การจัดการความรู้สู่ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา


ครูและบุคลากรในสถานศึกษาคือตัวจักรสำคัญที่จะผลักดันให้ทุกอย่างประสบผลสำเร็จ

              โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้และได้เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน    โดยยึดหลักการกระจายอำนาจในการบริหารงาน ตลอดจนการตัดสินใจดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ   ในโรงเรียน เช่น คณะกรรมการสภาครู คณะกรรมการสายชั้น คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ ฯลฯ  ซึ่งสอดคล้องกับการจัดระบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน SBM (School Based Management) ดังนั้นจึงได้นำเครื่องมือการจัดการความรู้ KM (Knowledge Management)มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานโรงเรียนในเรื่องต่อไปนี้

1)    การปฏิรูปการเรียนรู้และหลักสูตร  ได้ดำเนินการดังนี้-         ส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในลักษณะบูรณาการความรูทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับชีวิตจริง เช่น บูรณาการร่วมกับโครงการห้องเรียนสีเขียว และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นต้น

-         นำนักเรียนไปศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้กับ  โรงเรียน เช่น  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ศูนย์การเรียนรู้ตามธรรมชาติสนองแนวพระราชดำริฯ "เศรษฐกิจพอเพียง"

-         เชิญปราชญ์ชาวบ้าน/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียน เช่น การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้าน  การสานปลาตะเพียน  การสานพัด  การทำหัวโขน  การทำโรตีสายไหม ฯลฯ -         ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (long Life Education) โดยจัดบริการอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนในด้านการบริการข่าวสาร ข้อมูล และการศึกษาหาความรู้จากห้องสมุด  ศูนย์อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

2)    การปฏิรูปการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด-         มีการปรับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา โดยใช้บริบทอยุธยามรดกโลก

- ส่งเสริมให้ครูพัฒนานวัตกรรมการสอนโดยใช้โมเดลของโรงเรียน หรือ JIRASART  Teaching's Model   ซึ่งได้นำพยัญชนะต้นชื่อโรงเรียนภาษาอังกฤษ      มากำหนด ดังนี้

J มาจากคำว่า Joyfull to learning  หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง    ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง และมีความสุขในการเรียน 

I มาจากคำว่า Integrating  knowledge หมายถึง การนำความรู้จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมาบูรณาการสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่

R มาจากคำว่า Reflecting observation  หมายถึง การสะท้อนความรู้สึกนึกคิดจากการสังเกต ออกมาเป็นคำพูด หรือการเขียนเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เข้าใจ

A มาจากคำว่า Acting experimentation  หมายถึง การลงมือปฏิบัติ/ ทดลอง     ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้

S มาจากคำว่า Satisfaction หมายถึง ความภาคภูมิใจในผลงาน และการยอมรับความรู้ ความสามารถของตนเองและผู้อื่น

A มาจากคำว่า Achievement  หมายถึง การมุ่งมั่นทำงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นดำเนินการจนสำเร็จ

R มาจากคำว่า Research & Development  หมายถึง การค้นหาปัญหา ข้อบกพร่องของผลงานหรือการทำงานและหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

T มาจากคำว่า Teamwork  หมายถึง การรู้จักทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่น

ครูสามารถดำเนินการสอนตามโมเดลการสอนของโรงเรียนจิระศาสตร์ได้ดังนี้1.     ขั้นการให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข (Joyfull  to learning)ขั้นนี้เป็นการใช้เกม เพลง หรือกิจกรรมประกอบบทเรียน ให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นอยากเรียนและได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

2.     ขั้นการบูรณาการความรู้  (Integrating  knowledge)ขั้นนี้เป็นการทบทวนความรู้เดิมและการให้ความรู้ใหม่แก่นักเรียน              โดยผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลความรู้ที่หามาได้

3.     ขั้นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด  (Reflecting observation)     ขั้นนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน จากการสังเกต      ออกมาเป็นคำพูด หรือการเขียนเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เข้าใจ

4.     ขั้นการลงมือปฏิบัติ/ ทดลอง (Acting experimentation)ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจะต้องได้ลงมือปฏิบัติจริง 5.     ขั้นการสร้างความภาคภูมิใจในผลงาน  (Satisfaction)ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนไปศึกษาค้นคว้ามา และอาจนำเสนอผลงานในรูปแบบการรายงาน หรือการจัดแสดงนิทรรศการ

6.     ขั้นการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ  (Achievement)ขั้นนี้เป็นการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้เดิม และความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย

7.     ขั้นการวิจัยและพัฒนา  (Research & Development)ขั้นนี้เป็นการทบทวนผลงาน ผลการศึกษาค้นคว้าว่ามีปัญหา ข้อควรแก้ไขอะไรบ้างและหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น

8.     ขั้นการทำงานเป็นทีม  (Teamwork)ขั้นนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้านการเรียนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น-         ส่งเสริมให้มีการประเมินครูแกนนำเพื่อเป็นครูต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด-         สนับสนุนให้มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยจัดให้มีการนิเทศโดยเพื่อนครู  ผู้บริหาร  และผู้ทรงคุณวุฒิ

3)  การบริหารแบบมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจ-         ให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมและมีการกระจายอำนาจการบริหาร โดยการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาครู  คณะกรรมการสายชั้น  คณะกรรมการฝ่าย 6 ฝ่าย (ฝ่ายวิชาการ, กิจการนักเรียน, บุคลากร, อาคาร-สถานที่,  ธุรการ-การเงิน, และฝ่ายความสัมพันธ์กับชุมชน)

-         จัดระบบการบริหารงานตามวงจรเดมมิ่ง เพื่อให้การประสานงาน        ติดตาม ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผล

-         จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ นำไปศึกษาดูงาน นิเทศภายในให้คำปรึกษาและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของครูอย่างต่อเนื่อง

-         สร้างเครือข่ายผู้ปกครอง ระดมความคิดเห็น คำแนะนำข้อเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียน และโรงเรียนโดยส่วนรวม

-         ส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ
ได้มีบทบาท มีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน
-         คณะครูได้มีการจัดตั้งกลุ่ม STAR (Small Team Activity Relationship) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกประมาณ 12-15 คน     มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบในสายชั้นของตนเอง เช่น การแก้ปัญหานักเรียน
ที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง
  การฝึกระเบียบวินัยและมารยาทการไหว้ เป็นต้น 

การประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

-         ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนนำกระบวนการพัฒนาฯ   ตามวงจรเดมมิ่ง  (P D C A) มาใช้ในการดำเนินงานในทุกๆด้าน

-         กำหนดเป้าหมายและเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่พึงประสงค์

-         วิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวมระดับโรงเรียน ระดับชั้น และหมวดวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ

-         วิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข

-         ปรับปรุงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

-         สรุปรายงานเสนอผู้ปกครองหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ให้หน่วยงาน      ที่เกี่ยวข้องรับทราบ

-         จัดทำรายงานการประเมินตนเอง SSR (Self Study Report) เสนอสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  (สมศ.) เพื่อขอรับการประเมินภายนอก 
 

การประกันคุณภาพภายนอก

      โรงเรียนได้มีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบประเมินภายใน (Internal Audit) ทำหน้าที่กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินคุณภาพ ของ สมศ. พร้อมทั้งจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ส่งให้ผู้ประเมินภายนอก  ทั้งนี้โรงเรียนได้รับการประเมินภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทั้งสองรอบ และผ่านการประเมินทุกมาตรฐานเป็นอย่างดี

 

การพัฒนาบุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษา

-         โรงเรียนจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดยการจัดประชุม     อบรม สัมมนา ศึกษา-ดูงานด้านการเรียนการสอนทั้งในประเทศและ   ต่างประเทศ

-         จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนครูและผู้บริหารกับสมาคมทางการศึกษา  ของประเทศสหรัฐอเมริกา  "Hopkins Education Association" เป็นประจำทุกปี  โดยมีครูและผู้บริหารโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ มลรัฐมินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 คน ออสเตรเลีย  2  คน

-         จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการปฏิรูปการศึกษา และขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาในการเป็นวิทยากรภูมิปัญญาชาวบ้านให้การอบรมความรู้แก่นักเรียน เช่น ด้านพิพิธภัณฑ์เรือไทย โดย อาจารย์ไพฑูรย์  ขาวมาลา  ด้านการสานพัด โดย อาจารย์ประสาน  เสถียรพันธุ์  เป็นต้น 

การปฏิรูปการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา

-         ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีความสำคัญมากคือ "เงิน" ซึ่งโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวจากรัฐบาล สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 40 โรงเรียนจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้จ่ายเงินทุกบาททุสตางค์ต้องคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง และได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในอัตราส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับการสนับสนุนด้านอื่นๆ

-         จัดให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นให้ความอนุเคราะห์แก่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือ สภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใช้สถานที่หอประชุมของโรงเรียน จัดประชุมคณะกรรมการอยู่เป็นประจำ ตลอดจนการให้บริการรถโรงเรียนแก่หน่วยราชการที่ขอยืมรับ-ส่งในโอกาสต่างๆ

 การใช้เทคโนโลยีการศึกษาและสารสนเทศ (ICT) เพื่อการบริหารและการเรียนการสอน-        
โรงเรียนได้พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารและการเรียนการสอน โดยวางระบบ LAN (Local Area Network)สามารถเชื่อมโยงเครือข่าย  ข้อมูลสารสนเทศได้รวดเร็ว ทั่วถึง

-         ได้ร่วมมือกับบริติชเคาน์ซิล (British Council) พัฒนาเว็บไซต์การศึกษา  ของโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา                      โดยใช้ชื่อ http://www.montageworld.co.uk/Thailand       และ http://www.jirasart.com     

    การจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย-         นอกจากการจัดการศึกษาในระบบแล้ว โรงเรียนยังได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการศึกษาตามอัธยาศัย   โดยจัดให้มีโครงการ "ห้องเรียน ในโลกกว้าง" โดยจัดตั้งInternetให้บริการครูและนักเรียนศึกษาค้นคว้าข่าวสารข้อมูลความรู้ต่างๆอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

          จากการดำเนินการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานโรงเรียนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทำให้โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาได้รับรางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับทุกประเภท อาทิ เป็นโรงเรียนรับรางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา  ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา  ส่วนผู้บริหารได้รับคัดเลือกเป็น ผู้บริหารดีเด่นรับรางวัลคุรุสภา และ ได้รับคัดเลือกเป็น ผู้บริหารต้นแบบ ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นต้น 

หมายเลขบันทึก: 56948เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณเป็ยอย่างสูง ในความรู้ ความคิด และประสบการณ์ที่ท่านได้กรุณาบอกเล่าแลกเปลี่ยนจะเป็นประโยชน์ต่อการได้ประยุกต์ใช้ต่อไป

                                นาย สุภาพ  แก้วได้ปาน

ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์  ย่อมแสดงให้เห็นภาพด้านความคิด

มีการบูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์มาใช้ในการปฏิบัติ

นี่ซิ  เยี่ยมจริงๆ  แต่จะให้เยี่ยมกว่านี้  นำความคิดไปสู่การปฏิบัติจริง นี่ซิถือว่าที่สุดของความสมบูรณ์

ขออนุญาตนำบทความไปใช้ในการเรียน ป.โท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท