เกณฑ์การแปลผล สำหรับการตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


    การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ เป็นการทดสอบที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ญาติร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน เช่น พี่-น้องร่วมแม่เดียวกัน (ตรวจได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย), ป้า (พี่สาวของแม่)-หลานชายหรือหลานสาว, ลุง (พี่ชายของแม่)-หลานชายหรือหลานสาว, น้าชายหรือน้าสาว-หลานชายหรือหลานสาว, ยาย (แม่ของแม่)-หลานชายหรือหลานสาว เป็นต้น

     สำหรับที่ ม.อ. เราทำการตรวจไมโตคอนเดรีย ครบทั้ง control region ขนาด 1,122 คู่เบส กล่าวคือ ครอบคลุมบริเวณ hypervariable region I (HV 1), variable region (VR), hypervariable region II (HV 2) และ  hypervariable region III (HV 3)

     ทีนี้ก็มาถึงเรื่องเกณฑ์การแปลผลครับ ซึ่งที่ม.อ. เราไม่ได้ใช้เกณฑ์เดียวกับที่กำหนดไว้ใน SWGDAM แต่เรากำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้น เพื่อเพิ่มในเรื่องความถูกต้อง (accuracy) ของการแปลผลให้สูงขึ้นครับ

เกณฑ์การแปลผล ตาม SWGDAM เกณฑ์การแปลผล ของ ม.อ.
คัดออก 
เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างตรวจที่สงสัยกับตัวอย่างตรวจอ้างอิง แล้วพบว่ามีลำดับเบสที่แตกต่างจากลำดับเบสอ้างอิงตั้งแต่สองตำแหน่งหรือมากกว่า แสดงว่าตัวอย่างตรวจที่สงสัยสามารถคัดออกจากการเป็นของบุคคลเดียวกัน หรือ มีความสัมพันธ์ร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน 
คัดออก 

เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างตรวจที่สงสัยกับตัวอย่างตรวจอ้างอิง แล้วพบว่ามีลำดับเบสที่แตกต่างจากลำดับเบสอ้างอิงตั้งแต่สองตำแหน่งหรือมากกว่า และไม่นับรวมตำแหน่งที่เกิดจากความยาวของเบส C-stretch ที่ไม่เท่ากัน แสดงว่าตัวอย่างตรวจที่สงสัยสามารถคัดออกจากการเป็นของบุคคลเดียวกัน หรือ มีความสัมพันธ์ร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน

ไม่สามารถสรุปผลได้
เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างตรวจที่สงสัยกับตัวอย่างตรวจอ้างอิง แล้วพบว่ามีลำดับเบสที่แตกต่างจากลำดับเบสอ้างอิงเพียงหนึ่งตำแหน่ง ผลการทดสอบจะไม่สามารถสรุปผลได้ 
ไม่สามารถสรุปผลได้
เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างตรวจที่สงสัยกับตัวอย่างตรวจอ้างอิง แล้วพบว่ามีลำดับเบสที่แตกต่างจากลำดับเบสอ้างอิงเพียงหนึ่งตำแหน่ง  และไม่นับรวมตำแหน่งที่เกิดจากความยาวของเบส C-stretch ที่ไม่เท่ากัน ผลการทดสอบจะไม่สามารถสรุปผลได้ 
ไม่สามารถคัดออกได้
เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างตรวจที่สงสัยกับตัวอย่างตรวจอ้างอิง แล้วพบว่าลำดับเบสทั่วไปที่แต่ละตำแหน่ง หรือ ความยาวของเบส C-stretch บริเวณ HV2 ไม่แตกต่างกัน แสดงว่าตัวอย่างตรวจนั้นไม่สามารถคัดออกจากการเป็นตัวอย่างตรวจของบุคคลเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์ร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน


ไม่สามารถคัดออกได้
เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างตรวจที่สงสัยกับตัวอย่างตรวจอ้างอิง แล้วพบว่าลำดับเบสทั่วไปที่แต่ละตำแหน่ง หรือ ความยาวของเบส C-stretch บริเวณ HV1 และ HV2 ไม่แตกต่างกัน แสดงว่าตัวอย่างตรวจนั้นไม่สามารถคัดออกจากการเป็นตัวอย่างตรวจของบุคคลเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์ร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน 

    เหตุผล ที่เรากำหนดเพิ่มเติมเข้าไป คือ เบส C-Stretch ทั้งบริเวณ HV 1 และ HV 2 ถือเป็น hot spot หมายถึงเป็นจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสได้ค่อนข้างบ่อย อีกทั้งในแง่ของการทดสอบ ก็ค่อนข้างยากในการอ่านความยาวของเบส C ที่แน่นอน  แม้ในข้อกำหนดของ SWGDAM ก็ยังระบุไว้ว่า ความยาวของลำดับเบส C บริเวณ HV 1 เราไม่จำเป็นต้องหาออกมาว่ามีทั้งหมดกี่ C แต่ถ้าเป็น HV 2 เราจะต้องอ่านออกมาให้ได้ว่ามีทั้งหมดกี่ C  ดังนั้น การนับรวมตำแหน่ง C-stretch เข้าไปด้วย จึงค่อนข้างเสี่ยงที่อาจแปลผลการตรวจได้ผิดพลาดครับ หมายถึงอาจเกิดผลบวกลวงได้  ดังนั้น ที่ ม.อ. เราก็เลยไม่นับรวมตำแหน่ง C-Stretch ไม่ว่าจะทั้ง HV1 หรือ HV2 เข้าไปด้วย

     แต่ที่ม.อ. ในทุกรายที่ทำการทดสอบไมโตคอนเดรีย เราก็จะตรวจ autosomal STR เพิ่มเติม แล้วใช้ ผล autosomal STR นี้ในการคำนวณค่า likelihood ratio แบบ fill sib, half sib, first cousin และ incest index จากนั้น ก็จะนำค่า likelihood ratio แต่ละประเภท มาพิจารณาร่วมด้วยในการแปลผลไมโตคอนเดรียครับ

หมายเลขบันทึก: 570169เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2014 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2014 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท