วันสุดท้ายของมหกรรมรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา


              วันที่ ๕ พฤษภาคมเป็นวันสุดท้ายของงานมหกรรมรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยหลายเหตุผลทำให้ผู้เข้าชมในวันนี้มีจำนวนน้อยกว่าทุกๆ วันที่ผ่านมา  วันนี้ครูนกตั้งใจจะเข้าฟังบรรยายด้านภาษา  โดยเรื่องแรกคือ  ภาษาและการสื่อสารได้จริง :  กรณีภาษาเกาหลี  และเรื่อที่สองคือ เทคนิคการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น  จุดประสงค์ในการฟังครั้งนี้เพื่อจะนำข้อมูลการเลือกเรียนภาษาต่างๆ ไปแนะนำการเลือกวิชาเพิ่มเติม  และวิชาภาษาที่สองของนักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
               ในเรื่องแรกวิทยากรหลักนำโดย ดร.ไพบูรย์  ปิตตะเสนและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาอีก ๒ ท่าน  สรุปจากการฟังคือ  ภาษาต่างๆ เราจะสื่อสารได้จริงก็ต่อเมื่อเรารักหรือสนใจในภาษานั้นๆ  เรามีคลังคำศัพท์  และเรียนรู้จากสื่อรอบๆ ตัว เช่น เว็บไซด์  คลิปวิดีโอต่างๆ  การดูภาพยนต์  และการฟังเพลง  จากนั้นค่อยเรียนรู้หลักไวยากรณ์
               

                      ในเรื่องที่สองคือเทคนิคการเรียนภาษาญี่ปุ่น มีวิทยากร ๓ ท่านจากโรงเรียนมัธยมศึกษาได้แก่  ครูเบญจลักษณ์  สว่างเนตร  ครูสุพรพรรณ์  จิตรบรรเทา  และครูอาทยา  ธนชัยศักดิ์  ซึ่งมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดหลักสูตร และกิจกรรมต่างๆ  ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น    โดยกิจกรรมค่ายภาษาญี่ปุ่นนักเรียนจะให้ความสนใจมากเพราะเป็นการเรียนรู้จากวิถีชีวิต  หรือเรื่องราวน่าสนใจ


                        สรุปอยากเรียนภาษาแบบสื่อสารได้ต้องขยันท่องศัพท์  ฝึกฟังผ่านภาพยนต์  เพลง หรือคลิปวิดีโอ  รับรองสำเนียงจะแบบฉบับเจ้าของภาษา  ครูนกเองมีฝันเล็กๆ คือ อยากใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารให้ได้เพื่อจะได้นำศิษย์ก้าวเข้าสู่ AEC  เพราะเด็กๆ สมัยนี้เขาจะเก่งภาษา  บางคนสำเนียงใกล้เคียงเจ้าของภาษามากๆ  ดังนั้นครูต้องปรับตัวค่ะ  และได้มีรูปแบบในการสอนเคมีที่เชื่อมโยงความรู้เรื่องภาษาได้อีกด้วย   ตอนนี้เริ่มปัดฝุ่นตำราภาษาอังกฤษแล้วค่ะ  ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 567565เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ภาษาที่ลืมเก็บข้อมูล คือ ภาษา ฅน ครับ

ใกล้เปิดเทอมแล้ว....ก็ยังมีแต่งาน  งาน  งาน  นะจ๊ะ

งานประชุมด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 เยอะมากเลยค่ะช่วงปิดเทอมนี้

ผมว่าปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทยไม่ได้อยู่ที่โรงเรียน  แต่อยู่ที่บ้าน  ดังนั้นการรวมพลังเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาต้องพุ่งเป้าไปที่บ้าน  โดยเน้นที่การยกระดับคุณภาพบ้านในมิติต่าง ๆ  ทั้งในเชิงชีวะ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ  ว่ไหม!?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท