การดูแล..เพื่อป้องกันช่องปากอักเสบในผู้ป่วยที่ได้ยาเคมีบำบัด


mucositis

จากการที่ทีมงานเราเห็นความทุกข์จากการเจ็บปวดในช่องปากผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัด

เราจึงหาวิธีดูแลผู้ป่วย

จึงเป็นที่มาของงานวิจัยเรื่องนี้



งานวิจัยเรื่อง 

ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับยาเคมีบำบัด

(Effect of Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent and Relieve Oral Mucositis in Head and Neck Cancer Patients Received Chemotherapy*

สุกัญญา จันหีบ** พย.บ อุบล จ๋วงพานิช พย.ม.***

จากการที่ผู้ป่วยมารับยาเคมีบำบัด พบช่องปากอักเสบ ทีมงานเราเคยนำ evidence base ในการดูแลช่องปากในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยให้ผู้ป่วยอมน้ำแข็งก่อน 5 นาที อมต่อเนื่อง 30 นาที อมทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 5 นาที บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ แปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่อ่อนๆนุ่ม

แต่ยังพบว่า มีช่องปากอักเสบ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ พบประมาณ ร้อยละ 70

เราจึงต้องหาแนวปฏิบัติใหม่

โดยไปหางานวิจัยใหม่ๆในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า มีวิธีใดจะทำให้ป้องกันช่องปากอักเสบได้

พบว่า เราใช้วิธีเดิมดังที่กล่าวมาแล้ว

แต่ต้องเพิ่มเทคนิกที่ดี เราทำวิดิทัศน์วิธีแปรงฟัน วิธีอมน้ำแข็งและมีคู่มือไว้อ่าน

การแปรงฟัน แปรงโดยใช้บลาสเทคนิค

ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของเกลือ

บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหลังอาหารทุกครัง

ส่วนเพิ่มเติมคือ ดื่มนมหรือนมถั่วเหลือง

อมน้ำแข็งโดยให้น้ำแข็งเลื่อนไปมาในช่องปาก เพื่อให้ความเย็นกระจายไปทั่วทั้งปาก

พบว่า วิธีการแบบนี้สามารถป้องกันและลดช่องปากอักเสบได้เพิ่มขึ้นจากเดิม

บทคัดย่อ

ในปี 2553 หอผู้ป่วยเคมีบำบัด พบอัตราการเกิดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ร้อยละ 60 ในปี 2554นำผลวิจัยมาใช้ในการดูแลช่องปากผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยให้อมน้ำแข็ง ทุก 2 ชั่วโมงครั้งละ 5 นาที พบอัตราการเกิดช่องปากอักเสบ ร้อยละ 45.45 ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอร้อยละ 70.91ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดและรับประทานอาหารได้น้อย มีการศึกษา พบว่าการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธีและให้อมน้ำแข็งก่อนให้ยาเคมีบำบัด 5 นาที อมต่อเนื่อง 30 นาที ทุก 2 ชั่วโมง โดยเคลื่อนก้อนน้ำแข็งทั่วทั้งปากและดื่มนมพร่องมันเนย เช้าเย็น สามารถป้องกันช่องปากอักเสบได้ดียิ่งขึ้น จึงต้องการศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับยาเคมีบำบัด

วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อเปรียบเทียบร้อยละการเกิดช่องปากอักเสบในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯกับข้อมูลการเกิดช่องปากอักเสบก่อนการใช้แนวปฏิบัติฯ และศึกษาพฤติกรรมการดูแลช่องปาก

ระเบียบวิธีวิจัย

วิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดตามเกณฑ์ที่กำหนด คำนวณได้ 33 คน เก็บข้อมูล ตุลาคม 2555– กันยายน 2556โดยพยาบาลดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีขั้นตอนคือ ประเมินช่องปากตาม WHO และให้ความรู้โดยให้ดูวิดิทัศน์เรื่อง การดูแลช่องปากฯ เช่น วิธีอมน้ำแข็ง การแปรงฟันด้วยเทคนิคบาสส์ การบริหารช่องปาก เป็นต้นและให้คู่มือการดูแลเพื่อป้องกันช่องปากไว้ให้ศึกษาและให้การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติฯและ ติดตามประเมินช่องปากทุกวัน ขณะได้รับยาเคมีบำบัดรวมทั้งประเมินพฤติกรรมการดูแลช่องปากที่บ้าน เมื่อผู้ป่วยมาตามนัดครั้งต่อไป

ผลการศึกษา

พบว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯ ไม่พบช่องปากอักเสบ ร้อยละ 83.03 

สำหรับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติไม่พบช่องปากอักเสบ ร้อยละ 54.55 

จะเห็นว่า...

กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯ อัตราการเกิดช่องปากอักเสบน้อยกว่า ร้อยละ 27.48 และการเกิดช่องปากอักเสบเกรด 1และเกรด 2ในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯพบร้อยละ 9.7 และ 2.42 

กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ พบร้อยละ 25 และ 20.45

จะเห็นว่าอัตราการเกิดช่องปากอักเสบทุกระดับภายหลังการดูแลตามแนวปฏิบัติฯลดลงเมื่อเทียบกับข้อมูลการเกิดช่องปากอักเสบในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ และพฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ป่วยฯ อยู่ในระดับดีมากทั้งรายด้านและโดยรวม โดยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม ค่าเฉลี่ย 29.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.08


การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์จากงานประจำ

หอผู้ป่วยฯได้นำผลวิจัยไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ทำให้ลดความทุกข์ทรมานจากความปวดในช่องปากรับประทานอาหารได้ดี ผู้ป่วยมารับยาได้ตามแผนการรักษาของแพทย์ได้ และมีการขยายผลการวิจัยไปใช้กับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอทั้งหมดภายในโรงพยาบาล รวมทั้งเผยแพร่ให้กับโรงพยาบาลอื่นที่มาศึกษาดูงานและเผยแพร่ทางเวปไซด์


บทเรียนที่ได้รับ

ผู้ป่วยฯ สามารถดูแลช่องปากได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีคู่มือและวิดิทัศน์การดูแลช่องปาก ทำให้ป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบได้ ดังนั้นพยาบาลสามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้ง่ายและปฏิบัติได้เป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้อีกด้วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

พยาบาลสามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยฯให้ความร่วมมือเนื่องจากสามารถปฏิบัติตามได้ง่ายและป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบได้อย่างแท้จริง ทำให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดในช่องปาก

หมายเลขบันทึก: 567663เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2014 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 08:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีประโยชน์มากเลยครับไม่เพียงแต่คนป่วย

คนทั่วๆไปก็ปรับใช้ได้ครับพี่แก้ว

พี่แก้วสบายดีไหมครับ

สวัสดีค่ะ ดร ขจิต

ใช่ค่ะ คนธรรมดาก็นำไปใช้ได้ 

เวลาในปากเป็นแผล ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ

อมน้ำแข็งก็ได้

วันนี้ 31 พค 57

เขียนรายงานวิจัยฉบับเต็ม เสร็จ พร้อมส่ง 2 มิย 57

ดีใจจังทีมงานได้รางวัลปีนี้ค่ะ

ประกาศโครงการพัฒนางานประจาสู่งานวิจัยระดับประเทศ ที่ ๐๐๓/๒๕๕๗ เรื่อง ผลการตัดสินรางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ประจาปี ๒๕๕๗

รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น กลุ่มงานบริการระดับตติยภูมิ

ID127 ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับยาเคมีบาบัด โดย สุกัญญา จันหีบ สังกัด หอผู้ป่วยเคมีบาบัด 5จ แผนกการพยาบาลบาบัดพิเศษ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และคณะ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท