632. "การสร้างการมีส่วนร่วม (Inclusion): จิ๊กซอว์ความสำเร็จแห่งอนาคต"


วันก่อนไปนิด้าเพื่อเป็นวิทยากรในงาน HROD Talk ครั้งที่ 61 นั่งแท๊กซี่ไป ระหว่างทางคุยกันไปกันมาก็รู้ว่าผมเป็นอาจารย์ พี่แท๊กซี่เลยบอกผมว่า "...อาจารย์ช่วยไปบอกนักวิชาการหน่อยสิว่านี่เราจะเป็น AEC แล้ว แต่การเปิดไฟสัญญาณบ้านเรามันมั่วมาก เพื่อนบ้านนี่เวลาจะให้ทางก็กระพริบไฟครั้งเดียว เวลาไม่ให้ทางก็กระพริบหลายๆครั้ง บ้านเรามันมั่วเกินไป เปิ AEC คงมีปัญหาน่าดู"..

ผมฟังแล้วเออจริงแฮะ เห็นพูดเรื่อง AEC มีแต่เชิญนักวิชาการไปพูดมีแต่แง่มุมทางเศรษฐกิจ การเมือง แต่ไม่เคยได้ยินใครพูดถึงในแง่มุมนี้เลย ทำไมถึงไม่ได้ยินนี่แหละครับทางศาสตร์การพัฒนาองค์กรเรียกว่าการสร้างการมีส่วนร่วม (Inclusion) ... จริงๆ แล้วทาง OD เราเชื่อว่าการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนสำคัญมากๆ.. เพราะเราจะได้ความรู้ ได้กำลังจากคนรอบตัว มาต่อจ๊ิกซอว์ แก้ปัญหาได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะคนทุกคนล้วนมีดีทั้งสิ้น.. ผมเคยทำโครงการ OD กับธนาคารแห่งหนึ่งลูกศิษย์เอาแม่บ้านมาร่วมโครงการด้วย ซึ่งไม่ปรกติ ปรากฏว่าแม่บ้านคนนี้คนในชุมชนรู้จักและนับถือ เลยช่วยแนะนำคนของธนาคารให้ พอไปขายประกันนี่ทางโล่ง แม่บ้านคนนี้มีส่วนต่อยอดขายประกันกว่า 30% ทำให้ทุกคนได้ไปเที่ยวเกาหลี ยกเว้นแม่บ้าน ที่ในที่สุดทุกคนในธนาคารได้ทำเรื่องร้องขอ ในที่สุดแม่บ้านก็ได้ไปเที่ยวเกาหลี

Inclusion เป็นอะไรที่ทรงพลัง ในองค์กรปรกติเรามักดึงเฉพาะ Expert หรือผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการเข้ามา ทำให้บางครั้งมองข้ามครับ โรงงานบางที่ลูกศิษย์ผมไปดึงคนเก่าแก่ (คนงานชาวบ้าน) มาแก้ปัญหาเรื่องสายพานลำเลียง ที่เหล่าวิศวกร ที่ปรึกษาราคาแพง ซัพพลายเออร์บอกว่าไม่มีเทคโนโลยีใดๆ แล้วจะช่วยได้..สามารถแก้ได้ครับ..

นี่ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง The Edge of Tommorrow คล้ายกันมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องของการที่โลกถูกเอเลี่ยนสุดโหดเหี้ยมบุก.. ต่อมามีการค้นพบไอ้หนุ่มที่สามารถตายแล้วเกิดใหม่ได้ทุกวัน คือตายแล้วกลับไปเวลาเดิมเมื่อวันก่อน


ตอนแรกเจ้านี่ก็ฝีมือแย่ แถมบุคลิกภาพ ทัศนคติห่วยแตก ต่อมาก็ค้นพบว่าตัวเองสามารถแก้อดีตได้ แต่ต้องกลับไปแก้ทีละนิด เรียกว่าตายและเกิดใหม่หลายชาติ.. เขาพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อสู้เอเลี่ยน และในที่สุดก็มีคนมาเจอ ทั้งหมดก็ช่วยกันแก้ปัญหา จากสู้ไม่ได้ก็เริ่มสู้ได้ และยังมีความพยายามไปสร้างการมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆอีก ที่จะว่าไปก็ไม่ใช่ Superhero อะไร แต่ที่สุดด้วยความเก่งที่สั่งสมขึ้นผสมผสานกับการมีส่วนร่วม โลกก็พ้นจากหายนะได้..

Inclusion จึงเป็นอะไรที่สำคัญที่สังคม องค์กรมองข้ามไม่ให้ความสำคัญ ลองกลับมาพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างจริงจังเถอะครับ ผมเห็นพลังของเรื่องนี้มามากจริงๆ ใครทำ OD ถ้าทำเรื่องนี้ไม่ได้หรือมองข้าม เรียกว่ายังไม่รู้จริงครับ.. เป็นตัวเช๊คความรู้ได้เลย

"ความสำเร็จขององค์กรในอนาคตเกิดจากการต่อจิ๊กซอว์ความสำเร็จ ความรู้ ความดี กำลังของคนทุกคนในปัจจุบัน"

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

สำหรับท่านที่สนใจเรียนรู้การทำ OD แนวหนึ่งที่ผมถนัดคือ Appreciative Inquiry สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ครับ

Reference:

ภาพจาก http://natui.com.au/a/1114/AU-Sydney/?mode=section&SectionID=

Video จาก http://www.youtube.com/watch?v=yUmSVcttXnI

OD/Appreciative Inquiry จาก www.drpinyo.com

หมายเลขบันทึก: 570054เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2014 07:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2017 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จริงด้วยครับ

การทำ OD ต้องมีส่วนร่วมกับทุกๆฝ่าย

ขอบคุณมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท