ตอนที่ 4 การบริหารความเสี่ยง ชลอเสื่อม (Battery Syringe Pump)


....

     การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากห้องผ่าตัด (OR) ไปยังห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจาก (ICU) ไปยังหอผู้ป่วย (Ward) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีส่งต่อ (Refer) ที่กล่าวมาข้างต้น บางเคส (Case) ต้องติดเครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือด (Syringe Pump) หรือ เครื่องควบคุมการให้สารละลาย (Infusion Pump) ติดไปด้วย

...........

พยาบาล  "เครื่องแบตฯหมด.....>_<"

              "เอาเครื่องไหนไปดี ที่แบตฯจะไม่หมด!"

     ปัญหาเหล่านี้อาจมองดูมีทางเลือกว่า ก็นำเครื่องที่มีแบตฯ ใหม่ๆ ไปสิ หรือไม่ก็นำเครื่องที่ใช้ได้นานๆ ไป จะให้ดีเอาเครื่องที่พึ่งชาร์จแบตฯเต็มๆ ไป

     นั่นคือทางเลือก แต่...จะเลือกอย่างไร

     เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนี้แบตเตอรี่พร้อมใช้งาน และใช้งานได้กี่นาที....

     เป็นเหตุผลที่ผู้เขียนได้ดำเนินกิจกรรมคุณภาพ ปิดป้ายบ่งชี้รับประกันแบตเตอรี่ และ ป้ายบ่งชี้ประสิทธิภาพแบตเตอรี่ ...

...ดูอย่างไร...

ภาพป้ายบ่งชี้ รับประกันแบตเตอรี่ (Warranty Battery)

ป้ายบ่งชี้บอกอะไร?

     ...บอกวันที่เริ่มใช้งาน (Done Date)... และวันหมดอายุ (Due Date) ดังรายละเอียด

รู้ได้อย่างไรว่าแบตฯรับประกัน กี่เดือน กี่ปี (เป็นข้อตกลงจากสัญญาซื้อ ต้องระบุว่าอยากให้บริษัทคู่สัญญา รับประกันแบตเตอรี่กี่ปี แนะนำให้บริษัทรับประกันให้นานที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่ 1ปี ถึง 5 ปี จะดี)
นั่นคือประเด็นแรก ทราบถึงระยะเวลาการรับประกัน

การเลือกเครื่องสำหรับการ refer ผู้ป่วย

ขั้นแรกให้ดูว่าแบตฯใหม่ หรือ แบตฯเก่า กรณีแบตฯใหม่ย่อมสามารถใช้ได้นานกว่า

...แต่ยังก่อน แบตฯใหม่อาจใช่งานได้ไม่นานอย่างที่คิด แล้วอะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะใช้ได้นานจริง ...
ทดสอบแบตเตอรี่ว่าใช้ได้นานกี่นาที่ จากนั้นปิดป้ายบ่งชี้ ให้ชัดเจน
;Test Battery by Rate 5 ml/h by with syringe pump 50 ml

ข้อสังเกต

สามารถดูได้จากป้ายบ่งชี้ประสิทธิภาพแบตเตอรี่ สามารถใช้งานได้กี่นาที เพื่อประกอบการตัดสินใจในการนำเครื่องไปใช้งาน

ข้อแนะนำ ให้เปิดเครื่องดูสถานะไฟแสดงปริมาณแบตเตอรี่ก่อน ว่ามีกี่ขีด (ไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่ ปกติ 3 ขีด)
สรุปคือ
1. ดูป้ายรับประกัน แบตเตอรี่หมดอายุหรือยัง (ควรเป็นเป็นแบตเตอรี่ที่ยังไม่หมดอายุ)
2. ดูป้ายประสิทธิภาพ ใช้งานได้กี่นาที่ (ต้องใช้งานได้ 300 นาทีขึ้นไป)
3. เปิดเครื่อง ดูขีดปริมาณแบตเตอรี่มีกี่ขีด (ควรเต็ม 3 ขีด)
กิจกรรมคุณภาพ (HA) การบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือด (Syringe Pump Preventive Maintenance)

medicalservice

pairfar

Links

- โครงการ "KM-Battery Syringe Pump for long life"CQI

ทีมา google site "medicalservicลบลิงค์e" ส่วนหนึ่งของการบันทึกเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน

คำสำคัญ (Tags): #battery syringe pump#syringe pump
หมายเลขบันทึก: 569884เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2014 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2014 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตเอาบันทึกนี้ไปบอกเล่าต่อในกระดานข่าวคณะแพทย์ม.สงขลานครินทร์ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท