โลหะปราสาท 37 ยอด ของวัดราชนัดดา หมายถึง พระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ


พระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ แนวปฏิบัติที่บริบูรณ์เพื่อความดับทุกข์ 

(ฺBodhipakkhiya-dhamma: Qualities contributing to enlightment)

สติปัฏฐาน 4 (Satipatthana 4)

ที่ตั้งของสติ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง (Foundation of mindfulness)

  1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (contemplation of the body: mindfulness as regards the body) คือ การตั้งสติกำหนด พิจารณากายให้รู้เห็นตามจริงว่าเป็นเพียงแต่กาย ไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขา
  2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (contemplation of feelings: mindfulness as regards feelings) คือ การตั้งสติกำหนด พิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามจริงว่า เป็นเพียงแต่เวทนา ไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขา
  3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (contemplation of mind: mindfulness as regards mental conditions) คือ การตั้งสติกำหนด พิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามจริงว่า เป็นเพียงแต่จิด ไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขา
  4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (contemplation of mind-objects: mindfulness as regards ideas) คือ การตั้งสติกำหนด พิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามจริงว่า เป็นเพียงแต่ธรรม ไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขา

สัมมัปปธาน 4 (Sammappadhana 4)

ความเพียรชอบเพื่อละอกุศลเก่า ทำกุศลใหม่ (Right exertions: great or perfect efforts to overcome and develop)

  1. สังวรปธาน (the effort to prevent; effort to avoid) คือ เพียรระวังยับยั้งบาปกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
  2. ปหานปธาน (the effort to abandon; effort to overcome) คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
  3. ภาวนาปธาน (the effort to develop) คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
  4. อนุรักขณาปธาน (the effort to maintain) คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น และให้ยิ่งเจริญขึ้นไป

อิทธิบาท 4 (Iddhipada 4)

คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย (part of accomplishment; basis for success)

  1. ฉันทะ (will; zeal; aspiration) คือ ความพอใจ ความใผ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป
  2. วิริยะ (energy; effort; exertion; perseverance) คือ ความเพียร หมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม แข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย
  3. จิตตะ (thoughtfulness; active thought; dedication) คือ ความคิดมุ่งไป ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ อุทิศตัวอุทิศใจให้กับสิ่งที่ทำ
  4. วิมังสา (investigation; examination; reasoning; testing) คือ ความไตร่ตรอง หรือทดลอง หมั่นใช้ปัญหาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

อินทรีย์ 5 (Indriya 5)

ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน (controlling faculty)

  1. สัทธา (confidence) ความเชื่อ
  2. วิริยะ (energy) ความเพียร
  3. สติ (mindfulness) ความระลึกได้
  4. สมาธิ (concentration) ความตั้งมั่นในจิต
  5. ปัญญา (wisdom) ความรู้ทั่วชัด

พละ 5 (ฺBala 5)

ธรรมอันเป็นพลัง เป็นหลักปฏิบัติทางจิตให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง (power; strenght; force)

  1. สัทธาพละ (power of confidence) คือ กำลังของศรัทธา เป็นกำลังต่อต้านอกุศลธรรม คือ ความไม่เชื่อ
  2. วิริยะพละ (power of energy) คือ กำลังของความเพียร เป็นกำลังต่อต้านอกุศลธรรม คือ ความเกียจคร้าน
  3. สติพละ (power of mindfulness) คือ กำลังของสติ เป็นกำลังต่อต้านอกุศลธรรม คือ ความประมาทเลินเล่อ
  4. สมาธิพละ (power of concentration) กำลังของสมาธิ เป็นกำลังต่อต้านอกุศลธรรม คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
  5. ปัญญาพละ (power of wisdom) คือ กำลังของปัญญา เป็นกำลังต่อต้านอกุศลธรรม คือ โมหะ หรืออวิชชา

โพชฌงค์ 7 (Bojjhanga 7)

ธรรมอันเป็นองค์ประกอบเพื่อความรู้แจ้ง (enlightment factors)

  1. สติ (mindfulness) คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ
  2. ธัมมวิจยะ (truth investigation) คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
  3. วิริยะ (energy) คือ ความเพียร
  4. ปิติ (rapture) คือ ความอิ่มใจ
  5. ปัสสัทธิ (calmness) คือ ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจ
  6. สมาธิ (concentration) คือ ความมีจิตตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์
  7. อุเบกขา (equanimity) คือ ความมีใจเป็นกลางเพราะความเห็นตามจริง

มรรค 8 (Magga 8)

ทางมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ (the noble eightfold path)

  1. สัมมาทิฏฐิ (right understanding) คือ เห็นชอบ
  2. สัมมาสังกัปปะ (right thought) คือ ดำริชอบ
  3. สัมมาวาจา (right speech) คือ เจรจาชอบ
  4. สัมมากัมมันตะ (right action) คือ กระทำชอบ
  5. สัมมาอาชีวะ (right livelihood) คือ เลี้ยงชีพชอบ
  6. สัมมาวายามะ (right effort) คือ พยายามชอบ
  7. สัมมาสติ (right mindfulness) คือ ระลึกชอบ
  8. สัมมาสมาธิ (right concentration) คือ ตั้งจิตมั่นชอบ

หมายเหตุ : บันทึกความรู้ที่ได้จากผนังกำแพง ขณะเดินขึ้นบันไดเวียน 67 ขั้น รอบต้นซุงต้นใหญ่เป็นแกนกลางของปราสาท 3 ชั้น ไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ บนยอดโลหะปราสาท วัดราชนัดดาวรวิหาร เกาะรัตนโกสินทร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม 2557 

หมายเลขบันทึก: 573298เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท