ประสบการณ์การเป็นศึกษานิเทศก์ของผม (ตอนที่ 3)


การจะเขียนได้นั้นผมต้องศึกษาค้นคว้ามากมาย เพราะกลัวจะขายหน้าเขา ปรากฎว่าเรื่องต่อมาเขาไม่ตีพิมพ์ แต่ก็ไม่ละความพยายาม ได้พยายามพัฒนาวิธีการเขียนส่งไปอีก
           สำหรับการพัฒนาเทคนิคการนิเทศนั้น  ผมเริ่มต้นจากการสำรวจตนเองว่าชอบและเหมาะสมกับวิธีการนิเทศแบบใด  ซึ่งตำราการนิเทศการศึกษาเขียนไว้เยอะ  ในที่สุดก็ค้นพบว่า  ผมมีความชอบ  ความถนัด  และมีความสามารถในการเขียนบทความทางวิชาการ  โดยก่อนจะรู้ใจตัวเองก็เกิดจากตอนที่กำลังทำเรื่อง ประชาธิปไตย ใน พ.ศ.2529  นึกสนุกขึ้นมาเลยเขียนบทความเรื่องหนึ่งชื่อ  ฝันถึงประชาธิปไตยในสังคมบ้านเรา  แล้วส่งไปให้วารสาร สารพัฒนาหลักสูตร เขาพิจารณาตีพิมพ์  ปรากฎว่าเขาลงตีพิมพ์ให้ในฉบับที่ 58 ประจำเดือนมกราคม  2530  ผมดีใจอย่างที่สุด  ลงทุนถ่ายเอกสารไปแจกให้พี่ๆเขาดู  พี่ๆเขาเห็นท่าทีผมเขาคงนึกขำ และเอ็นดู   พี่คนหนึ่งเขาพูดให้กำลังใจ    ผมจำสาระได้ว่า 
          
สิ่งพิมพ์ประเภทวารสารหรือหนังสือพิมพ์  ถือว่าเป็นสื่อสารมวลชนแขนงหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถถ่ายทอดความคิด  หลักการ  และแนวปฎิบัติของผู้เขียนไปสู่สาธารณชนในวงการอาชีพนั้นๆได้อย่างกว้างขวาง  ประหยัด  ทำได้ในปริมาณมาก  และกระจายไปทั่วประเทศ  สามารถถึงมือผู้อ่านได้อย่างรวดเร็ว  การที่วารสารต่างๆนำเรื่องลงตีพิมพ์จำหน่ายนั้นถือได้ว่า  เรื่องที่เขียนมีคุณค่า  ที่ได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะบรรณาธิการแล้ว  ซึ่งเปรียบเสมือนผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งนอกจากเขาจะสรรหาจากหลายๆเรื่องที่คิดว่ามีประโยชน์และเป็นที่สนใจของผู้อ่านแล้ว  ยังคำนึงถึงชื่อเสียงของผู้เขียนด้วยว่าเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในวงการนั้นเพียงใด     
       ช่างเป็นเสียงสวรรค์ที่เพิ่มพลังใจแก่ผมจริงๆ   จากนั้นไม่นานผมก็เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยขึ้นมาอีกหลายเรื่อง  และการจะเขียนได้นั้นผมต้องศึกษาค้นคว้ามากมาย  เพราะกลัวจะขายหน้าเขา  ปรากฎว่าเรื่องต่อมาเขาไม่ตีพิมพ์  แต่ก็ไม่ละความพยายาม    ได้พยายามพัฒนาวิธีการเขียนส่งไปอีก  ปรากฎว่ามีเรื่องที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยได้รับการตีพิมพ์อีกหลายเรื่องเช่น 
      
ประชาธิปไตยในวิถีชีวิต
    
ประชาธิปไตยในสายเลือด
     
แนวทางพัฒนาประชาธิปไตยในโรงเรียน
   
ประชาธิปไตยในการเข้าแถวเคารพธงชาติของนักเรียน
  
บรรยากาศแบบประชาธิปไตย
             ขอเล่าเรื่องการเขียนบทความทางวิชาการต่อในตอนต่อไปครับ


หมายเลขบันทึก: 57343เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ปัจจุบันการเผยแพร่งานเขียนทางเว็บไซต์ยิ่งแพร่หลายรวดเร็วกว่าการตีพิมพ์ในรูปของเอกสารอีกค่ะ
  • และเรายังได้ล่วงรู้ถึงความคิดเห็นของผู้อ่านงานของเราด้วย...เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
  • เช่น gotoknow ค่ะ
  • ผมเริ่มที่วารสารวิชาการครับ ตามด้วยวารสารสานปฎิรูป New school Bangkok post
  • หลังจากอ่านงานของอาจารย์สมัยผมเป็นเด็กๆ
  • ไม่อยากเขื่อว่าจะพบตัวเป็นๆในบันทึก
  • ขอบคุณครับที่เขียนบทความไว้เป็นแนวทาง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท