บ. บาตร


ในสายพระป่านั้น บาตรเป็นบริขารอย่างหนึ่งซึ่งต้องระวังรักษาเป็นอย่างมากเพราะหากกระทบกระแทกก็จะแตกพังแรกๆก็ไม่เข้าใจหรอกแต่รู้แล้วว่า  บาตรของพระครูบาอาจารย์นั้นเป็นบาตรเหล็กเผาอบไฟให้เป็นไฮ(เขาพากันเรียกแต่ทำดูแล้วน่าจะมาจากคำว่าไฮคาบอน)สนิมจะไม่ขึ้น หากกระแทกมันจะแตกกระเทาะออกท่านจึงให้ระวังรักษาเป็นอย่างดี ซึ่งการใช้บาตรเผามิใช่ใช้สวยงามแต่ให้ใช้เป็นการฝึกระวังรักษาของ เพราะกว่าจะเผาได้ก็ยากบางคนมีวาสนาได้ใช้แต่รักษาไม่ได้แตกออกก็อาจไม่ได้ใช้อีกเพราะเผายากมากอันนี้จริงซึ่งในช่วงว่างๆจากภารกิจตอนนี้ก็มีเวลามาเผาบาตรถวายครูบาอาจารย์พร้อมกับสอนพระอีกรูปให้ทำ เพราะหากทำไม่เป็นนั้นจะสิ้นเปลืองจตุปัจจัยเป็นอย่างมาก ลองคิดดูบาตรเหล็กยังไม่เผาไฟก็ลูกละ ๑,๗๐๐ - ๒,๐๐๐ บาท ค่าถ่านอีกรอบละประมาณ๑๐-๑๒ กระสอบ กระสอบละประมาณ ๑๒๐ -๑๕๐ บาท โดยมากเผาสองรอบก็ได้ใช้ แต่หากบางทีหลายรอบยังไม่ได้ใช้ก็มีแถมบางทีบิดเบี้ยวถลุก็มี นี้ยังไม่รวมค่าถังแสตนเลสหรือถังแก็สประมาน ๕,๐๐๐ - ๘,๐๐๐ พร้อมพัง น้ำมันสองร้อยลิตรอีกใบละ ๖๐๐ บาทแต่ถังมันใช้ได้หลายที เผาครั้งละประมาณ ๘ - ๑๒ ชั่วโมง ซึ่งวิธิการของพระผู้เผาบาตรแต่ละคนก็อาจไม่เหมือนแต่จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยในเรื่องของแทคติกเฉพาะตัว ในส่วนตัวมั่นใจว่าถ้าเผา ๑๐ ลูก ได้ใช้ก็น่าจะ ๖-๘ ลูก

เริ่มแรกก็คือต้องนำทรายก่อสร้างมากองไว้ปรับระดับให้เสมอกันและให้สูงกว่าพื้นดินประมาณ ๕ - ๗ ซ.ม.แต่บางคนอาจขุดร่องตรงกองทรายก่อนแล้วแต่เหตุการณ์

                  

ต่อมานำถังแสตนเลสหรือถังแก็สที่ตัดแล้วมากดแล้วยกออกให้เห็นร่อง

 แล้วนำอิฐมอญสามก้อนมาเรียงไว้สามมุมรองรับบาตรตรงนี้สำคัญอิฐสามก้อนต้องระดับเท่ากัน บางคนอาจใช้อิฐครึ่งก้อน แล้วทุบเอาใส้ถ่านไผฉายมาวางไว้บนอิฐ ซึ่งใส้แกนถ่านไฟฉายตัวนี้เป็นตัวที่ทำให้เกิดปฏิกิริยากับเหล็กเมื่อถูกความร้อนแล้วทำให้เกิดไฮเครือบบาตรบางที่ก็ไปเอาใส้ถ่านเก่ามาใช้ก็ได้แต่ในความคิดส่วนตัวใส้ถ่านเก่ามันหมดประจุไฟแล้วคุณภาพการเกิดปฏิกิริยาน่าจะน้อยลงจึงชอบใช้แต่ใส้ถ่านใหม่

แล้วทำความสะอาดบาตรมาวางบนใส้แกนถ่านไผฉายที่วางบนอิฐในตรงนี้บางคนอาจทุบขวดกระทิงแดงเอ็มร้อยหรือขวดแก้วที่มีสีตามต้องการวางไปข้างๆด้วย ซึ่งหากเป็นบาตรใหม่ที่ยังไม่เคยเผาต้องขัดน้ำยากันสนิมออกก่อนซึ่งบาตรเหล็กตีนั้นก็มีกันที่ซอยบ้านบาตร แถววรจักรยังเหลือคนทำบาตรเหล็กตีอยู่บ้าง ก็เลือกเอาบาตรที่สำคัญคือเนื้อเหล็กถ้าเนื้อเหล็กดีก็สามารถเผาไฟร้อนสูงได้และเกิดไฮแวว วาว แต่หากคุณภาพเหล็กไม่ดีก็อาจได้ไม่ถูกใจแต่ทุกวันนี้หาเหล็กคุณภาพดีได้น้อยสังเกตุจากน้ำหนักบาตรตนเองและบาตรครูบาอาจารย์ที่เคยอุ้มของเราเบากว่าตั้งมาก แต่ในรูปคือบาตรที่ผ่านการเผามาแล้ว ๑ ไฟแต่ยังไม่สวย จึงต้องซ้ำไฟที่สอง แล้วนำถังสแตนเลสหรือถังแก็สมาครอบให้อยู่ตรงกลางพอดีหากเอียงซ้ายหรือขวาไฮอาจไม่สมำ่เสมอและอาจพองได้ในข้างที่บาตรใกล้ถัง ถังที่ครอบต้องทำความสะอาดด้วยบางทีลืมทำความสะอาดเศษต่างตกใส่แทนที่บาตจะสวยกลับก้นบาตรเป็นรอยก็มี

เสร็จตรงนี้ให้นำถังน้ำมันสองร้อยลิตรที่เปิดปากถังออกแล้วตัดเอาประมาณสองข้อถังอันนี้เพราะว่าถ้าสูงเกินมันมองไม่เห็นไฟและเติมถ่านยาก มาครอบด้านนอกถัง พร้อมรองด้วยอิฐยกสูงขึ้นเพื่อให้มีช่องระบายอากาศบางคนอาจทำเหล็กเป็นสลักตั้งก็มี แล้วตักถ่านใส่ให้เต็มโดยตรงนี้ต้องค่อยๆตักห้ามให้มันกระแทกถังข้างในมากมันอาจเคลื่อนที่ได้ แล้วค่อยจุดไฟข้างล่าง ในส่วนถ่านนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งหากถ่านดีให้ความร้อยสูงมันก็สามารถกำหนดอะไรได้หลายประการแต่โดยมากถ่านที่ซื้อทั่วไปกระสอบละ ๑๒๐ - ๑๕๐ บาทบางทีก็ไม้รวมแรงบ้างไม่แรงบ้าง แต่ที่เรานำมาเผาถ่านก็เผาเองในโอกาสหน้าอาจนำวิถีการเผาถ่านมานำเสนออีก ถ่านก็พาสมาชิกศูนย์ที่เราดูแลนั่นละเผา เอามาไว้ใช้ในครัววัดแต่เราก็เอามาเผาบาตรด้วย ก็มักหาแต่ไม่ยืนต้นตายหรือไม้ที่เขตก่อสร้างต่างๆตัดออกเราก็ไปเก็บมาหรือปีกไม้ที่เขาทิ้งแล้ว( ไม้จิก ไม้แดง ไม้บก ไม้กถินนรงค์ )  มีแต่ไม้เนื้อแข็งให้ไฟแรงสูง

เมื่อถ่านเริ่มลุกเป็นไฟแล้วจึงจะเริ่มจับเวลาโดยในสามชั่วโมงแรกจะไม่มีการเขี่ยถ่านแต่ถ้าหากถ่านยุบตัวลงก็สามารถเติมถ่านได้โดยใช้พั่วตักใส่ด้านบนอย่างปรานีตห้ามกระแทกแรง ผ่านสามชั่วโมงไปจึงจะเริ่มเขี่ยขี้เถ้าด้านล่างออกให้อากาศระบายและเติมถ่านเรื่อยซึ่งการกำหนดระดับถ่านนั้นขึ้นอยู่กับ

ความร้อนแรงของ วัตถุให้ความร้อน ว่าสามารถให้ความร้อนได้มากอาจใส่ถ่านแค่เลยถังด้านในเล็กน้อยก็พอแต่หากถ่านให้ความร้อนน้อนก็ต้องเติมสูงถึงครื่งข้อที่สองของถัง

ซึ่งระยะเวลาในการเผานั้นขึ้นอยู่กับ

 บาตรหากเผารอบแรกต้องใช้เวลานาน๑๐ -๑๒ ชั่วโมงขึ้นกับถ่านอีกหากถ่านให้ความร้อนสูงอาจเผาแค่ ๑๐ ชั่วโมง แต่หากถ่านไม่ค่อยร้อนอาจ ต้องเผา ๑๒ หรือมากกว่านั้นชั่วโมง

หากเผารอบสอง เวลาต้องใช้น้อยลงอาจแค่ ๘ ชั่วโมงหากถ่านให้ความร้อนสูง แต่หากถ่านไม่ค่อยร้อนอาจต้อง ๑๐ -๑๒ ชั่วโมง

หากเผารอบหลังจากนี้ต้องดูที่เนื้อเหล็กว่าเหลือมากน้อยแค่ไหน แล้วค่อยมากำหนดชั่วโมงโดยมีความร้อนเป็นปัจจัย

ช่วงเวลาเผา กลางคืนดีดูไฟง่ายแต่ง่วงนอน  กลางวันร้อนดูไฟยากแต่ไม่หลับ ต้องวางแผนดีๆโดยมากชอบเริ่ม บ่ายสอง เสร็จเที่ยงคืนไม่เกินตีสอง

ถ้าว่าไปแล้วปัจจัยที่ทำให้บาตรเกิดเคลือบเป็นไฮ แวว วาวนั้นนอกจากแท่งแกนใส้ถ่านไฟฉายแล้วน่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

๑ เนื้อเหล็กคุณภาพของเนื้อเหล็ก อันนี้ต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัวจริงๆโชคดีหน่อยเป็นช่างเชื่อมมาก่อนพอดูเหล็กออก

๒ การให้ความร้อนของวัตถุนำความร้อนคือ ถ้าเป็นถ่านก็ต้องร้อนสูงไม้เนื้อแข็ง บางทีก็ใช้ไม้ไผ่แต่ไม่นิยมแล้วเพราะต้องตัดทีละหลายๆกอจึงจะพอ ไม้สดก็บอกตรงตรงขี้เกียจเลื่อย จึงเป็นถ่านที่นิยมถ้าให้ความร้อนได้สูงไฮจะเป็นประกายแวววาวมาก

๓ การกำหนดชั่วโมง อันนี้ขึ้นกับประสบการณ์จริงๆบอก ยากไม่ใช่ไม่อยากบอก

๔ องค์ประกอบรอบข้างถังน้ำมันสองร้อยลิตรเป็นเพียงแค่ตัวกันให้ถ่านรวมตัวกันเพื่อให้ความร้อนสูงส่งไปหาถังสแตนเลสหรือถังแก็สเท่านั้นเหมือนอย่างภาพถังนึ้งใช้จนต้องเอาสังกะสีมาปะ (ไม่มีเงินซื้อใหม่)

๕ ผู้เผาต้องเอาใจใส่จริงเพราะมันร้อนมากเวลาเติมถ่านร้อนทั้งแขนขายืนข้างล่างก็ร้อนจนระคาย แถมต้องเติมเบาๆ และอดทนเหนื่อยมากๆเสียเหงื่ออย่างมาก

สุดท้ายเมื่อครบชั่วโมงที่ตั้งใจแล้งก็ค่อยเขี่ยถ่านออก แล้วยกถังน้ำมันออกห้ามกระแทกถังใน แล้วเขี่ยถ่านกระจายออกอีกแล้งรอให้มันเย็นสักชั่งโมง(ยังอุ่นๆ ) สองชั่วโมงแล้วเปิดดู

เล่ามาตั้งนานจะหาว่าคุยก็มีตัวอย่างให้ดูหน่อยลูกนี้เป็นลูกล่าสุดที่ไปถวายครูบาอาจารย์จริงๆต้องซ้ำไฟที่สองแต่พอดีอีกวันฝนตกกลัวเผาไม่ได้อีกหลายวันประกอบกับบาตรครูบาอาจารย์แตกมากแล้วท่านก็ไม่มีลูกศิษย์ในวัดที่พอพึ่งพาได้เราเองเคยอยู่ร่วมกันกับท่านสามสี่ปียังจำที่่ท่านบ่นดุได้เลยคิดถวายท่านแต่มันยังไม่ดีพอก็เลยนำไปถวายท่านพร้อมเจ้าภาพ(ดร. นิภาพร ลครวงศ์)ให้ท่านพิจารณาดูแล้วแต่ท่านจะเมตตาแต่ท่านก็รับไว้ใช้แล้วท่านก็อธิฐานใช้เลยพระเราต้องอธิฐานก่อนนะบาตรหยิบใช้เลยไม่ได้ของใครของมัน ลูกนี้ก็ลูกนี้เปลื่ยนลูกก็ต้องอธิฐานใช้ลูกใหม่เลิกใช้ลูกเก่า


อันนั้นของคนอื่นทีนี้ต้องโชว์ของตัวเองหน่อยลูกนี้เป็นใบที่สองใบแรกต้องโทษที่รักษาไม่ดีวางไว้แล้วหมามาชนล้มกระแทกกระเทาะออกเลยต้องมาเผาอีกแต่ก็เผาถวายครูบาอาจารย์ให้พระในวัดและใช้เองหลายลูกแล้วละตามแต่มีเวลาว่างเช่นนี้ มันทำยากจริงๆ

คำสำคัญ (Tags): #พ.ทินนาโภ#thinnabho
หมายเลขบันทึก: 568143เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ความรู้ใหม่จริงๆ ค่ะ ขอบคุณนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท