CaseStudy19: ตรวจ autosomal STR มากกว่า 15 ตำแหน่ง ก็ไม่ได้ช่วยพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงญาติได้ทุกรายหรอกนะ


     รายนี้ ผู้รับการตรวจเป็นผู้หญิงสองคน ให้ข้อมูลว่า เธอเป็นพี่น้องร่วมพ่อเดียวกัน แต่คนละแม่ครับ แล้วขอมาตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ เพื่อนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน ดังนั้นเราก็ตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอชนิด X-STR ตามปรกติครับ ในที่นี้เราตรวจด้วยน้ำยา in-house ที่พัฒนาขึ้นใช้เอง ด้วยวิธี fluorescent based PCR ทำวิเคราะห์ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ลำดับเบสอัตโนมัติ ABI รุ่น 3130  จำนวน 10 ตำแหน่ง ครับ พบว่า ทุกตำแหน่งมีการ share แอลลีล ร่วมกัน ซึ่งแปลผลว่า น่าเชื่อว่า ทั้งสองคนนี้เป็นพี่สาว-น้องสาวร่วมพ่อเดียวกันจริงครับ

     เมื่อนำมาตรวจ autosomal STR จำนวน 15 ตำแหน่ง ด้วยน้ำยา identifiler plus แล้วนำมาคำนวณค่าทางสถิติ ชนิดต่างๆ ความที่ผู้รับการตรวจมีความสัมพันธ์เป็นกึ่งพี่น้อง (พี่น้องร่วมพ่อเดียวกันแต่คนละแม่) เราจึงมุ่งดูค่าทางสถิติ likelihood ratio ชนิด CHS เป็นหลักครับ ในที่นี้คำนวนได้ 32 เท่า (โดยมีตำแหน่งที่ไม่มีการ share แอลลีลกัน 4 ตำแหน่ง) แม้ว่าจะเป็นค่าทางสถิติที่สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับค่าสถิติชนิดอื่นๆ แต่ก็ยังน้อยกว่าระดับตัดสินใจที่ 99 เท่า  ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า ทั้งสองคน มีความสัมพันธ์แบบพี่-น้องร่วมพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ ตามที่เขากล่าวอ้างครับ

     เมื่อตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ 15 ตำแหน่งแล้ว ยังสรุปผลไม่ได้ ก็ต้องตรวจ autosomal STR เพิ่มตำแหน่งให้มากขึ้น จึงทดสอบเพิ่มขึ้น รวม 29 ตำแหน่ง ได้ผลตามภาพข้างล่างนี้ครับ

     เมื่อเอามาคำนวณค่าทางสถิติ ค่า likelihood ratio ชนิด CHS  ก็ยังให้ค่าสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับค่า likelihood ratio ชนิดอื่นๆ โดยมีตำแหน่งที่ไม่มีการ share แอลลีลกัน 6 ตำแหน่ง แต่ค่า CHS ที่คำนวณได้เท่ากับ 21 เท่า ซึ่งก็ยังน้อยกว่าระดับตัดสินใจที่ 99 เท่า ดังนั้น รายนี้ จึงยังสรุปผลไม่ได้ครับ ว่าทั้งสองคนมีความสัมพันธ์กึ่งพี่น้องกัน

     สำหรับรายนี้ ผลการตรวจ X-STR จำนวน 10 ตำแหน่ง สรุปได้ว่า ทั้งสองคนนี้ มีความสัมพันธ์เป็นพี่สาว-น้องสาวร่วมพ่อเดียวกัน ครับ แต่การตรวจ autosomal STR จำนวน 15 ตำแหน่ง แล้วมาคำนวณความสัมพันธ์กึ่งพี่น้อง พบว่าไม่สามารถยืนยันความสัมพันธ์ได้ เนื่องจากค่า Likelihood ratio ชนิด CHS น้อยกว่า 99 เท่า เมื่อทำการทดสอบ autosomal STR เพิ่มขึ้นเป็น 29 ตำแหน่ง แล้วนำมาคำนวณค่าทางสถิติ likelihood ratio ชนิด CHS ก็ยังน้อยกว่า 99 เท่า  ก็ยังไม่สามารถยืนยันความสัมพันธ์กึ่งพี่น้องนี้ได้เช่นเดียวกัน  ดังนั้น การตรวจ autosomal STR เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในบางรายอาจไม่สามารถใช้ยืนยันผลความสัมพันธ์เชิงญาติกันได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 567948เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับ อาจารย์จัน  ชอบมากครับ สำหรับหน้าแรกใหม่ รู้สึกว่าได้ใช้ประโยชน์จริงครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท