การปฏิรูปมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไทยนำไปสู่ความสุข


มีเพื่อนถามว่าจะมีพลวัตอะไรที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นกำลังที่สำคัญของสังคมในการเปลี่ยนแปลง

คำตอบคือคน ต้องพัฒนาคนให้มีลักษณะพฤติกรรมของคนในวัฒนธรรมที่มีความสุข ความเจริญ  คนลักษณะดังกล่าวเป็นอย่างไร  เป็นคนที่ขยัน อดทน มีวินัย ประหยัด มีจิตอาสา เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่จะเปลี่ยน

1) กระบวนการรับเข้านักศึกษา  
- จะพิจารณามากขึ้นว่านักศึกษารู้จักตนเองมากแค่ไหน  ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะที่นักศึกษาสามารถทำข้อสอบได้ดีแค่ไหน

- จะเน้นการพัฒนาคนดีให้เป็นคนเก่ง  มากกว่าการพัฒนาคนเก่งให้เป็นคนดี  เพราะการทำให้คนดีเป็นคนเก่ง ทำได้ง่ายกว่า การทำให้คนเก่งเป็นคนดี  จะให้น้ำหนักมากขึ้นว่านักศึกษาที่รับเข้าเป็นคนดีไหม  รักและกตัญญูต่อพ่อแม่ไหม เคยทำกิจกรรมอะไรให้สังคมไหม

2) กระบวนการรับบุคลากรเข้าทำงานในมหาวิทยาลัย

- จะรับคนดีมีทัศนคติที่ดี  ยินดีทำงานเป็นทีม  ไม่เป็นคนอิจฉาคนอื่น หรือไม่เป็นคนที่เห็นคนอื่นเด่นกว่าตนเองไม่ได้
- จะรับคนที่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่  มีจิตอาสา
- จะรับคนที่พร้อมที่จะเรียนรู้  ไม่คิดว่าตนเองทำไม่ได้ แต่จะลองทำในสิ่งที่ตนเองอาจจะไม่เคยรู้หรือไม่เคยทำมาก่อน

3) กระบวนการประเมินนักศึกษา

- เกรดจะแบ่งเป็น 3 ส่วน  1. ส่วนการพัฒนาตนเอง 2. ส่วนการช่วยเพื่อน 3. ส่วนความรู้ที่ควรได้รับจากวิชานี้
- transcriptก็จะแสดงเกรดแบบ  3 ส่วนนี้เพื่อให้ผู้ที่จะใช้บัณฑิตพิจารณาเองว่าบัณฑิตมีจุดอ่อน จุดด้อยอย่างไร แล้วจะรับไหม

4) กระบวนการประเมินบุคลากร

- จะมีการตั้งเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจน และประชุมแจ้งทุกคนที่จะรับการประเมินเพื่ออภิปรายและสรุปเกณฑ์การประเมินที่จะใช้
- ให้ทุกคนทำหน้าที่เป็นหัวหน้า ลองประเมินตนเองและคนอื่นในกลุ่ม 

- ประเมินผลงานของคนที่การรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี  การทำงานร่วมกันเป็นทีมกับผู้อื่นได้ และการหาวิธีที่จะปรับปรุงการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

"เทคโนโลยีไอซีทีสร้างโอกาสและรูปแบบใหม่การศึกษา ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ 

ครูยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญต่อวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน มากกว่าวิธีการสอนของครู ต้องเข้าใจการเรียนรู้ของนักเรียนแบบสร้างสรรค์ยุคใหม่ เปลี่ยนการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตร มาเป็นการสร้างทักษะและประสบการณ์ บูรณาการและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เปลี่ยนการเรียนการสอนตามตารางสอน มาสู่การปรับเวลาและเรียนตามต้องการของนักเรียนมากขึ้น
ปรับเปลี่ยนการเรียนเหมือนกันทั้งห้อง มาสู่การเรียนตามความต้องการและความสนใจของนักเรียนมากขึ้น
ปรับบรรยากาศการสอบ การแข่งขัน มาสู่ การเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยเหลือกันมากขึ้น
ปรับวิธีการเรียนผ่านหนังสือ มาสู่ การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต และใช้ออนไลน์ช่วยแสวงหาความรู้
เน้นทำให้นักเรียนกระตือรือร้น ให้สนุกอยากเรียนรู้ได้ทุกหนแห่ง เรียนรู้เพื่อชีวิต มากกว่าเพื่อต้องการกระดาษหนึ่งใบ"
- รศ. ยืน ภู่วรวรรณ 

หมายเลขบันทึก: 570256เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2014 04:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2014 00:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบใจกระบวนการนี้ครับ  การพัฒนาคนให้มีลักษณะพฤติกรรมของคนในวัฒนธรรมที่มีความสุข ความเจริญ 

แต่ระบบมหาวิทยาลัย ไม่ได้คัดคนดีๆคนเก่งเข้ามาทำงาน

แถมการประเมินในระดับมหาวิทยาลัย แย่มากๆเลยครับ(แต่ไม่ทุกมหาวิทยาลัยนะครับ) 

แนวทางทีดีคือ

ต้องคัดคนดี แล้ว คัดคนเก่งมาทำงานโดยเฉพาะระดับผู้บริหารครับ 

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท