จดหมายถึงลูก "เพรียง" ฉบับที่ ๑๗ ตอนบททดสอบมหาวิทยาลัยชีวิต บทที่ ๒


จดหมายถึงลูก "เพรียง" ฉบับที่ ๑๗ ตอนบททดสอบมหาวิทยาลัยชีวิต บทที่ ๒

คราวนี้ ถึงการเข้าสู่บททดสอบมหาวิทยาลัยชีวิต บทที่ ๒ ของน้องเพรียง...(พ่อของเจ้าฟ้าคราม)

ซึ่งบทแรกนั้น คือ การเตรียมรถไถเพื่อลงสู่ผืนนาผืนใหญ่ทั้งทุ่งสาน...ลูกของแม่ผ่านบททดสอบ

บทแรกนี้ได้อย่างสบาย...หนูบอกว่า...วัน สองวันแรกเล่นเอาแทบไข้ขึ้นเลย เพราะงานหนักมาก ๆ

แม่ได้ยิน ก็ได้แต่นึกอยู่ในใจว่า...อืม!!! ลูกแม่ได้ผ่านการทดสอบบทที่ ๑ แล้วล่ะ...เพราะสัปดาห์หนึ่ง

ผ่านไป ลูกของแม่ก็สามารถทำได้อย่างสบาย...เพราะเริ่มอยู่ตัวแล้ว...

ทีมของหนูมีอยู่ประมาณ ๕ คัน จะลงไถนากันก็ต่อเมื่อเจ้าของนามาว่าจ้างให้ทีมของพวกหนูลงผืนนา

สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ได้ค่าจ้างไถนาหลายพันอยู่...หนูเริ่มอยู่ตัว...ร่างกายปรับสภาพ...ฟิตและเฟิร์ม...

พร้อมรับกับการออกแรงกาย...

การทำนาหรือไถนานั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่ก่อนแม่ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องมากนักหรอก...เป็นลูกชาวนาก็จริง

เพราะสมัยก่อนพ่อจะจ้างรถไถนาใหญ่ ซึ่งใช้ผลาญรถไถใหญ่ เวลาไถก้อนดินจะเป็นก้อนใหญ่ ๆ

แต่น้องเพรียงเล่าว่า...ปัจจุบันนี้ เขาจะใช้รถไถเล็ก ไถนากันแม่...เขาไม่ใช้รถไถใหญ่แล้วเพราะดินไม่ละเอียด

พอรถไถเล็กไถนาเสร็จแล้ว...เขาจึงใช้รถไถเดินตามไถนาอีกครั้ง สองครั้ง แล้วแต่เจ้าของนา

เขาเรียกว่า "ย้ำเทือก"...และคนบังคับรถไถนาเดินตามเขาจะใช้สกีเหมือนกับสกีที่เล่นบนหิมะไง...

รถไถเดินตาม สมัยก่อนหนักมาก ต่อมาได้มีวิวัฒนาการขึ้น จึงเบากว่าสมัยก่อนมาก เพียงแต่บังคับ

ให้ไปตามทางของเราที่ต้องการให้ไป...

แม่นั่งดูอุปกรณ์ที่หนูเอามาทำกัน...แม่สงสัย แม่ก็จะถาม เพราะสมัยแม่นั้น แม่ไม่รู้ว่า มันคืออะไร?

น้องเพรียง บอกแม่ว่า...ที่เป็นเหล็ก ๆ มีใบพัดนั้น เขาเรียกว่า "เทือก"...เรายังต้องทำก่องอีกนะแม่

แม่ถามต่อว่า...ทำอย่างไร? น้องเพรียงบอกว่า...ต้องใช้ไม้ทำ ยาว ๔ เมตรต่ออัน...พอดีพ่อเรไปตัดไม้

สีเสียดมาพอดี เป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะถ้าใช้ไม้เนื้ออ่อน เวลาคาดดินก็จะทำให้พังได้ง่าย...

แม่เห็นน้องเพรียงและพี่ขวัญนั่งทำกันเองจนเสร็จ ใช้เวลา ๒ วัน...ก็ถามอีกว่า...เขาเอาไว้ทำอะไร?

น้องเพรียงบอกแม่ว่า...ตอนแม่ใช้รถไถเดินตามครั้ง สองครั้งเสร็จ ก็ต้องใช้ก่องไม้นี้คาดเพื่อให้ดิน

เรียบ ๆ เวลาข้าวขึ้นก็จะได้สวย ๆ...แม่บอกว่า..."เออ!!! ช่างคิดกันเน๊าะ!!!"...เห็นหรือไม่...นี่ก็คือ

ความคิดของชาวนา...ที่ไม่ใช่สักแต่ว่าจะหว่าน จะไถ...พวกเขาก็มีอารมณ์ศิลปะ คือ เมื่อไถ หว่านข้าว

แล้ว...เวลาต้นข้าวโตขึ้นก็ต้องขึ้นเสมอกัน จะมองว่าทำให้ข้าวสวยงามได้...

ทำให้แม่นั่งคิดต่อว่า...ไม่มีอาชีพไหนหรอกที่ได้มาด้วยความสบาย...ทุกอาชีพลำบากด้วยกันทั้งนั้น

เพียงแต่ต่างสถานภาพการทำมาหากินเท่านั้นเอง...และนี่คือ...บททดสอบมหาวิทยาลัยชีวิต บทที่ ๒

ของหนูไง...บทนี้ลูกของแม่ก็สอบผ่านจร้า...ไม่มีอะไรที่ดีเท่ากับการได้เรียนรู้ชีวิตด้วยตัวของเราเอง...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๘ มิถุนายน ๒๕๕๗

ภาพด้านล่างนี้คือ "เทือก" ที่ใช้ปั่นดินในนาก่อนหว่านข้าว...เพื่อตีดินให้แตกละเอียดจากรถไถเล็ก...

และภาพด้านล่างนี่ คือ ก่อง ที่ใช้ปาดหน้าดินในนาให้เรียบ หลังจากย้ำเทือกรอบที่ ๑ หรือ รอบที่ ๒ แล้ว...ซึ่งน้องเพรียงบอกว่า "หนักมาก" แต่ต้องใช้คนร่วมกันยกขึ้น ยกลง เพราะทำงานกันเป็นทีม จึงสามารถทำได้...ถ้าทำก่องสั้นก็จะเสียเวลาปาดหน้านา หลายครั้ง...สำหรับน้องเพรียง ทำยาว ๔ เมตร...บอกว่าจะได้เสร็จเร็ว ๆ แต่แม่คิดว่า...เพราะหนูขี้เกียจวิ่งหลายรอบมากกว่า คริ ๆ ๆ...เพราะบางคนเขาก็ทำอันสั้นกว่า ๔ เมตร สามารถยกคนเดียวได้...แต่น้องเพรียงบอกว่า...๔ เมตรนี่แหล่ะ ช่วยกันยกเอา จะได้เสร็จเร็ว ๆ...

หมายเลขบันทึก: 570043เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2014 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2015 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท