การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตอนที่ 5


3.1.2 การเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำ (memoing)

โดยหลักการแล้วการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำ (memoing)จะเป็นขั้นทีสองในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แต่จริงๆแล้วการวิเคราะห์ในขั้นนี้สามารถทำได้ตั้งแต่ในขั้นใส่รหัส (coding) เลยทีเดียว

เมื่อผู้วิจัยกำลังใส่รหัส(ไม่ว่าจะเป็นแบบบรรยาย หรือแบบสรุปก็ตาม) ชื่อที่อยู่ในข้อมูลทั้งหมด ก็คือการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนี้จะเป็นการเขียนบันทึกชื่อ, ฉลาก, หรือความคิดรวบยอดทั้งหมดที่มีอยู่ในข้อมูล Glaser ได้นิยามการเขียนเพื่อเตือนความทรงจำไว้ว่า “การเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนี้ เป็นการสร้างทฤษฎีทฤษฎีนี้เกิดมาจากความคิดรวบยอด ที่มาจากการใส่รหัสและความสัมพันธ์ในการใส่รหัสที่ถูกใจ หรือโดนใจผู้วิจัยในขณะที่ทำการใส่รหัสการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนั้น อาจเป็นประโยค, ย่อหน้าหลายย่อหน้า,หรือจำนวนหน้าสัก 2-3 หน้าหรืออาจเป็นความคิดที่อยู่ในตัวผู้วิจัยแบบประเดี๋ยวประด๋าว เกิดขึ้นมาแบบฉันพลันแต่ที่สำคัญก็คือ ต้องมาจากข้อมูลเอง”

การเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำครอบคลุมสิ่งหลายสิ่ง สิ่งหลายสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่เป็นแก่นสารในตัวข้อมูลหรือเป็นทฤษฎี หรืออาจเป็นวิธีวิทยา หรืออาจเป็นการหยั่งรู้ในตัวผู้วิจัยเองก็ตามเมื่อการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำเป็นได้หลายสิ่ง นั่นย่อมแสดงว่าการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนั้นย่อมเป็นความคิดรวบยอดที่มีความลึกซึ้งมากกว่าการใส่รหัสโดยนัยนี้ การเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนั้นก็คือทางไปสู่การหากระสวน (pattern), แก่นเรื่อง (theme) หรือพาเราไปสู่ประพจน์ (preposition) ที่เป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเอง

สิ่งที่สำคัญในการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนั้นก็คือการหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร, ทฤษฎี, หรือวิธีวิทยาการวิจัย ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นก็คือการหาความคิดรวบยอด ที่หมายถึง ความคิด ความเข้าใจที่สรุปเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งอันเกิดจากการสังเกต หรือการได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นหลายๆ แบบแล้วใช้คุณลักษณะของสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นนำมาประมวลเข้าด้วยกันเป็นข้อสรุปของเรื่องนั้นไม่ใช่การบรรยายข้อมูลเหมือนการใส่รหัสเท่านั้น

การเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนั้นจะต้องเขียนจากความคิดรวบยอดเมื่อเขียนจากความคิดรวบยอด ก็แสดงว่าผู้วิจัยจะต้องหลุดพ้นจากข้อมูลเชิงประจักษ์(empirical data)โดยการนำข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีอยู่หลากหลายนั่น กลั่นออกมาเป็นความคิดรวบยอดหรือประพจน์ (preposition)ให้ได้นั่นเองการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำ ถึงที่สุดแล้วก็คือการวิธีการในเชิงอุปนัย (induction) โดยนัยนี้ การเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำก็คือการเชื่อมการใส่รหัสหลายอันและนำมาสู่ประพจน์นั่นเองในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพการรักษาวินัยในเชิงวิชาการกับการสร้างสรรค์ต้องมาด้วยกันและการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำนั้นก็คือการนำสิ่งใหม่ๆมาสู่การรักษาวินัยในเชิงวิชาการ อย่างไรก็ตาม ประพจน์ที่สร้างขึ้นมาจะได้ต้องถูกตรวจสอบ (verify) ในตอนต่อๆไปด้วย

ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์เชิงข้อมูลคุณภาพจะไม่มีกฎใดๆให้เราได้ยึดถือก็ตามแต่ในที่นี้มีกฎอยู่ข้อ 1 ที่เป็นข้อยกเว้น นั่นคือ เมื่อเราเจอข้อมูลเชิงคุณภาพให้เราใส่รหัสในทันที เมื่อเราใส่รหัสเป็นจำนวนมากแล้ว ให้เราหยุดการใส่รหัสนั้นซะการใส่รหัสจะเป็นความคิดรวบยอด บันทึกความคิดรวบยอดที่ได้ ก็คือการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำ และการเขียนนี้จะใช้เป็นตัวเก็บ(storage) และให้เราใช้ในคราวต่อไป

การสร้างข้อสรุปและพิสูจน์ข้อสรุปเป็นขั้นตอนที่ 3 ของการวิเคราะห์ ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประพจน์และมีความแตกต่างจากขั้นตอนอื่นๆทั้งหมดแต่อย่าลืมว่าขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับขั้นตอนก่อนหน้า

ขั้นตอนนี้นับว่ายุ่งยากที่สุดในบรรดาขั้นตอนก่อนหน้าเพราะว่าตอนนี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันซึ่งถึงแม้จะแตกต่าง แต่จำเป็นที่ต้องใช้พร้อมกัน มากกว่าจะเป็นขั้นเป็นตอนงานในขั้นตอนนี้เริ่มจากการบูรณาการการศึกษาก่อนหน้า หลังจากที่มีการใส่รหัสและการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำ ในขั้นตอนดังกล่าวจะมีป้ายชื่อ (labels) จำนวนมาก, มีระดับความเป็นนามธรรม (abstraction)ที่แตกต่างกัน, และมีการเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำอยู่เป็นจำนวนมากจุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ก็คือ การบูรณาการสิ่งที่ทำมาแล้วไปสู่ภาพของข้อมูลที่มีความหมายตอนต่อไปจะได้พูดถึงการสร้างความเป็นนามธรรม และการเปรียบเทียบซึ่งเป็นขั้นตอนในการสร้างภาพข้อมูลที่มีความหมายต่อไป

หนังสืออ้างอิง

Keith F. Punch (1998). Introduction to SocialResearch: Quantitative and Qualitative Approaches. London: Sage Publication

หมายเลขบันทึก: 570596เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท