ตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗

ในงาน "บริหารงานบุคคล" ท้องถิ่นมักสับสนกับคำที่ใช้แทน "ตำแหน่งลงนาม" ในการปฏิบัติหน้าที่

ซึ่งหากมีการใช้คำแทนตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ จะมีผลต่อความสมบูรณ์ของการปฏิบัติหน้าที่ในทางปกครอง ตามหลักกฎหมายที่ว่า "ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ" เพราะหากใช้คำแทนตำแหน่งไม่ถูกต้อง เป็นการกระทำที่ "มิชอบ" ได้

คำแทนตำแหน่ง ที่สับสนมีอยู่จำนวน ๕ คำ ได้แก่

(๑) "รักษาราชการแทน"(ใช้สำหรับปลัดฯ,หน.ส่วนฯ)

(๒) "ปฏิบัติราชการแทน"(ใช้สำหรับปลัดฯ,หน.ส่วนฯในการมอบอำนาจให้ทำแทนตน)

(๓) "รักษาการในตำแหน่ง"(เป็นหลักการยกเว้นข้ออื่น ๆ ใช้คำว่า "รักษาการในตำแหน่ง" โดยให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถ ความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการสูงสุด (ทั้งสายงานผู้ปฏิบัติ และ สายผู้บริหาร))

(๔) การยืมตัวมา “ช่วยปฏิบัติงาน" (ชั่วคราว) (ใช้ในกรณียืมตัวข้าราชการท้องถิ่นต่างประเภท หรือ ขอยืมตัวข้าราชการอื่นที่มิใช่ท้องถิ่นมาปฏิบัติงานชั่วคราว)

(๕) การไป “ช่วยปฏิบัติราชการ" (ชั่วคราว) (เป็นการไปช่วยราชการชั่วคราวโดยปฏิบัติเต็มเวลา ครั้งละ ๖ เดือน ได้ ๒ ครั้ง โดยมีเหตุผลความจำเป็น ใช้ในกรณีข้าราชการในหน่วยเดียวกัน หรือข้าราชการประเภทเดียวกันไปช่วย(ปฏิบัติ)ราชการ เช่น บุคคลากร ๓ สป.อบต.ก ไปช่วย(ปฏิบัติ)ราชการ ส่วนการคลัง อบต.ก, หรือ บุคคลากร ๓ สป.อบต.ก. ไปช่วย(ปฏิบัติ)ราชการ ส่วนการคลัง อบต.ข เป็นต้น)

กรณีตาม (๕) ใช้แก่ในส่วนราชการอื่นภายในอปท.เดียว กันหรือต่างอปท.หรือส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น (ภายใน อปท.นั้น ๆ หรือ อปท.หรือส่วนราชการอื่น ๆ)

++++++++++++++++++

สำหรับคำอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล อาทิ การขอยืมตัว(ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น) เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการต่าง ๆ

.... คำเหล่านี้มันมีความในตัวของมันเอง แต่ละคำมันมีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น

(๑) "การขอตัวข้าราชการท้องถิ่นอื่น หรือข้าราชการพนักงานอื่นมาเป็นกรรมการพัสดุ"(อันนี้เป็นระเบียบพัสดุฯ กรณีที่ข้าราชการท้องถิ่นมีไม่พอ หรือ ต้องการข้าราชการอื่นผู้มีความรู้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องบริหารงานบุคคล เป็นเรื่องเฉพาะพัสดุ)

ตามข้อ ๒๘ วรรคสอง แห่ง ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๓๕ (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕) บัญญัติว่า “การแต่งตั้งข้าราชการอื่นเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี”

(๒) หรือขอตัวข้าราชการท้องถิ่นอื่นหรือข้าราชการอื่นมาเป็นกรรมการสอบสวนข้อ เท็จจริง หรือ สอบสวนทางวินัย(เป็นกรณีเช่นเดียวกับกรณีกรรมการพัสดุ)

ตามข้อ ๓๓ วรรคแรก แห่ง ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ บัญญัติว่า “…หากไม่มีพนักงานเทศบาลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อ ประโยชน์ในการสอบสวนหรือเพื่อความยุติธรรมจึงพิจารณาแต่งตั้งจากข้าราชการ ฝ่ายพลเรือนหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น โดยได้รับความยินยอมจากต้นสังกัดก็ได้ …” ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ ๓๑ วรรคแรก

++++++++++++++++++

ข้อสังเกต

(๑) หลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นยอมรับว่าดูระเบียบยาก เพราะ มี คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด หรือที่เรียกว่า "ก.จังหวัด" ทุกจังหวัด จำนวน ๗๖ แห่ง (ศาลวินิจฉัยว่า ก.จังหวัดเป็นองค์กรการบริหารงานบุคคล เช่นเดียวกับ กถ. และ ก.กลาง) ต้องดูประกาศ ก.จังหวัดของแต่ละจังหวัด (ก.ท.จ., ก.อบต.จ. และ ก.จ.จ.) แล้วยังไม่พอ ต้องหันไปดู ประกาศมาตรฐานกลาง ของ กถ. และ ประกาศมาตรฐานทั่วไปของ ก.กลาง ด้วย

(๒) ตามประกาศ ก.ท.จังหวัดฯเรื่อง การรักษาราชการแทนหัวหน้าส่วนราชการ ข้อ ๒๗๐ จะไม่มีคำว่า "หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติราชการได้" จึงไม่ใส่ไว้ เพราะจะไปขัดแย้งกับ ข้อ ๒๗๓ เนื่องจาก ข้อ ๒๗๓ ได้บัญญัติว่า "...หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้มีการกำหนดไว้เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนและการรักษาราชการแทน..." อันเป็นถ้อยคำเดียวกันไว้ ในเรื่องของ "การรักษาการในตำแหน่ง"

+++++++++++++++++++

อ้างอิง

ลองดูตัวอย่างในกรณีของเทศบาลตาม ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๕

ข้อ ๒๖๙ ในกรณีที่ไม่มีปลัดเทศบาล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดเทศบาลเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดเทศบาลหลายคน ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองปลัดเทศบาลคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งพนักงานเทศบาลในเทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการ แทน

ในกรณีที่ไม่มีรองปลัดเทศบาล หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้นายกเทศมนตรีจะแต่งตั้งพนักงานเทศบาลใน เทศบาลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้

ข้อ ๒๗๐ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งพนักงานเทศบาลในสำนัก กองหรือส่วนราชการนั้นคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควร ให้เป็นผู้รักษาราชการแทนได้ แต่เพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการปฏิบัติราชการในสำนัก กองหรือส่วนราชการนั้น นายกเทศมนตรีอาจจะแต่งตั้งพนักงานเทศบาลคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำ กว่า ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้รักษา ราชการแทนก็ได้

ข้อ ๒๗๓ ในกรณีที่ตำแหน่งพนักงานเทศบาลตำแหน่งอื่นว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้มีการกำหนดไว้เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทนและการรักษา ราชการแทน ให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจสั่งให้พนักงานเทศบาลที่เห็นสมควรให้รักษาการใน ตำแหน่งนั้นได้ โดยให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถ ความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการสูงสุด

สำหรับกรณีตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถาน ศึกษาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้และมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้ ช่วยไว้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเป็นผู้รักษาการในตำแหน่ง ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหลายคน ให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย คนหนึ่งหรือหลายคนรักษาการในตำแหน่งตามลำดับไว้เป็นการล่วงหน้าได้ผู้ รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมาย หรือคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น เป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่ใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้น ในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี

ข้อ ๒๘๑ ในประกาศนี้

“การสั่งพนักงานเทศบาลไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการชั่วคราว” หมายความว่า การให้พนักงานเทศบาลไปช่วยปฏิบัติราชการในส่วนราชการอื่นภายในเทศบาลเดียว กันหรือต่างเทศบาลหรือส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น

ข้อ ๒๘๔ ในหลักเกณฑ์นี้

“การขอยืมตัวข้าราชการ” หมายความว่า การที่เทศบาลขอยืมตัว ข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างเทศบาลมาปฏิบัติงานใน เทศบาลเป็นการชั่วคราว”

++++++++++++++++++

สรุป การรักษาราชการแทน ปฏิบัติราชการแทน รักษาการในตำแหน่ง ฯ เทศบาล

« เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2009, 03:56:11 PM »

http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,6120.msg188641.html#msg188641

http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,4524.msg78493/topicseen.html#msg78493

หมายเลขบันทึก: 569107เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2014 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2018 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท