SEEN มหาสารคาม _๐๙ : เตรียมเอกสารสำหรับการขับเคลื่อนฯ โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์


โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ เป็น ๑ ใน ๓ โรงเรียนสถานพอเพียงต้นแบบ ที่คณะกรรมการประเมินฯ เห็นว่า มี "ใจ" มี "หลัก" และมี "ศักยภาพ" ที่จะพัฒนาเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในวงสนทนากับผู้อำนวยการเขตและศึกษานิเทศก์ เราวิเคราะห์ว่า เรามีจุดแข็งคือ เรามีโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกพร้อมขับเคลื่อนฯ  และมีจุดอ่อนคือทุกโรงเรียนยังขาดการขยายความสำเร็จของตนออกไปยังเครือข่ายไปยังโรงเรียนภายนอก จึงได้ออกแบบการส่งเสริมแนวทางการขับเคลื่อนฯ ให้โรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก สลับกันเป็นเจ้าภาพในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเอาบริบทของโรงเรียนตนเองเป็นตัวอย่าง แล้วเปิดทางสร้างโอกาสให้โรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจ ส่งตัวแทนเข้าร่วมเรียนรู้ รวมทั้งนำผลงานมาเสนอแลกเปลี่ยนกัน

ทันทีที่ท่าน ผอ.สุรเชษฐ์ ช่างถม ทราบว่า โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ ผ่านการคัดเลือก ท่านดำเนินการขับเคลื่อนฯ ทันที โดยที่ผมยังไม่ได้สื่อสารแนวทางการขับเคลื่อนฯ ข้างต้น ท่านเชิญผมไปคุยกับครูและนักเรียนแกนนำทั้งโรงเรียน ผมจึงถือโอกาสอธิบาย ท่านเข้าใจในทันทีเช่นกัน และได้มอบหมายให้ อ.รักศักดิ์ ดำเนินการ ... ผมตกลงกับท่านว่าจะส่งเอกสารฝึกอบรมไปตั้งแต่เมื่อวาน แต่ด้วยงานประกันคุณภาพภายในสำนักศึกษาทั่วไป จึงได้ขอนำส่งท่าน ในวันนี้ ดังนี้ ครับ

BAR (Before Action Review)

คาดหวังอะไรในการนี้?

  • ทุกคนมีความรู้ และเข้าใจว่า อะไรคือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (ปศพพ.ด้านการศึกษา)
  • ได้ผู้มี "ใจ" อาสามาเป็นแกนนำขับเคลื่อน ปศพพ.ด้านการศึกษา"
  • ผู้บริหารและครูแกนนำขับเคลื่อน "เห็น" แนวทางการขับเคลื่อน ปศพพ.ด้านการศึกษา ในโรงเรียนของตน 
  • ทุกคนที่เข้าร่วม รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในกระบวนการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียน 
  • ได้แผนการขับเคลื่อนฯ ร่วมกัน มีกรอบเวลาชัดเจนว่า จะขอรับการประเมินเมื่อใด

แนวคิดและหลักการ

ด้วยบริบทของโรงเรียนนาดูนฯ ที่เป็นโรงเรียนสถานพอเพียงต้นเแบบ และการลงพื้นที่ประเมินฯ ตามบันทึกนี้ ทำให้เรามีข้อมูลในเบื้องต้นพอสมควรเกี่ยวกับ จุดเด่น จุดเน้น วิธีการขับเคลื่อนฯ ที่ผ่านมา และทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียน ตลอดทั้งแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยเฉพาะพระธาตุนาดูน และบุคลากรทั้ง ผู้บริหาร ครู และนักเรียนแกนนำก็ผ่านประสบการณ์การถอดบทเรียนโดยใช้หลัก ปศพพ. มาแล้ว ดังนั้น วิธีที่น่าจะดีที่สุดคือการ นำสิ่งที่มีอยู่ ทำอยู่ รู้อยู่ มาเรียนรู้และร่วมระดมสมองในมุมมอง (ภาษา KM เรียกว่า แว่นตา) ของ "หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง" ก่อนจะหารวมกันวางแนวทาง และแยกกลุ่มย่อมตามกลุ่มสาระหรือช่วงชั้น เพื่อร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติและบทบาทของตนๆ

อย่างไรก็ตาม การปรับระดับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ปศพพ.ด้านการศึกษา และทำให้ทุกคนเห็น "คุณค่า" และ "ความหมาย" ของ "วิสัยทัศน์ร่วม" (Shared Vision) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติในเบื้องต้น ก่อนจะค้นหาคนที่มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ มีจิตอาสา ที่จะมาเป็นแกนนำขับเคลื่อนฯ ในลักษณะของการขยายความสำเร็จ ความภูมิใจในแนวปฏิบัติของตนออกไป  อย่างไรก็ดี การสื่อสารแนวปฏิบัติที่ดีของตน ต้องมุ่ง "สอนคน" ให้ใช้ "หลักคิด" ไปทดลองทำ จนเกิด "แนวปฏิบัติ" จนได้ "หลักปฏิบัติ" ของตนเองต่อไป

ดังนั้นหลักการสำคัญ ๓ ประการที่ต้องตกลงกัน คือ

  • เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายความสำเร็จ ไม่ใช่การ "บอก สอน ป้อน สั่งการ" 
  • เป็นการร่วมกันทำงานเป็นทีม เรียนรู้เป็นทีม ไม่ใช่  "การสอนเดี่ยว ทำเดี่ยว เรียนเดี่ยว"
  • เป็นการพัฒนางานเดิม ไม่ใช่ "การเพิ่มเติมงานใหม่"

วิธีการและขั้นตอน

การฝึกอบรมในครั้งนี้ จึงจะกำหนดวิธีการขั้นตอนเป็น ๗ ช่วง ได้แก่

  • สำรวจให้รู้ตน 
  • กำหนดเป้าหมายในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ร่วมกัน BAR
  • บรรยาย อภิปราย และ Workshop เพื่อกำหนด "ความหมาย" และ "ความเข้าใจ" ให้ตรงกัน 
  • เล่าเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนฯ และตัวอย่างการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ 
  • Work Shop กลุ่มย่อย เพื่อระดมสมอง จัดทำแนวทางและแนวปฏิบัติในการขับเคลื่อนของกลุ่ม
  • สุ่มนำเสนอวิธีการขับเคลื่อนฯ โดยวิทยากรร่วมสะท้อนและให้ข้อเสนอแนะ
  • วางแผนการขับเคลื่อนร่วมกัน และ AAR

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้

  • กระดาษบลุ๊ฟขนาด A0 จำนวน = จำนวนกลุ่ม x ๒ + ๑๐ (สำหรับวิทยากร)  
  • สีชอล์ค กลุ่มละ ๑ กล่อง + ๑ กล่อง (สำหรับวิทยากร)
  • กระดาษ A4 หนึ่งรีม

เอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม

แน่นอนครับสิ่งที่ทุกคนควรมีคือ เกณฑ์ก้าวหน้า ดาวน์โหลดที่นี่ครับ

ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ไม่มีเอกสารเน้นการถ่ายทอดความรู้ แต่ใช้เอกสารเป็น เครื่อมมือกระตุ้นการเรียนรู้  โดยนำเสนอเป็นภาพความคิดรวบยอดในแต่ละภาพ และใช้สลับกับ Work Shop บนกระดาษ A4 เพื่อให้ทุกคนได้ "ฝึกคิด" กำหนด "นิยาม"  ได้ "ฝึกตีความ" ให้เกิดองค์ความรู้ เป็นครูของตนเอง

 

 










หมายเลขบันทึก: 570588เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์  ดร.ฤทธิไกร   ไชยงาม มากครับ    ผมจะดำเนินการเตรียมการตามคำแนะนำครับ  จะหาความรู่้ที่จำเป็น  สรุปย่อ  เกี่ยวกับหลัก  ปศพพ  และ  KM  เพื่อเป็นเอกสารประกอบ  ประมาณ 70 หน้าครับ  และจะรวมรวมหนังสือที่เกี่ยวข้อง  ใส่  CD ให้ครูทุกคนครับ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ...เข้าใจ..ประยุกต์ใช้...ขยายผล...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท