ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 3


การใช้บล๊อกส์ในการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ และภาษาที่สอง และการฝึกหัดครูผู้สอน

Using Blog in ESL/EFL Teaching and Teacher-Training

ในงานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยศึกษาการใช้ Blog ในวิชาการเขียน (การเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้ม) รวมถึงการใช้นวัตกรรม Blog ในห้องเรียนภาษา นอกจากนี้ยังศึกษาการใช้ Blog เพื่อเป็นแหล่งการในการฝึกครูผู้สอนภาษาอังกฤษ (ผู้สอนภาษาอังกฤษเพื่อผู้เรียนในภาษาอื่น) ผู้วิจัยถกเถียงว่าการสอนโดยใช้ Blog นั้นจำเป็นต้องมีการชั่งน้ำหนักกับคุณค่าของการสอน และ Blog สามารถเพิ่มพูนความมั่นคงและผลดีต่อการเรียนภาษาในทุกวันนี้

การใช้อินเทอร์เน็ทเป็นสื่อสืบค้นข้อมูลเป็นที่นิยมในการเรียนการสอนภาษา และการสืบค้นนี้เองทำให้ข้อมูลทางด้านภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าถึง นอกจากนี้ข้อดีสำหรับผู้สอนภาษาอังกฤษคือสะดวกสบายในการใช้ ผู้สอนหลาย ๆ ท่านเข้าใช้สื่อเทคโนโลยีนี้ตลอดเวลา จึงเป็นเสมือนการเปิดโอกาสให้เรียนรู้ภาษาและสอนภาษาได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้แล้วในบรรยากาศห้องเรียน ผู้สอนอาจใช้วีดีทัศน์เป็นสื่อการสอนหนึ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อจุดประสงค์โดยเป็นสื่อการสอนที่เฉพาะเจาะจง โดยอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกตรงกันข้ามกับจุดประสงค์ของผู้สอน ดังนั้นการใช้ Blog แล้วแนบไฟล์วีดีทัศน์อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นส่วนประกอบโดยไม่เจาะจงว่าเป็นสื่อการสอนหนึ่ง

ในงานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยมุ่งเน้นแสดงให้เห็นว่า Blog สามารถสร้างคุณค่าของบทเรียนอย่างไร และสามารถนำมาบูรณาการกับบริบททางอาชีพที่กว้างขวางขึ้น ซึ่งรวมไปถึงความเข้าใจจองความต้องการของผู้เรียน สถานที่ศึกษา แหล่งเรียนรู้ที่มี ประมวลรายวิชา และเป้าหมายของการเรียนการสอน

งานวิจัยนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกผู้วิจัยศึกษาจากกรณีศึกษาจองการใช้ Blog ในห้องเรียนภาษา (ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง) ในส่วนที่สอง ผู้วิจัยเสนอตัวอย่างหลายตัวอย่างว่าใช้ Blog ในห้องเรียนภาษาอังกฤษอย่างไร และแนะนำสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนภาษาอื่น ๆ

ในกลุ่มกรณีศึกษา ผู้วิจัยใช้ Blog โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมปลายทั่วโลก

ผู้เรียนถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม โดยมีระดับความสามารถที่ต่างกัน ในกลุ่มที่หนึ่ง ในห้องเรียนวิชาการเขียน ผู้เรียนถูกมอบหมายใช้เขียนในระดับย่อหน้า หลังจากนั้นวิชาเรียนมุ่งเน้นรูปแบบการจัดเรียงข้อความ ย่อหน้าที่มีเนื้อความขัดแย้งถูกหยิบยกเป็นแบบฝึกหัด

ผู้เรียนได้รับมอบหมายให้เขียนหัวข้อ โรงเรียนมัธยมปลายทั่วโลก เนื่องจากการพัฒนานั้นต้องอาศัยประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน ผู้วิจัยจึงมอบหมายหัวข้อที่ไม่ไกลตัว เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยคิดได้ง่ายขึ้น

เป้าหมายของการให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเขียนย่อหน้าที่มีใจความขัดแย้ง เพื่อศึกษาว่าผู้เขียนเชื่อมโยงความอย่างไร ผ่านหัวข้อ “โรงเรียนมัธยมฯ ทั่วโลก” ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เขียนถึงประสบการณ์ของตนเอง ดังนั้นจึงเป็นข้อมูลโดยตรงของผู้เรียน

ในย่อหน้านั้นประกอบไปด้วยจุดประสงค์ ดังต่อไปนี้

  • 1.คำเชื่อหลัก ๆ ที่ใช้ในการเขียนย่อหน้าแบบที่มีใจความขัดแย้ง
  • 2.การเกริ่นนำแบบย่นย่อตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
  • 3.ผู้เข้าร่วมวิจัยใช้เวป Edublogs
  • 4.ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับมอบหมายให้ตอบคำถาม อาทิ โรงเรียนที่คุณเรียนมีการใส่เครื่องแบบหรือไม่ เป็นต้น ผู้วิจัยมีจุดประสงค์ที่ซ่อนอยู่ในถาม กล่าวคือ ความคิดในการเขียน และคำศัพท์ที่ผู้เรียนไม่ได้ระมัดระวังในการใช้ ดังนั้นเมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยไม่มั่นใจในการใช้คำศัพท์ จำเป็นต้องสืบค้นในพจนานุกรม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเพิ่มพูนวงคำศัพท์อีกด้วย
  • 5. ก่อนส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ผู้เข้าร่วมวิจัยต้องอ่าน comment ของเพื่อน เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมวิจัยได้พัฒนาทักษะการอภิปรายกับเพื่อนด้วย

การรวมมือกันของหลักการสอน

การใช้ Blog เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนภาษาอังกฤษในงานวิจัยชิ้นนี้ มีการออกแบบวิจัย โดยแบ่งออกตามหัวข้อดังต่อไปนี้

  • 1.ภาษา
  • - ระดับคำศัพท์ ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันประสบการณ์กับเพื่อนทางด้านวงคำศัพท์
  • - ระดับไวยากรณ์ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนการเขียนที่เคยได้เรียน เช่น การเขียนแบบบรรยาย
  • - ระดับข้อความ สืบเนื่องจากระดับไวยากรณ์ ผู้เข้าร่วมได้เชื่อโยงสิ่งที่เรียนมา ผนวกกับเรื่องที่ได้เรียนรู้ใหม่
  • - การสนทนาผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนผ่านการเขียนลงใน Blog

2. การเรียนและผู้เรียน

ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาทักษะการเขียนผ่านสื่อออนไลน์เพื่อสื่อสารข้อความให้ผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะการพูดอีกด้วย ที่สำคัญคือ โอกาส ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับจากการอ่าน Blog ของเพื่อน ๆ

3. ปัจจัยทางบริบท

- ทักษะทางภาษาศาสตร์สังคม Blog ช่วยให้การใช้ภาษา และพฤติกรรมที่เหมาะสม ให้เข้ากับสถานที่ จุดประสงค์ และบทบาทของสถานการณ์

- ทักษะทางวัฒนธรรมสังคม การเขียนตามหัวข้อดังกล่าว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมวิจัยได้แลกเปลี่ยนจารีต ประเพณี ระหว่างเพื่อน ๆ อีกด้วย

- ทักษะทางการเมืองสังคม การเลือกคู่ที่มีความแตกต่างกันทางทางประสบการณ์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และแยกแยะความเหมือนความต่าง และสามารถอภิปรายได้

- ทักษะระหว่างวัฒนธรรม นอกจากนี้การแลกเปลี่ยนกันอ่านการเขียนย่อหน้าใน Blog ยังเป็นโอกาสในการพัฒนาทักษะระหว่างวัฒนธรรม และข้ามวัฒนธรรม

นอกจากนี้ผู้วิจัยให้ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม โดยถามถึงทัศนคติต่าง ๆ ที่มีต่อการใช้ Blog

โดยรวมแล้วนั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยมีทัศนคติที่ดี และเห็นว่าการใช้ Blog เป็นประโยชน์ แต่มีข้อหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมวิจัยเห็นว่า การใช้ Blog เป็นเรื่องที่แปลกที่ใช้เพื่องานในการเขียน แท้ที่จริงขัดแย้งกันอีกหนึ่งข้อที่ว่า Blog มีประโยชน์ในการการเขียนย่อหน้า

ผู้เข้าร่วมส่วนหนึ่งกล่าวว่า การพูดดีกว่าการเขียน เนื่องจากสบายใจกว่า

ผู้เข้าร่วมวิจัยบางส่วนกล่าวว่า

“การได้รับข้อมูลต่าง ๆ การพูดเป็นวิธีที่ดีสำหรับฉัน”

“ไม่เลย ถ้าคุณมีคำถามเพิ่มเติม คุณสามารถถามและขอคำอธิบายเพิ่มเติมได้เลย”

สรุปจากผู้วิจัย

Blog เป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันกับผู้สอน กับเพื่อนร่วมห้องเรียน สร้างทัศนคติแง่บวกให้กับการเรียนภาษา และเพิ่มพูนการร่วมแบ่งปันความคิดระหว่างผู้เรียน และผู้สอน นอกจากนี้แล้วการเตรียมพร้อมของผู้สอนภาษาจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้การทดลองใช้ Blog อาจก่อประโยชน์ในการสอนภาษา โดยใช้เป็นวิธีการสอนหนึ่งที่กระตุ้นการเรียน และเพิ่มพูนศักยภาพให้ผู้เรียนนอกจากการเรียนภาษาอีกด้วย

การใช้ Blog เป็นสื่อเพื่อพัฒนาการสอนนอกห้องเรียนนั้น เป็นผลดีต่อผู้เรียนในการพัฒนาตนเอง (Personal Enrichment) การเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centre teaching and learning) เพื่อเพิ่มบทบาทให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมห้อง แต่อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยชิ้นนี้ ในแบบสอบถาม เห็นได้ชัดว่าผู้เรียนบางคนยังไม่คุ้นเคยกับ Blog ไม่รู้ถึงข้อดีของการใช้ Blog จึงอาจทำให้การสำรวจความพึงพอใจที่ต่อการใช้แหล่งการพัฒนาการเรียนภาษาที่สองนั้นอยู่ในทางลบมากกว่า ผู้วิจัยในงานวิจัยชิ้นต่อไป อาจให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาให้ละเอียดกว่านี้ ผู้เรียนจะได้ทราบว่า ควรบูรณาการสิ่งต่าง ๆ อย่างไร  

หมายเลขบันทึก: 567253เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท