ครอบครัวข้ามชาติ


จากกรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง ครอบครัวข้ามชาติที่ก่อตั้งขึ้นโดยแรงงานสัญชาติไทยโดยนายอาทิตย์ เจดีย์ทอง และนางสาวแพทริเซีย แรงงานสัญชาติมาเลเซีย โดยทั้งคู่ต่างก็ได้เข้าไปทำงานในประเทศไต้หวันและได้พบรักกัน ต่อมาสัญญาจ้างแรงงานของนายอาทิตย์สิ้นสุดลงทำให้ต้องเดินทางกลับมายังประเทศไทย ส่วนนางสาวแพทริเซียยังคงทำงานต่อไปในไต้หวันอีกระยะหนึ่งจนกระทั่งสัญญาจ้างแรงงานได้สิ้นสุดลงเช่นกัน

ในระหว่างที่นางสาวแพทริเซียเดินทางกลับมายังประเทศมาเลเซีย ก็ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยได้รับการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่ก็ได้ตรวจลงตราในหนังสือเดินทาง ซึ่งนางสาวแพทริเซียสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อไปได้จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือเดินทาง

จากข้อเท็จจริงต่อมานางสาวแพทริเซียซึ่งมีสัญชาติมาเลเซีย ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด จึงทำให้นางสาวแพทริเซียอยู่ในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ได้ไปร้องขอเพื่อรับการสำรวจในสถานะของ “บุคคลที่ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร” หรือที่เรียกว่าเป็นการแสดงตัวว่าตนเป็นคนไร้รัฐ เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเห็นได้ว่านางสาวแพทริเซียมีรัฐมาเลเซียเป็นรัฐเจ้าของตัวบุคคล จึงทำให้เธอไม่ได้เป็นคนไร้รัฐ จากปัญหานี้เองอาจเกิดจากกรณีที่องค์กรฝ่ายปกครองไปละเมิดสิทธิที่นางสาวแพทริเซียมีอยู่แล้ว ซึ่งอาจเกิดโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้เช่นกัน

เมื่อนางสาวแพทริเซียได้แสดงตนว่าเป็นคนไร้รัฐแล้ว นางสาวแพทริเซียก็ได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติประเภท ท.ร.38 คือทะเบียนราษฎรประเภทหนึ่ง สำหรับ "บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน" เลข 13 หลัก ของคนกลุ่มนี้ ก็จะขึ้นต้นด้วยเลข 01จึงทำให้เธอเป็นคนไร้สัญชาติ โดยนางสาวแพทริเซียอาจมีรัฐรับรอง แต่รัฐไทยไม่ได้ระบุว่าเธอเป็นคนสัญชาติอะไร ซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่ได้เป็นการรับรองสัญชาติให้กับเธอ

จากปัญหาดังกล่าวของนางสาวแพทริเซีย ที่ได้ไปแสดงตัวว่าตนเป็นคนไร้รัฐ เกิดจากการที่เธอไม่รู้กฎหมาย จึงทำให้เป็นทั้งคนไร้รัฐและคนสัญชาติมาเลเซีย กรณีนี้เองทำให้เธอไม่ได้รับสิทธิต่างๆตามกฎหมายเท่าที่ควร

นางสาวแพทริเซียและนายอาทิตย์ได้ตกลงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และได้มีบุตรจำนวน 3 คน คือ

(1) เด็กหญิงสินี เจดีย์ทอง

(2) เด็กหญิงพร เจดีย์ทอง

(3) เด็กชายเดช เจดีย์ทอง

โดยบุตรทั้ง 3 คนของครอบครัวเจดีย์ทองได้รับสัญชาติไทย เนื่องจากเกิดที่ประเทศไทยและบิดาก็มีสัญชาติไทยเช่นกัน จากกรณีดังกล่าวบุตรทั้ง 3 คนสามารถที่จะมีสิทธิถือ 2 สัญชาติได้ เพราะมารดาคือนางสาวแพทริเซียมีสัญชาติมาเลเซีย ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายในบางประเทศ เช่นประเทศลาว บุคคลสามารถเลือกสัญชาติได้เพียงสัญชาติเดียวเท่านั้น ในกรณีของอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ที่มีบิดาสัญชาติออสเตรเลีย และอนันดาได้เกิดที่ประเทศไทย ทำให้มีทั้งสัญชาติออสเตรเลียละสัญชาติไทย อนันดาจึงเป็นบุคคลที่ถือ 2 สัญชาติ เนื่องจากประเทศออสเตรเลียและประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ได้จำกัดให้บุคคลถือสัญชาติได้เพียงสัญชาติเดียว ซึ่งกรณีนี้มารดาของอนันดาถือสัญชาติลาว รัฐลาวได้จำกัดให้บุคคลถือสัญชาติลาวได้เพียงสัญชาติเดียวเท่านั้น ถ้าหากอนันดาจะถือสัญชาติลาว ก็จะต้องปฏิเสธสัญชาติออสเตรเลียและสัญชาติไทยก่อน จึงจะถือสัญชาติลาวได้ ในส่วนของประเทศไทยนั้นไม่ได้จำกัดว่าบุคคลจะต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้นอาจมีสัญชาติอื่นๆได้ โดยพิจารณาจาก

(1) หลักสายโลหิต คือบุตรจะได้มาซึ่งสัญชาติใดๆนั้น ให้ถือตามสายโลหิตของผู้ให้กำเนิดคือบิดาและมารดา

(2) หลักดินแดน คือการที่บุคคลได้มาซึ่งสัญชาติโดยการเกิดในประเทศนั้นๆ 2

การถือ 2 สัญชาติจึงสามารถกระทำได้ ดังนั้นบุตรทั้ง 3 คนจึงมีสิทธิถือ 2 สัญชาติ คือสัญชาติไทยและสัญชาติมาเลเซีย แม้จะปรากฎว่านางสาวแพทริเซียจะมีปัญหากรณีเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติก็ตาม

  อ้างอิง

1สิทธิในภูมิลำเนาตามกฎหมายไทยของคนที่ได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติ (ท.ร.๓๘) http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=527&d_id=526 (สืบค้นวันที่ 29 เมษายน 2557)

2 การได้มาซึ่งสัญชาติของบุคคล http://www.lawanwadee.com/freezone/citizenship1.html (สืบค้นวันที่ 29 เมษายน 2557)

   เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายสิทธิมหาชน , รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา , 25 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 567432เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท