เมื่อลองฝึกเขียน...กาพย์ยานี 11


..........ผู้เขียนได้อ่านกาพย์ยานี 11  รู้สึกชอบมาก  ได้ลองศึกษาวิธีเขียนกาพย์ยานี 11 จากหนังสือภาษาไทยแล้วมาหัดเขียน  โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยได้เขียนกาพย์ยานี ๑๑  จึงใคร่ขอคำชี้แนะจากผู้รู้ด้วย ขอบพระคุณค่ะ

..........อยากเขียนกาพย์ยานี         ขอช่วยชี้แนะแนวทาง

ฝึกหัดคิดสรรค์สร้าง                     อักษราบทกวี

..........ด้วย ข้าฯ ฝึกมาน้อย           ยังอ่อนด้อยถ้อยวจี

ภาษาไม่พาที                               เรื่องกลอนกาพย์ยังห่างไกล

..........เคยอ่านคนอื่นเขียน          ใคร่อยากเรียนให้รู้ไว้

จะเขียนกาพย์เตือนใจ                  บันทึกอ่านสะกิดตน

อร วรรณดา

๒๖ ก.ค.๕๗


คำสำคัญ (Tags): #กาพย์ยานี 11
หมายเลขบันทึก: 573278เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2014 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 07:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เขียนเลย อย่าไปสน

เขียนให้ตน ใช่ให้ใคร

ผิดถูก ไม่เป็นไร

เขียนเข้าใว้ เพื่อใจตน

...

ชยพร แอคะรัจน์

ขอบพระคุณ ท่าน รศ.ดร.ชยพร แอคะรัจน์ เป็นอย่างสูง ที่ให้คำแนะนำค่ะ

เขียนได้ดีแล้วจ้าา    ขอชื่นชม  เขียนต่อไป  เอาใจช่วยจ้ะ

เพราะมากค่ะ มีสัมผัสในด้วยทำให้เพราะยิ่งขึ้น ชื่นชมค่ะ

ชอบใจการใส่เสื้อของอาจารย์

เย้ๆๆๆ

ขอบคุณ คุณครูมะเดื่อ มากค่ะที่ให้กำลังใจ จะพยายามเขียนต่อไปให้ได้ค่ะ

ขอบคุณ คุณถาวร  ที่ชมและให้กำลังใจ ทำให้มีพลังใจจะฝึกเขียนค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ดร.ขจิต 

รู้สึกว่าใส่เสื้อแล้วทำให้มีพลังใจที่จะเขียนค่ะ

ขอบคุณนะคะที่อ่านและให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณนะคะ คุณ พ.แจ่มจำรัส 

ผมเองก็ชอบด้านนี้อยู่เหมือนกันและจะเป็นประเภทครูพักลักทำ โดยหัดแต่งกับผังกลอนที่มีในเว็บเป็นหลักครับ...ด้านกาพย์ยานี๑๑ นี้ ไม่เน้นหรือกำหนดคำหนัก คำเบา หรือเสียง ครุ ลหุ เอาไว้ เราก็สามารถแต่งได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงอะไรมาก เพียงแต่มีหลักที่ควรทำความเข้าใจก็คือเมื่อแต่งแล้ว....

๑.อ่านได้แต่่ละช่วงหรือแต่ละวรรค ให้ได้ตามผังคือ หน้า ๕ คำ หลัง ๖ คำ

๒.ลงคำสัมผัสตามหลักกลอน สัมผัสในวรรคและสัมผัสต่างวรรค โดยทั่วไปก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่ ที่คุณครูเขียนมาใช้ได้ครับ

๓.ได้ความหมายหรือเนื้อหา อาจจะเรียกว่า "อรรถรสบทกวี" ก็ได้ และที่สำคัญผู้อ่านต้องมีความเข้าใจตรงกับผู้เขียนด้วย "อันนี้อ.แชร์แนะนำมาอีกทีครับ"

โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบแต่งฉันท์ที่มันใช้คำศัพท์มากๆ หรือยากๆ แต่เน้นให้อ่านเข้าใจเนื้อหา ไม่ชอบให้อ่านตัดคำ แต่มันก็คงมีบ้างตามหลักฉันท์ หากว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้...

ผมขออนุญาตยกข้อความบางช่วงของคุณครูมาแนะนำสักนิดนะครับ...

"...อยากเขียน กาพย์ยานี         ขอช่วยชี้ แนะแนวทาง

ฝึกหัด คิดสรรค์สร้าง                อักษรา บทกวี..."

สัมผัสตามหลักใช้ได้ครับคือ ..นี...ชี้..และ..ทาง...สร้าง...


ถ้าปรับสัมผัสในอีกนิดจะอ่านไม่สะดุดเลยครับ...คือคำว่า...หัด...กับ..สรรค์...หาคำมาให้ตรงกันก็จะไม่ขัด เช่น ...กัน...สรรค์ หรือไม่ก็ ...หัด...ดัด...คัด..อะไรประมาณนี้ครับ...ขอยกตัวอย่าง...

...อาจขัน คิดสรรค์สร้าง............กวีบ้าง อย่าหมางกัน...

คำสัมผัสในก็สำคัญเหมือนกันนะครับ...


"...เคยอ่านคนอื่นเขียน   ใคร่อยากเรียนให้รู้ไว้        

จะเขียนกาพย์เตือนใจ บันทึกอ่านสะกิดตน..."   

/...เขียน...เรียน  เข้ากันได้.../...ไว้...ใจ...เข้ากันได้

/...เขียน...เตือน  เข้ากันไม่ได้...สระคนละชุด

คำสัมผัสในช่วยให้กาพย์มีความไพเราะ หลักการเดียวกันกับกลอนนั่นแหะครับ...


ที่แนะมานี้ตามที่ตนเองเข้าใจและใช้ฝึกหัดมานะครับ ก็ไม่ได้เชี่ยวชาญช่ำชองอะไร  ผิดถูกไม่ว่ากันนะครับ

ของอยู่ใกล้ตัวมักจะมองไม่เห็น เช่นแว่นตาไงครับ ขอบคุณมากครับผม

เพราะค่ะ   มีสัมผัส   ^_,^

เขียนจากใจ ได้ความจริง ทุกสิ่งสะท้อนในบทกวีนะคะ...

ขอบคุณ "พี่หนาน"  มากค่ะ

ขอบคุณมากนะคะที่อธิบายชัดเจนและยกตัวอย่างประกอบ คำแนะนำทำให้กระจ่างมากค่ะ

ยิ่งพอได้รับคำแนะนำจาก"พี่หนาน" และกัลยาณมิตรหลายๆท่านแล้ว ทำให้มีพลังที่จะพัฒนาตนเองค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณหมอภูสุภา 

ยินดีมากค่ะที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณหมอภูสุภา ชื่นชอบการเขียนบทกวีคุณหมอมากค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณนะคะ คุณหมอธิรัมภา 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและให้กำลังใจกวีมือใหม่ค่ะ

ขอบคุณนะคะ ท่านอาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ 

"เขียนจากใจ ได้ความจริง ทุกสิ่งสะท้อนในบทกวี"

ชอบมากค่ะ ขอบคุณนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท