การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ: สิทธิในการมีสัญชาติ

    มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาจะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐใดรัฐหนึ่ง และมีสิทธิสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐจะต้องจัดให้แก่บุคคล รวมถึงสิทธิมนุษยชนที่รัฐหรือบุคคลอื่นใดไม่สามารถละเมิดได้ เมื่อมนุษย์มีสภาพบุคคลก็จะสามารถเป็นผู้ทรงสิทธิรวมถึงมีหน้าที่ต่างๆตามกฎหมาย สัญชาติก็เป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิในชีวิตที่รัฐพึงรับรองให้แก่บุคคล สัญชาติ ตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง หมายถึงความผูกพันทางกฎหมายที่รัฐใช้เพื่อผูกพันบุคคลเข้าไว้กับรัฐหรือเข้ามาสังกัดอยู่ภายในรัฐ รัฐเป็นผู้เลือกที่จะให้หรือจะไม่ให้บุคคลใดเข้ามามีความผูกพันกับรัฐ เมื่อรัฐให้สัญชาติกับบุคคลใด บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะเข้าอยู่อาศัยหรือพำนักอยู่ในดินแดนของรัฐที่ตนมีสัญชาติ รัฐ ไม่สามารถขับไล่หรือเนรเทศคนชาติตนได้ เพราะเป็นการบังคับให้คนชาติอื่นยอมรับคนต่างด้าวให้อยู่ในรัฐอื่นซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่ารัฐมีสิทธิที่จะปฏิเสธคนต่างด้าวมิให้เข้ามาพำนักในดินแดนของตน[1]

ประเทศไทยถือหลักการให้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 คือ[2]

1. การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ได้แก่ หลักดินแดน บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยย่อมได้สัญชาติไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าบิดามารดามีสัญชาติใด และหลักสายโลหิต บุคคลที่เกิดจากบิดาหรือมารดาที่มีสัญชาติไทยย่อมได้สัญชาติไทย

2. การได้สัญชาติไทยหลังการเกิด ได้แก่ การสมรส การแปลงสัญชาติ และการขอคืนสัญชาติ

     อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังมีคนที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้รับการรับรองให้เป็นคนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นปัญหาการตีความสถานะบุคคล มักเป็นกรณีที่บิดามารดาเป็นคนต่างด้าว หรือเป็นผู้ที่มีจุดเกาะเกี่ยวหลายประเทศ หากพิจารณาตามพรบ.สัญชาติไทยข้างต้นจะเห็นได้ว่าการที่ไทยไม่รับรองสัญชาติให้แก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยตามหลักดินแดนนั้นเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย รวมถึงละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนเหล่านั้น นอกจากนี้บุคคลที่ไม่ได้รับการรับรองสัญชาติอาจกลายเป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ตนพึงได้รับในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง และเกิดการเลือกปฏิบัติซึ่งเป็นความไม่เสมอภาคอันขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน

อ้างอิงข้อมูล

สัญชาติ: สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์.เข้าถึงได้จาก: www.law.moi.go.th/2551/article011.doc[ออนไลน์]. (วันที่ค้น

ข้อมูล: 2 พฤษภาคม 2557).


[1] ชุมพร ปัจจุสานนท์, กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1,(กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2556).

[2] สุพจน์ กู้มานะชัย, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, ๒๕๔๖), หน้า ๔๐–๔๑.

บันทึกวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2557

หมายเลขบันทึก: 567513เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ล่ะ เราจะได้ดูเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยของน้องจันใหม่กัน 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท