ฮักนะเชียงยืน 42


ถอดบทเรียนหนังสารคดีสั้น

ถอดบทเรียนหนังสารคดีสั้น


        เมื่อประมาณวันที่ 26 -27 กรกฏาคม 2557 ที่ผ่านมา เป็นกิจกรรมถอดบทเรียนของโครงการเล่าเรื่องเมืองเรา ที่อำนวยโดย มูลนิธิสยามกัมมาจล เเละ Young flimaker ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นให้เด็กที่ทำงานในชุมชนลุกขึ้นมาเล่าเรื่องชุมชนตนเองให้สังคมได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาในชุมชนของตนเองเเละสิ่งที่ดีงามของชุมชนตนเอง โดยมีกิจกรรมปรับฐานการคิดเมื่อประมาณ 5 เดือนที่เเล้ว มาถึงตอนนี้เป็นการถอดบอเรียนเเละแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันเเละกัน

        จากที่ได้ดำเนินงานมาในการทำหนังสารคดี บัดนี้ก็เริ่มที่จะเข้าใจความหมาย ของคำว่าหนัง+สารคดีเเล้ว คือ เป็นสื่อที่ต้องคำนึงถึง ข้อมูลที่เเท้จริง  บริบทของชุมชน/ปัญหา  เเละความบันเทิง ซึ่งหนังสารคดีนั้น ต้องรักษาระดับของ 3 สิ่งนี้ให้มีความสมดุลกัน เพื่อที่จะสื่อสารออกไปให้เข้าถึงผู้รับสารมากที่สุด  ฮักนะเชียงยืนในคราวนี้ เราเองได้มีบทบาทผู้กำกับเเบบอนุบาล ซึ่งความรู้ก็มีเพียงเบื้องต้น ขั้นเเรกก่อนที่จะทำงาน คือ การวางเส้นเรื่อง เเล้วเเตกเป็นฉากละเอียด ต่อจากนั้นก็เขียนบท เเบ่งหน้าที่ตามความถนัดเเละความอยากจะทำ ฯ จากนั้นลงมือดำเนินงาน โดยวางแผนว่าเราจะถ่ายฉากนี้กี่นาทีๆ เเล้วจะถ่ายใครบ้าง จะต้องมีการประสานงานติดต่อคนที่เราจะสัมภาษณ์ใครบ้าง ซึ่งบทบาทนี้ เราหลายๆคนก็เป็นผู้จัดการกองถ่ายในคนเดียวกัน จากนั้นถ่ายทำ 

        ปัญหาที่เห็นชัดเจนในการถ่ายทำได้เเก่ ปัญหาในเรื่องของคนที่เราจะสัมภาษณ์ท่านอาจมีธุระ ในข้อนี้เราก็ใช้ชาวงเวลานี้ในการคุยงานเรื่องการถ่ายกันเล็กๆ เเละถ่ายคนอื่นก่อน (ในการถ่ายให้ถ่ายไว้ให้มากที่สุด) ปัญหาที่เห็นได้ชัดในด้านเทคนิค ได้เเก่ ปัญหาด้านไม่มีอุปกรณ์ซึ่งในข้อนี้เราก็ประยุกต์เอาสิ่งที่มีมาใช้เเทน (พอเพียง) เเละ ปัญหาทางด้านการตัดต่อ ซึ่งเทคนิคทางการตัดเสียงต่างๆที่ไม่รู้ก็ศึกษาจาก Youtube การ Save งานที่ไม่สามารถเซฟได้เลย อันนี้เราก็ใช้วิธีการลองผิดลองถูก จนกระทั่งเซฟได้ (อันนี้ใช้เวลาอยู่ 3 วันด้วยกัน) เเล้วก็ส่งลุล่วงไป

        ในวันถอดองค์ความรู้นั้น มีกลุ่มต่างๆที่ส่งสารคดีเพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน ประมาณ 8 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งเเต่ละกลุ่มเมื่อฉายเเล้วก็จะมีคอมเมนต์ จากทุกๆคน พี่ ปรัชญา  ปิ่นเเก้ว เเละพี่ประจวบ  ผลิตผลการพิมพ์  โดยยึดหลักที่ว่า รู้สึกอย่างไร  เข้าใจว่าอย่างไร  ซึ่งมันตรงกับ สิ่งที่ผู้สร้างอยากจะสื่อออกไปไหม หรือไม่ อย่างไร 


        ช่วงที่เป็นการถอดบทเรียน อันนี้เราเองชอบเป็นการส่วนตัวที่สามารถนำรูปภาพมาติด จากหนังสือนิตสารต่างๆให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างว่า จากที่เราก่อนมาค่าย เรารู้สึกอย่างไร  ในค่ายครั้งเเรกเรารู้สึกอย่างไร เมื่อกลับไปจากค่ายเเล้วเรารู้สึกอย่างไร เเละเมื่อกำลังเตรียมที่จะทำหนังเเล้วนั้นเรารู้สึกอย่างไร ซึ่งก่อรมาค่ายเราก็รู้สึกงงๆ เพราะไม่เคยทำสารคดีหนังสั้นมาก่อนเลย ไม่รู้ว่ามันคืออะไร  เมื่อตอนอยู่ในค่ายก็รู้สึกพอใจที่ได้เรียนรู้  เมื่อกลับไปจากค่ายรู้สึกมีกำลังใจ  เมื่อตอนก่อนจะทำ รู้สึกมั่นใจ ต้องการอยากที่จะทำ .... เเล้วยังได้ถอดอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่จะเป็นการถอด  การคิดในการเลือกประเด็น  กระบวนการ  ปัญหาเเละการจัดการ เเละข้อเรียนรู้ทางด้าน ทักษะเเละการจัดการที่เกิดขึ้น  ซึ่งเหตุที่เราเลือกประเด็น ความสุขของคนในชุมชน ก็เพราะว่า ฮักนะเชียงยืนมีแผนงานว่าจะทำอยู่เเล้ว ที่เป็นการนำศิลปะมาประยุกต์เข้ากับการทำงาน อีกอย่าง คือ จากการเปิดเวทีเสวนากับชาวบ้าน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่ได้เงินสูงเเค่ยังเป็นหนี้น้อยอยู่ เเละสุขภาพของคนในชุมชน ไม่ดี เลยนำมาเป็นประเด็นในการเลือกหัวข้อที่จะทำสารคดี  ผลที่เกิดขึ้นเมื่อฉายในชุมชน พบว่า สามารถเป็นสื่อในการพูดคุยกับชาวบ้านก่อนเปิดการพูดคุยได้ 

        หนังสารคดี เป็นศิลปะอีกรูปเเบบหนึ่งที่สามารถใช้ในงานเพื่อสื่อสารกับชุมชนได้ เเต่เราควรระวังว่า ในสิ่งที่เราสื่อสารออกไปนั้น เราต้องคำนึงถึงว่าชุมชนเรานั้นจะเสียหายหรือเปล่า เพราะถ้าเราเลือกถ่ายถุอดประเด็นเเรงๆ ภายนอกอาจเข้าถึงเเละมีอารมณ์ร่วมด้วย เเต่ภายในชุมชน ชาวบ้านอาจไม่เห็นด้วย ไม่ควรถ่ายทอดออกไป   ความรู้ในเชิงวิธีการถ่ายทอดนั้นหรือทักษะในการเล่าเรื่อง สามารถจับของผู้อื่นๆที่เขาทำดีมาปรับใช้กับเราได้เเต่เราต้องไม่ลืมความเป็นเเบบของตัวเองตั้งอยู่บนฐานของความเป็นสากล เมื่อทำสารคดีเสร็จก็นำผลงานมาคอมเมนต์กันในกลุ่ม อาจใช้โอกาสช่วงนี้ในการฝึกกระบวนการคิดก็อาจเป็นไปได้ .... รูปแบบของหนังสารคดีสั้น ไม่ได้มีเพียงข้อมูล เเต่ต้องมี ข้อมูล  บริบทชุมชน  เเละความบันเทิงร่วมอยู่ด้วย ให้มีความสมดุลกันเพื่อผู้รับสารทั้งในเเละนอกชุมชนจะเข้าใจตรงกันมากที่สุด

.

.

.

.

.

         


หมายเลขบันทึก: 573504เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2014 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2014 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นานๆครั้ง จะได้ถอด "การจัดการของตนเอง" สักทีหนึ่ง ... ซึ่งผมเองมองข้ามข้อนี้ไปเลยครับ ที่นอกจาก ถอดตนเองในความรู้ที่ได้รับ เเละทักษะ เเล้วยังมีการจัดการ ซึ่งถอดสิ่งนี้เเเล้วเห็นตนเองชัดเจนเลยครับว่า เราเป็นคนอย่างไร ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท