ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 5


การได้มาซึ่งตัวสะกด (เดี่ยว) และตัวสะกดควบกล้ำในภาษาอังกฤษแบบอินเดีย

ผู้วิจัย แคโรไลน์ อาร์. วิลไชร์

ในงานวิจัยชิ้นนี้ผู้วิจัยให้ความสนใจการถ่ายโอนอิทธิพลของภาษาที่ 1 กล่าวคือภาษาอินเดียซึ่ง ในประเทศอินเดียต่างมีภาษาที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละภาษานั้นมีรูปแบบและโครงสร้างการสร้างคำที่ต่างกันออกไป เช่น ในภาษา Angami เป็นภาษาที่มีโครงสร้างของคำที่ไม่มีตัวสะกด

ผู้วิจัยได้กล่าวถึงปัจจัยหลักที่สนใจกล่าวคือรูปแบบของภาษาที่แตกต่างกัน และความหลากหลายของภาษาที่หนึ่ง ดังนั้นบทบาทของการถ่ายโอนภาษาที่หนึ่งมายังภาษาที่สองนั้นจึงเป็นที่สนใจในการศึกษาครั้งนี้

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นศึกษาผลของอิทธิพลจากภาษาที่หนึ่ง และการรับรู้ของผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีต่อเสียงตัวสะกดเดี่ยวและตัวสะกดควบกล้ำ ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 25 คนมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษในระดับเฉลี่ยใกล้เคียงกัน แต่มีปัจจัยที่ต่างกันคือ ความแตกต่างทางด้านภาษาแม่ ภาษาแม่ต่าง ๆ นั้นมีความใกล้เคียงภาษาอังกฤษ จึงอาจก่อให้เกิดความแตกต่างกันได้ ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกบันทึกเสียงพูด และเสียงตัวสะกดเดี่ยวและตัวสะกดควบได้ถูกวิเคราะห์

ผลการวิจัย สระเดี่ยว ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดแม้ว่าระบบเสียงในภาษาแม่ของพวกเขาบางส่วนจะไม่ประกอบไปด้วยเสียงตัวสะกด ก็สามารถออกเสียงเสียงก้องกังวาน (Sonorant) และเสียงสกัดกั้นไม่ก้อง (Obstruent) ได้

แต่อย่างไรก็ตาม ในการสร้างเสียงตัวสะกดควบกล้ำนั้น ผลเผยให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยบางส่วนตัดตัวสะกดควบกล้ำไป เนื่องจากในภาษาที่หนึ่งของพวกเขานั้นไม่พบตัวสะกดควบกล้ำ แต่อย่างไรก็ตามการตัดหรือลด (deletion) ตัวสะกดควบกล้ำนั้น เกิดขึ้นในบางเสียงเช่นเสียง fricative-stop

ผู้วิจัยแนะนำว่าความถี่ในการได้รับ treatment ไม่ได้มีส่วนช่วย ถ้าตัวสะกดควบกล้ำถูกใช้ในฐานะการฝ่าฝืนลำดับขั้นของเสียงก้องกังวาน ดังนั้นเอง การให้ treatment พิเศษ กล่าวคือ /bs/ และ /ps/ นั้นเป็น treatment ที่จำเป็น

นอกจากนี้มีผลที่แสดงผลการลด (ตัด) เสียงตัวสะกดควบกล้ำ

ผู้วิจัยกล่าวซ้ำถึงอิทธิพลของภาษาที่หนึ่งที่ส่งผลต่อการลดเสียงตัวสะกดควบกล้ำ

จึงสรุปได้ว่า ผู้พูดในภาษาที่หนึ่งที่ขาดซึ่งเสียงในตำแหน่งตัวสะกดจะไม่สามารถรับรู้เสียงที่ไม่พบในระแบบเสียงเป้าหมาย (English) และยังอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตเสียงของตัวสะกดนั้น ๆ ได้

งานวิจัยชิ้นนี้เด่นชัดทางด้านปัญหาการถ่ายโอนของรูปแบบ และระบบเสียงภาษาที่หนึ่งที่ส่งผ่านไปยังภาษาที่สอง ซึ่งการมีและไม่มีในภาษาที่หนึ่งนั่นอาจส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาที่สองได้ อย่างไรก็ตามในงานวิจัยบางชิ้น เชื่อว่าการเรียนภาษาที่สองนั้นผู้เรียนควรแยกแยะภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองให้ออกจากกัน 

หมายเลขบันทึก: 567258เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สำหรับนักเรียนไทยแล้ว อิทธิพลของภาษาแม่มีผลอย่างไรกับการเรียนรู้โครงสร้างภาษาเป้าหมาย (English) และมีผลระทบต่อการผลิตเสียงของสระหรือพยัญชนะ อย่างไรบ้าง 

สำหรับนักเรียนไทยแล้วภาษาแม่มีอิทธิพลในระดับที่เห็นได้ชัดเจน อาจเริ่มมาจากการเริ่มเรียนในระดับอนุบาล ผู้สอนโดยทั่วไปแล้วใช้วิธีการสอนแบบ audiolingual กล่าวคือ ผลิตภาษาแล้วให้ผู้เรียนเลียนแบบ (imitate) ข้อเสียและปัญหาในการใช้วิธีการสอนแบบนี้คือ ภาษาแม่ที่อาจติดไปกับภาษา เช่น เมื่อผู้สอนออกเสียง H /eɪtʃ/ ส่วนใหญ่แล้วที่พบคือ คนไทยส่วนใหญ่ออกเสียง /heɪtʃ/ หรือ /heɪd/ ข้อบกพร่องจุดเล็ก ๆ นี้มิอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรง แต่เมื่อเรียนในระดับที่สูงกว่า เช่น การออกเสียงในระดับคำ อาจเผชิญปัญหา เนื่องจากอิทธิพลในเสียงพยัญชนะบางเสียงในภาษาไทย ไม่ปรากฏในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในตำแหน่งตัวสะกด ในภาษาไทยเอง ใช้การออกเสียงตัวสะกดตามมาตราเสียงตัวสะกด เช่น คำว่า "โอกาส" อ่านว่า โอ-กาด ในพยางค์ที่ 2 ใช้เสียงตัวสะกดในมาตราแม่กด อาจเทียบเคียงเสียง /d/ แต่เราจะไม่อ่านออกเสียงโดยใช้เสียง /s/ ซึ่งเป็นเสียงเสียดแทรก (fricative) ซึ่งในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่แล้ว เจ้าของภาษาหรือผู้ใช้ภาษาอังกฤษจะมี concept ในใจว่า พยัญชนะท้าย (coda) ที่ปรากฏมักออกเสียงตามที่เห็น หรืออาจออกเสียงได้ในคู่เทียบ เช่น ตัว s อาจออกเสียง /s/ หรือ /z/ ซึ่งขึ้นอยู่กับพยัญชนะก่อนหน้า นอกจากนี้เรื่องเสียงสระยังเป็นปัญหาต่อผู้เรียนชาวไทย ในภาษาไทยแบ่งสระออกเป็น สระเดี่ยว (monopthong) และ สระประสม (diphthong) ซึ่งเสียงในสระประสมของไทยยังต่างจากภาษาอังกฤษ ในภาษาอังกฤษมีเสียงสระเดี่ยว สระประสม และสระประสมสามตัว (triphthong) เช่นคำว่า fire /faɪə/ ประกอบไปด้วย สระประสม /aɪ/ และสระเดียวเสียงกร่อน (schwa sound) /ə/ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เองที่ไม่ปรากฏในโครงสร้างการออกเสียงภาษาไทย  อาจส่งผลให้ผู้เรียนชาวไทยไม่ประสบความสำเร็จใจการออกเสียง  ดังที่กล่าวถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้  คือ  การเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนมี concept ในการออกเสียงภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ  และอาจผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการออกเสียงภาษาอังกฤษได้ค่ะ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท