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนโดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอ กับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรก เมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้ว จึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาดก็จะเป็นกำไรของเกษตรกร ในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกลายสถานะเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็นตัวกระทำ หรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และหลักใหญ่สำคัญยิ่ง คือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก ฯลฯ
        ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้หลากหลาย ครอบคลุมทั้งการเกษตรแบบผสมผสานหัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้ว เกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสามารถขยายตัวไปพร้อม ๆ กับสภาวการณ์ด้านการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น
        ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึงรายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน ความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการรักษาไว้ ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป
                                การเรียนกับ ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์    เป็นการเรียนที่มีคุณค่ามากสำหรับดิฉัน  เนื่องจากท่านอาจารย์ได้สอนถึงการสร้างองค์ความรู้ที่เข้าใจและหยั่งรากลึกเข้าไปถึงหัวใจ  อาจารย์สอนให้มองภาพแบบเป็นระบบ  มองภาพกว้าง(Macro)  สอนถึงการศึกษาข้ามศาสตร์จะทำให้มุมมองคมชัดลึก  รอบด้าน  อีกทั้งวิธีการสอนของอาจารย์ยังน่าสนใจ  ให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  วิเคราะห์  อภิปรายแบบมีส่วนร่วม  แสดงความคิดเห็น  ร่วมกัน  ทั้งจากหนังสือ  บทความจากภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  VDO  การศึกษานอกสถานที่ร่วมกับชาวบ้าน  การศึกษาดูงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจากชาวบ้านที่ทำได้ผลเป็นตัวอย่างต้นแบบ   กระตุ้นให้เกิดการสร้างปัญญา  ความคิดพัฒนา  ในหลากหลายรูปแบบ  และนำเอาทฤษฏีมาประยุกต์ใช้ให้เป็นรูปธรรม  เช่น  ทฤษฏีทฤษฏี 3 วงกลม ,   ทฤษฎี 2  R’s ,  ทฤษฏี 8 K’s , ทฤษฎี 4 L’s ,  Leadership,  INNOVATION, ทฤษฎี 5 K ใหม่  เป็นต้น  ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับส่านที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นรูปธรรม   รวมทั้งท่านอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม  รวมทั้ง  เศรษฐกิจพอเพียง[Sufficiency Economy ]ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่านอกจากเป็นทางสายกลางทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองแล้ว  ยังเป็นแนวทางของการดำเนินชีวิตเป็นวิถีชีวิตที่จะทำให้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหา  รู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก  เป็นการพัฒนาทั้งระบบ  พัฒนาทั้งคน  พัฒนาในระดับชีวิต  ในระดับชุมชน  สังคม  ประเทศชาติ  ของโลก  ทำให้เกิดการพัฒนาที่พึ่งตนเองได้ เกิดความสมดุลทุกภาคส่วนของสังคม  อันจะนำไปสู่ความต่อเนื่อง  และการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป*****************************อภิกนิษฐา นาเลาห์ นักศึกษาป.เอก /รป.ด.รุ่น 3 / ม.อุบลราชธานี
นักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 3 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 13 คน

เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่างสูง 

นักศึกษาป.เอกรุ่น3 ม.อุบล จำนวน 13 คน

สรุปโครงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์และ คณะนักศึกษา ป.เอก รุ่น 3ณ หมู่บ้านคูสว่าง ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานีวันที่ 19 พ.ย.49 เวลา 13.00-17.00 น.มภ์:                ยกย่องปรัชญาพระราชดำรัสในหลวง ใช้ปัญญาของท่านในการเสนอแนะด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีคำพูดคือ  นวัตกรรม (INOVATION)  เห็นปรัชญาของผม พัฒนาอีสานที่มั่นคงยั่งยืน เอาสิ่งที่เป็นประสบการณ์วัฒนธรรม เพื่อให้คงอยู่ เป็นเอกลักษณ์ของอีสาน                รุ่น 3 เป็นรุ่นที่สำคัญชีวิตของผม หลังจากปฏิวัติปกครองแล้ว ศก.พอเพียง กลายเป็นสิ่งที่อยู่รอด ร่วมทางบริหารทรัพย์สินพระมหากษัตรย์           ทุกวันพูดถึง ศก.พอเพียง ช่วยอีสานได้อย่างไร ความจริงผมไม่ได้มาสอนเค้าเพื่อเป็นอาจารย์ แต่เป็นเรื่องที่โชคดีที่ได้สอนป.เอกรุ่น 3                ตื่นเช้ามาผมต้องหาความรู้ใหม่เป็นความรู้โป๊ะแชะ ทำไปเพื่อใช้เต็มที่  ผมเข้ามาที่บ้านนี้ก็มีความสุข กันเอง อบอุ่น สำหรับผม ด๊อกเตอร์ ไม่มีความหมายสำหรับผม  แต่ละวินาที ผมอยู่ที่ไหนก็ตาม ผมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด                ผมมาร่วมงานกับลูกศิษย์ผม ทำให้คนอีสาน มีความรู้เพิ่มมากขึ้น จัดในเวลาอันสั้น แม้กระทั่งบรรยากาศ ผมจะเอากิจกรรมนี้ไปออก ทีวี ช่อง 11 ผมจะส่งกำหนดการอีกครั้ง                ขณะนี้คนกรุงเทพ ต่างหากสนใจ คนอีสาน ผมเป็นคนหนึ่งที่โชคดีมาก  อยู่กับเพื่อนลูกศิษย์ผม ผมได้ความรู้มาก ผมสอนมา 5 รุ่นแล้ว                รุ่นที่ 5 ผมจะสอนอะไรบ้าง  ณ วันนี้มีของใหม่เพิ่มขึ้น 3 เรื่องใหญ่                 เรื่องที่ 1                พูดเรื่องศก.พอเพียง กับสังคมไทย                เรื่องที่ 2 เปิดทีวี เรื่อง นวัตกรรม และ การจัดการทรัพยากรมนุษย์                เรื่องที่ 3 การจัดการทรัพยากรมนุษย์แต่เราต้องแชร์ ความรู้มาพูดอีก เราเปิดชุมชนการเรียนรู้ในวันนี้สรุปง่ายๆ 3 เรื่องใหญ่ๆ1. พระเจ้าอยู่หัวสอนให้คนมีเหตุมีผล การมีเหตุมีผล ไม่จำเป็นต้องเรียน ป.เอก อะไรจะเกิดกับเรา เช่นตัวผมเอง อายุ 32 ปี  ผมจบ ด๊อกเตอร์ เมืองนอกผมอยากเป็นอาจารย์ที่ดี - ผมเลยตัดสินใจเป็น อาจารย์ต่อ ผม- ผมไม่บ้าปริญญา- ผมหาความรู้ทุกวินาทีด้วยบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านมี ศก.พอเพียง  แล้วท่านทั้งหลายในที่นี้มีหรือยัง2. ให้เดินสายกลาง ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ให้มีความพอดี                - บ้านเรารวยได้ถ้าเรามีความพอดี                - เช่นค่าน้ำมันแพง เราอยู่ได้ต้องประหยัด ความประมาณ สายกลาง                - ความเสี่ยงในชีวิตเราอยู่ที่ไหน เช่น กู้กองทุนหมู่บ้านทุกปี แต่ไม่เคยใช้  3.ให้มีภูมิคุ้มกัน                เรารู้อะไรจะเกิด เราจะไม่ทำ มองระยะสั้น เพื่อระยะยาว จะอยู่ได้พระเจ้าอยู่หัวเน้นมากกว่านี้ มี 2 เงื่อนไข1.การมีความบ้าคลั่งความรู้ ใฝ่รู้ มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสุขเน้นการใฝ่รู้  ท่านเป็นวิศวกร แต่ท่านสนใจเรื่องเรียนรู้ เขากำลังจะสร้างให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ วัฒนธรรมในการเรียนรู้  เช่น เราจะทำอย่างไร อะไรให้ตัวเรา และสังคมชนบทบ้าง2.ไม่ว่าทำอะไรก็แล้วแต่ก็ต้องทำด้วยความดี คุณธรรม จริยธรรม                 - 61 ปีแล้ว เนื่องจากทำเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อครอบครัว                - เราลงทุนพัฒนา HRM  เราให้ดีขี้น นั่นคือสิ่งที่ดีที่ผมพบเห็นและ  ได้กระทำผมขอฝากหมู่บ้านนี้เรื่อง-         อำนาจเงิน -         รัฐบาล-         อย่าให้ขาดคุณธรรม จริยธรรม อย่าไปเชื่อเขา ภายใต้การนำของผู้นำหมู่บ้านแห่งนี้-         ทำไปเพื่อให้เกิดความสุข ไม่เกี่ยวกับเงิน-         การมีเหตุมีผลเดินสายกลาง ทำให้การอยู่แบบยั่งยืนในอนาคต-         ยกเว้นสุขภาพ แต่มีพลังผมจะทำต่อไป-         ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจพอเพียง รักความพอเพียง ก็จะเกิดเป็นความสุขได้-         ความรู้ไปช่วยสังคมชนบทที่เกี่ยวกับตัวเราอย่างไร-         การทำคุณค่าชาวอีสานให้เป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง-         เราจะเอาประโยชน์ที่ในหมู่บ้านอย่างไร-         เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การประพฤติปฏิบัติ ก้าวหน้าสอดคล้อง กับยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจพอเพียง/ยุคโลกาภิวัฒน์พระคุณเจ้าณรงค์  คำซาว :          มุมมองเศรษฐกิจพอเพียงมี 2 อย่าง 1.    ดี2.    เก่งสร้างตนเองให้ดีและเก่งต้องสร้างที่จิตใจก่อน ทั้งที่ตั้งใจ มีศีลธรรม คุณธรรมประจำใจคนเก่งชอบสร้างปัญหา  คนดีชอบแก้ปัญหา แล้วชุมชนเราจะเป็นชุมชน เข้มแข็ง พอดี พอเพียง ต้องพอประมาณ สันโดษ ยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ไม่สร้างปัญหาให้ตนเอง ผู้อื่น และสังคม พัฒนาให้คนเก่งไม่ยาก ให้เข้าสู่การศึกษา เรียนให้หมด คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องเกิดความพอเพียงในใจให้ได้ ไม่งั้นจะเกิดความโลภฝาก 2 เรื่อง1.    เรื่องความดี2.    เรื่องความเก่งถ้าเรื่องความดี ความเก่ง รวมอยู่ในคนๆเดียวกัน เกิดองค์ความรู้ใหม่ มีการต่อยอดเรื่องใหม่ นายสุพิศ  หมายดี    (ผู้ใหญ่น้อย)                เป็นคนอีสาน เป็นลูกชาวไร่ชาวนา ทรัพย์สินของเราหามา  จะเหลืออยู่   จะหมดไป     จะได้ก่อกำไรขึ้นมา เช่น1.    ทรัพย์สินที่จะเหลืออยู่  เช่น การซื้อเครื่องสูบน้ำ  การซื้อมิเตอร์  การซื้อไร่ ซื้อนา 2.    ทรัพย์สินที่จะหมดไป  เช่น การปรับปรุงที่นา ไร่ 3.    ทรัพย์สินที่จะก่อกำไร เช่น การลงทุนพันธ์ปลา    ฝึกใจให้อดทน ต้องเป็นคนพยายาม ตามแนวพระราชดำริในหลวง ทฤษฏีใหม่ รู้จักใช้ รู้จักเก็บ รู้จักหมู่บ้านคูสว่าง ของเราเป็นหมู่บ้านนำร่อง เศรษฐกิจพอเพียง หากใครก็ตามที่ไม่มีธรรมะในใจ ทำอะไรก็ไม่สำเร็จการปฏิบัติในหมู่บ้าน1.    จะไม่ให้มีมหรสพ มาร้องมารำในวัด2.    จะไม่ให้มีการกินเหล้าในวัด โครงการวัดปลอดเหล้าสรุปแล้วตามความคิดของผู้ใหญ่สุพิศ1. จากต้องรวม บวร รวมกัน2. ขัดขันเงินทองก็จะต้องมีค่าขึ้น3. ขัดเรือนกายก็จะทำให้มีค่าขึ้น หมายถึงขัดจิตใจ4. อยากให้มีความสามัคคี ก็ต้องมีผู้นำที่เป็นหลักได้ เช่น มีหลวงพ่อ5. ต้องมีใจปราบปลื้ม ไม่ลืมตัว6. บ่โลภ  บ่โกรธ  บ่หลง7. รักที่นา ที่ไร่ ที่อยู่อาศัย ครอบครัวเราเอง8. การเงินการทองสำคัญมาก น้ำรั่วที่ละน้อย รั่วมากๆ ก็หมด ต่อเมื่อจะรู้ว่าเงินมีค่า จะรู้ก็เมื่อน้ำตาไหลตาพระท่านว่า ฟังด้วยดีแล้วเกิดปัญญา      นายสมประสงค์   สายสัญญา   (ประธานชมรม อสม.จังหวัดอุบล)ทำไร่นาสวนผสม เศรษฐกิจพอเพียง  เริ่มต้น ผมมีแนวคิดผมจะไม่ยอมจน โดยเด็ดขาด ผมเป็นคน กรุงเทพ เกิดที่นั่น ผมอยากมีที่ดินเป็นของตนเอง ปี พ.ศ.2510  ถ้าไม่มีที่ดินผมรวยไม่ได้แน่ เพราะทำแต่นา ดังนั้นจึงมีหลักคิดขึ้นมา -         เริ่มคิดว่าเราอยากไปทำงาน บริษัทนครหลวง ศึกษาทำงานอยู่ซักพัก-         ปี พ.ศ.2522 คุยกับผู้รับเหมาว่าทำอย่างไรถึงจะมีเงิน-          ผมดีตรงไม่มี อบายมุขเลย-         ผมมีลูก 6 คน จบป.ตรี เป็นข้าราชการทั้งหมด เป็นช่างเครื่องบิน ทหารอากาศ-         ผมเข้าเป็นนักธุรกิจ ขนถ่ายปูนซีเมนต์-         ปี พ.ศ.2519-2535 เป็นอาสาสมัคร -         เข้ามาศึกษาตัวบุคคล อสม.มีแต่คนจน คนรวยไม่มี-         เราจะพัฒนาโดยการตั้งชมรม อสม. 35 อำเภอ 36 จังหวัด 39 ชมรมอสม.-         ไปขายเครื่องสุขภัณฑ์ มีเงินมาก แต่ ผมไม่มีความสุขเลย ในความรู้สึกอยากอยู่กับเพื่อกับฝูง-         ปี พ.ศ.2539  ตั้งชมรม อสม. เพื่อให้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะเข้ามามีหนี้สิน น่าเป็นห่วง-         รายได้ของอสม. ไม่มี ก็หาโดยการ ตั้งชมรมการเย็บผ้า  รายได้ไม่ต่ำกว่า 200 บาท/วัน  ขายบัตรเติมเงิน-         ปี 2540  จ่ายงานแล้ว ทำไม่ได้ ด้วยประสบการณ์ ไม่ใช้ทฤษฏี เศรษฐกิจพอเพียง-         ผมหันมาทำทฤษฏี เศรษฐกิจพอเพียง-         เลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา หมู เห็ด เป็ด ไก่  ขายไม้ มีรายได้ 200-300 บาท/วัน-         ความโลภไม่ได้ทำให้มีความสุข ความสุขเราอยู่ที่ มีอยู่มีกิน มีใช้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หลวงพระณรงค์ คำซาว :          ส่วนวันนี้ จะสำคัญ ควรยึดกันทำวันนี้ให้ดีๆ  แนวทางพุทธศาสนา เรานั้นเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ  ที่เราได้ยินกันเสมอ หัวใจเศรษฐี  คือ อุ  อา  กะ  สะ   เป็นหลักประโยชน์ที่เอื้ออำนวยความสุขใน ปัจจุบัน 1.    รู้จักหมั่นเพียร2.    รู้จักรักษาทรัพย์สินที่หามาได้3.    รู้จักคบเลือกหาคนคบค้าสมาคม4.    รู้จักเลี้ยงชีวิตแบบเสมอต้น เสมอปลาย รู้จักเลี้ยงชีวิตแบบพอเพียง    นายจรรยา   ราชวงศ์  คุณหมออนามัยบ้านหนองกินเพล :          ผมจะทำงานวิจัยเป็นหลัก โจทก์ใหญ่   คือ ภาคสุขภาวะ   ใช้ขบวนการรูปสุขภาพมามองกัน รวมถึงมุมมองเศรษฐกิจพอเพียง -         ฐานคือ ศีลธรรม -         ศีลธรรมสร้างไม่ได้โดยการสอนใช้ขบวนการเรียนรู้เป็นหลัก-         เศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นการปฏิบัติมากกว่า  -         มีอยู่แล้วในชุมชน คือการกลับไปหารากเหง้า นั่นเอง-         ขบวนการใช้ขบวนการเรียนรู้อะไร อย่างไร -         เศรษฐกิจพอเพียง เป็นระบบคุณค่า ไม่ใช่ระบบมูลค่า-         โลกาภิวัตน์ ทำให้เศรษฐกิจ หายไป-         การรู้เท่าทัน โลกาภิวัตน์ ทำให้การเกื้อกูล การช่วยเหลือ ในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งทำให้ระบบหายไป เช่น เวลาน้ำท่วมเอาของมาแจก ต้องแจกให้ได้ 120 ถุง  เลือกวิธีการจับฉลาก -         ขบวนการเรียนรู้ที่จะกลับไปหารากเหง้าจะทำอย่างไร  ฝากนักศึกษาป.เอก ไว้-         มุ่งจะถ่ายทอดอย่างเดียวไม่เรียนรู้-         ผมมองกับปัจเจก ตัวบุคคล  การศึกษาด้วยเป็นจุดที่ดีมาก-         ผมฝากถามว่า ขบวนการเข้าใจรากเหง้า ใช้ความรู้อะไร-         ขบวนการโลกาภิวัตน์ กับเศรษฐกิจพอเพียงใช้อย่างไรภาคประชาชน :-         ยึดภาคประชาชนเป็นหลัก -         มีชุมชนเป็นเป้าหมาย-         ประชาชนต้องการอะไร อย่างไร-         เราจะนำมาสู่นโยบาย ระดับตำบล -         ผู้นำ-         ส.อบต-         ปลัด-         กลุ่ม อสม.-         นำปัญหาทั้งตำบล มารวมมาเป็นงบประมาณ-         ทำเรื่องความต้องการชุมชน การแก้ไขในการช่วยน้ำท่วม-         เราจะให้ผู้นำท้องถิ่น เป็นผู้จัดการ สำรวจตัดสินใจ    นักศึกษา :-         เศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ ยังไม่เพียงพอ ในตนเองไหม๊ก็ไม่ใช่ -         บิดา/มารดา อยู่รับผิดชอบ-         สามารถนำความรู้ที่ได้ สามารถปรับประยุกต์ใช้ให้กับตนเอง-         อาจมีเงินทุนรัฐบาล เพื่อความพอเพียง-         ปัจจุบันไม่พอเพียงอนาคตอาจมีเศรษฐกิจที่พอเพียงรองพนมพร  อิทธิประเสริฐ :          อบายมุข กับความพอเพียง เกี่ยวอย่างไร เกี่ยวกับตำรวจเรื่อง-         การพนัน จะนำมาให้เราไม่มีเศรษฐกิจพอเพียง-         โดยเฉพาะ หวยใต้ดินไม่รวย-         มีภูมิคุ้มกัน เรื่องยาเสพติด อุบลเราระบาดมาก เพราะติดชายแดน ฐานผลิต อยู่พม่า เข้าทางประเทศลาว เม็ดสีส้มแก่  ถุงสีฟ้าเงินเข้ม  แบบใหม่  ผสมเฮโรอิน แต่ถ้าชุมชนแก้ปัญหาไม่ได้ให้แจ้ง เบาะแสศาสตราจารย์ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ กล่าวสรุปสุดท้าย :          เราจะนำไปปรับพฤติกรรม ได้หรือไม่ เป็นความสำเร็จขั้นต้นได้ความรู้มาก ทำให้มีกำลังใจ และทำต่อไป นำเอาปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ต่อไป นำไปพัฒนาในมุมกว้าง  พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชปริญญา ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวันที่  19  กรกฏาคม 2517 ในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มต้นด้วยการสร้าง พื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้อง ตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคง พอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขึ้นสูงขึ้น ตามลำดับต่อไป การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์                *************************     
นักศึกษาปริญญาเอก รุ่น 3 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
   รูปบัตรอวยพร (Greetings Card)ด้านหน้า   ในวารดิถีขึ้นปีใหม่  ๒๕๕๐  ขออำนาจุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทังหลายในสากลโลก ดลบันดารให้   ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และครอบครัว  มีความสุขความเจริญ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์  เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกศิษย์ เป็นที่พึ่งของประชาชน เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างความดีเพื่อพัฒนาคนพัฒนาชาติ พัฒนาโลกให้เจริญยิ่ง ๆขึ้นไปด้วยเทอญ 

นักศึกษาปริญญาเอกรัฐประศาสนสาสตรดุษฏีบัณฑิต                          

รุ่น ๓ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จากหนังสือ The  Fortune  at The Bottom of The Pyramid  ของ C.K. Prahalao  เราได้ข้อสรุปจากกรณีตัวอย่างของประเทศอินเดียว่า  ชาวรากหญ้าหรือคนยากคนจนที่มีจำนวนมากมายเป็นส่วนใหญ่ของประชากรในประเทศอินเดียนั้น หากเขียนเป็นแผนภาพทางสถิติของประชากรต่อรายได้แล้ว จะเป็นแผนภาพรูปทรงปิรามิด โดยฐานปิรามิดที่อยู่ในเส้นกราฟของรายได้ต่ำๆ คือคนส่วนใหญ่ที่เป็นรากหญ้า แต่ข้อคิดของ C.K. Prahalao  ได้ให้เราตระหนักถึงคุณค่าของมนุษย์ มูลค่าของรากหญ้า จะเป็นทุนทรัพย์ที่เลอค่าได้ ด้วยการสร้างทุนมนุษย์ให้แก่รากหญ้าในสังคม (ควรศึกษาให้เชื่อมโยงกับ 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) เทคโนโลยี ICT เพื่อเสริมให้เกิดสภาวะสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นทุนมนุษย์ที่มีปัญญา มีคุณธรรม                 ทิศทางของการพัฒนาที่ยั้งยืน แท้จริง คือทิศทางของการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ได้อย่างเหมาะสม เมื่อใดที่สังคมเข้าสู่การปฏิบัติจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เมื่อนั้นแหละเมื่อนี้ สังคมที่มีแผนภาพทางสถิติของประชากรต่อรายได้ที่เป็นรูปปิรามิด จะแปรเปลี่ยนกลับกลายเป็นรูปเพชร คือจำนวนประชากรที่มีรายได้น้อยลดลง และประชากรส่วนใหญ่จะมีรายได้สูงขึ้นอยู่ในระดับกลางๆ                ซึ่งท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ปรมาจารย์แห่ง HR. ท่านได้สร้างให้เราตระหนักถึงความสำคัญนี้ มาตลอดของชีวิตการทำงานของท่าน ด้วยทิศทาง สร้างสังคมคุณธรรม ควบคู่สังคมอุดมปัญญา ได้เกิดการปฏิบัติจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึ่งจะเป็นทิศทางแห่งการพัฒนาอีสาน ซึ่งสภาวะปัจจุบันของประชากรกว่า 25 ล้านคนชาวอีสาน เป็นเสมือน The Bottom of The Pyramid และก้นฐานของปิรามิด จะพลิกตัวเป็นเรือนเพชร ก็ด้วยแนวคิดที่กลั่นจากองค์ความรู้+ประสบการณ์+ความคิดที่สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ = ภูมิปัญญา ศ.ดร.จีระ                สรุปจากวงเสวนา K.M. ประดิษฐ,พนม,วิโรจน์,พิทักษ,และจิรชัย

ชาว ป.เอก ม.อุบลราชธานี ภูมิใจใน อาจารย์ ดร.จีระ ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม มอบพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ ปูทาง TITV. สู่เส้นทางสื่ออิสระ

อาจารย์ ดร.จีระ คือภูมิปัญญาแผ่นดิน ที่ลูกศิษย์ภาคภูมิใจ เหล่าศิษย์ทั้งหลายขออวยชัย ให้กำลังใจ และขออำนาจแห่งความดี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแดนอีสาน ช่วยให้ดร.จีระ ประสบผลในการทำหน้าที่ให้ชาติ ให้แผ่นดิน ด้วยดีเทอญ

อยากทราบความหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ความหมายของนโยบายทรัพยากรมนุษย์ และความสัมพันธ์ของนโยบายและแผนทรัพยากรมนุษย์ค่ะต้องการคำตอบด่วน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท