จดหมายถึงลูก "เพรียง" ฉบับที่ ๒๐ ตอนอาชีพที่ตนเองเลือก...


จดหมายถึงลูก "เพรียง" ฉบับที่ ๒๐ ตอนอาชีพที่ตนเองเลือก...

ช่วงปิด ๔ วัน...แม่ได้อยู่กับครอบครัวแบบเต็มอิ่ม...

ซึ่งแม่ต้องการแบบนี้มาก ๆ...เพราะในทุก ๆ วัน

ก็อยู่กันแบบขาด ๆ เกิน ๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ "พี่ภัคร"

เรียนจบแล้ว...รอสอบ...แม่ก็ได้อยู่กับพี่ภัคร ๒ คน

จะได้ไปอยู่ครบครอบครัวทีก็วันศุกร์ - เสาร์...

แม่ถือว่า...ปิด ๔ วัน เป็นวันพักผ่อนและวันครอบครัว

ของพวกเรา ไม่มีสิ่งใดจะมีมาเกินกับ "ความสุข" ของ

ครอบครัวของเรา...

สำหรับน้องเพรียง...พ่อเร ให้ทำโครงรถอีแต๋นใหม่

เพราะเรามีไม้มากมายที่บ้าน เนื่องจากโครงรถเก่าผุ

พ่อเรเกรงว่า เวลาน้องเพรียงไปรับลากข้าวของเขาแล้ว

จะทำให้ไม้ซึ่งผุจะพังลงมาแล้วทำเอาข้าวของเขาเสียหาย

ปิด ๔ วัน พวกเราจึงนัด พี่ไข่ พี่ขวัญ น้องเพรียง พ่อเร ฯลฯ

มารุมทำรถอีแต๋นกัน เราได้แต่ลงทุนซื้อน๊อตมาและใช้เครื่องมือ

ในการไสไม้เพื่อให้เรียบและได้รูปทรง...

แม่เห็นถึง "ภูมิปัญญา" ของพวกหนู ลูกแม่และพี่ ๆ เพื่อน ๆ

สามารถทำโครงรถอีแต๋นได้ด้วยแรงกายของพวกเราเอง

พ่อเรบอกว่า...ถ้าไปซื้อเขาก็คงราคาเหยียบแสนบาท

แต่เรามีไม้ของเราเอง พ่อเรจึงออกทุนในการซื้อเครื่องมือ

เช่น กบไฟฟ้า วงเดือนไฟฟ้า สว่านไฟฟ้า ฯลฯ

เพื่อให้พวกพี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้องเพรียงลองทำดู

ในสายตาแม่ ๆ เห็นพวกหนูก็สามารถทำได้

นึกถึงตาทวดของฟ้าคราม สมัยยังหนุ่ม ๆ มีแรง

ตาก็สามารถเป็นช่างไม้ทำได้ด้วยตัวเอง...

แม่ยังแซว พวกหนูว่า..."ลองให้พวกจบปริญญาโท เอกมาทำดูบ้างสิ

ว่าจะทำได้หรือเปล่า?"...พ่อเรบอกว่า..."อย่าเอาไปเปรียบเทียบกัน

มันคงละแบบ นั่นวิชาการ แต่นี่มันคือ การปฏิบัติจริง"...

แม่ก็ได้แต่ฟัง...ทุกวันนี้ เราต้องการการปฏิบัติได้จริงไม่ใช่หรือ

เราต้องการวิชาการเป็นเพียงแค่วิชาเสริมเราเท่านั้น...

แม่เชื่อฝีมือของพวกหนูว่า "ทำได้" เพราะแม่เห็นฝีมือแล้ว

และก็ใกล้เสร็จแล้ว...โครงรถ ฯ ครั้งนี้ ลูกของแม่ทำเปิดกลาง

และหนูก็ได้เพิ่มความสูงของตัวรถจาก ๙๕ cm. เป็น ๑๑๐ cm.

เพื่อต้องการการบรรจุข้าวได้ถึง ๓ เกวียน ๕๐ ถัง ต่อครั้ง

แต่ของเก่าที่รื้อทิ้งนั้น จะเปิดข้าวออกด้านข้าง แต่ครั้งนี้

หนูไม่ต้องการให้เปิดข้าวออกข้าง แต่ต้องการให้เปิดกลางรถ

หนูจึงทำเป็นกระดานชักเพื่อให้เปิดด้านล่าง...นี่ก็คือ...

"ภูมิปัญญา" ในการแก้ไขปัญหาในระหว่างที่หนูทำงานในการขนข้าว

ด้วยรถแล้วหนูพบเจอปัญหาอะไร หนูก็นำมาแก้ไข ปรับปรุง

เพื่อทำให้ทุ่นแรง ไม่ลำบากเหมือนครั้งก่อน...

หนูทำให้แม่เรียนรู้ว่า..."ไม่ว่างานใด ๆ ยามที่เกิดปัญหาแล้ว

เราพบวิธีแก้ปัญหาแล้ว เราควรทำอย่างไรกับปัญหานั้น ๆ "

นี่คือ "ภูมิปัญญาของพวกหนู" ที่จะค้นหาวิธีแก้ไขและปรับปรุง

เพื่อให้ปัญหานั้นลดน้อยลง...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 572468เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุก ๆ ท่านค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท