ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


สิทธิในการมีสุขภาพที่ดี ปรากฏอยู่ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR)

ข้อ 12 แห่งกติกาฯ รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมี "สุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้" คำว่า "สุขภาพ" เป็นที่เข้าใจว่ามิใช่เพียงสิทธิในการมีสุขภาพดีเท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิที่จะควบคุมสุขภาพและร่างกาย (รวมทั้งการสืบพันธุ์) ของตนเอง และเป็นอิสระจากการแทรกแซง เช่น การทรมานหรือการทดลองทางการแพทย์ รัฐต้องคุ้มครองสิทธินี้โดยทำให้แน่ใจว่าทุกคนในเขตอำนาจของตนเข้าถึงปัจจัยสุขภาพที่จำเป็น เช่น น้ำสะอาด สุขอนามัย อาหาร สารอาหารและที่อยู่อาศัย และผ่านระบบสาธารณสุขอย่างครอบคลุม ซึ่งทุกคนเข้าถึงได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ และทุกคนเข้าถึงได้อย่างประหยัด

ข้อ 12.2 กำหนดให้ภาคีดำเนินการโดยเฉพาะเพื่อพัฒนาสุขภาพของพลเมืองของตน รวมทั้งลดอัตราการตายของทารก และพัฒนาสุขภาพเด็ก, พัฒนาสุขลักษณะทางสิ่งแวดล้อมและที่ทำงาน, ป้องกัน รักษาและควบคุมโรคระบาด และสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางการแพทย์ที่เท่าเทียมและทันท่วงทีแก่ทุกคน ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกมองว่าเป็น "ตัวอย่างไม่ละเอียดที่เป็นตัวอย่างประกอบ" มากกว่าเป็นคำประกาศข้อผูกมัดของภาคี

สิทธิในสุขภาพยังถูกตีความว่ากำหนดให้ภาคียอมรับสิทธิสืบพันธุ์ของสตรี โดยไม่จำกัดการเข้าถึงการคุมกำหนด หรือข้อมูล "ที่เซ็นเซอร์ ระงับหรือจงใจแถลงเป็นเท็จ" เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ภาคียังต้องประกันว่าสตรีได้รับการคุ้มครองจากวิถีปฏิบัติท้องถิ่นที่เป็นโทษ เช่น การขลิบอวัยวะเพศสตรี[1]

สิทธิดังกล่าวได้ถูกนำมาบัญญัติในกฎหมายไทยตาม รัฐธรรมนูญไทย ปี 2550 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง” ซึ่งสิทธิในการรักษาพยาบาลก็เป็นสิทธิของบุคคลที่รัฐไทยต้องคุ้มครองตามมาตรานี้

บุคคลที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา4 ย่อมหมายถึงมนุษย์ทุกคนที่มีความเป็นบุคคลที่กฎหมายเอกชนรับรอง โดยรับรองความเป็นบุคคลตั้งแต่แรกคลอดและอยู่รอดเป็นทารก จนตายจึงสิ้นสภาพบุคคล

ปัญหาของการใช้สิทธิในการมีสุขภาพที่ดี เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การให้บริการทางด้านสาธารณสุขไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ความครอบคลุมของหลักประกันสุขภาพและโครงการสวัสดิการ ประชาชนด้านการรักษาพยาบาล สำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้ถูกเลิกจ้าง ผู้ตกงานและผู้ด้อย โอกาสต่างๆ ในสังคมที่ยังไม่ทั่วถึง[2]

ปัญหาจากกรณีศึกษา เป็นกรณีที่ผู้ประสบปัญหาเป็นคนไร้สัญชาติ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณสุขจึงปฏิเสธที่จะให้การรักษา แต่ผู้ประสบปัญหานั้น เป็นเพียงคนไร้สัญชาติในทางข้อกฎหมายเท่านั้น ในความเป็นจริงบรรพบุรุษของผู้ประสบปัญหาเป็นคนท้องถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ตกสำรวจ หรือแม้บรรพบุรุษจะเป็นคนข้ามชาติ แต่ตัวผู้ประสบปัญหาเองเกิดในดินแดนไทย จึงย่อมได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดน ผู้ประสบปัญหาจึงมีสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลของไทยทุกประการ

นอกจากนี้ แม้ว่าผู้ประสบปัญหาจะมิใช่คนสัญชาติไทยก็ตาม โรงพยาบาลของไทยก็ควรจะให้การรักษาพยาบาลแก่บุคคลผู้นั้น เพราะมนุษย์ทุกคนต้องได้รับสิทธิในสุขภาพ ตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ดังนั้น ในความเห็นของข้าพเจ้า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม ควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากทุกๆรัฐบนโลก ไม่ควรจะถูกเลือกปฏิบัติเพียงเพราะเป็นคนสัญชาติที่แตกต่าง หรือเป็นคนไร้สัญชาติ ในเมื่อเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ก็ควรปฏิบัติในแบบเดียวกัน หรืออาจกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาให้ชัดเจน สำหรับแนวทางปฏิบัติกับคนต่างสัญชาติหรือคนไร้สัญชาติ โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ

ที่มา :

[1] - http://th.wikipedia.org/wiki/กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ_สังคม_และวัฒนธรรม#.E0.B8.AA.E0.B8.B4.E0.B8.97.E0.B8.98.E0.B8.B4.E0.B9.83.E0.B8.99.E0.B8.AA.E0.B8.B8.E0.B8.82.E0.B8.A0.E0.B8.B2.E0.B8.9E

[2] - http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/hu...

http://therama.info/?p=173

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t...

- ICESCR, Article 12

หมายเลขบันทึก: 567097เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2014 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2014 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท