ttm-อาหารกับอาการท้องผูก


อาหารกับอาการท้องผูก มีความสัมพันธ์กัน

อาหารกับอาการท้องผูก มีความสัมพันธ์กัน เพราะการเลือกรับประทานอาหารจะสัมพันธ์กับระบบขับถ่าย ถ้าการรับประทานอาหารในแต่ละวันไม่มีการรับประทานผัก ผลไม้เลย หรือรับประทานน้อย ก็จะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก เพราะข้าพเจ้ารับประทานผัก ผลไม้ น้อย และดื่มน้ำในปริมาณน้อย ซึ่งข้าพเจ้าจะเกิดอาการท้องผูกเป็นประจำ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกอึดอัด รู้สึกไม่สบายตัว ข้าพเจ้าจึงต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะค่อยๆเพิ่มปริมาณผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้มากขึ้น เพราะจะช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น และทำให้ผิวพรรณดี รู้สึกสดชื่น จากการสังเกตเพื่อนร่วมห้อง ซึ่งทุกคนขับถ่ายทุกวัน ทุกคนจะดูสดชื่น ซึ่งตรงข้ามกับข้าพเจ้าที่รู้สึกอึดอัดเพราะไม่ได้ถ่าย ในตอนนี้ข้าพเจ้าเริ่มปรับพฤติกรรม โดยเริ่มตั้งแต่วันที่                                                                     

จันทร์ ที่ 27 มิ.ย.48 ในวันนี้ได้เริ่มรับประทานผักโดยมื้อเช้ากับเที่ยง โดยเลือกเมนู เป็นผัดผัก โดยมื้อเที่ยงเพิ่มผลไม้เป็นสับปะรด ส่วนตอนเย็น ไปที่โรงช้าง กินอาหารตามสั่ง เป็นข้าวผัดรวมมิตร และในวันนี้ ก็ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น รู้สึกว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่ได้เริ่มกินผักมากขึ้น                                                                                                                                                   

อังคารที่ 28 มิ.ย.48  เช้าก็ยังไม่ถ่ายเหมือนเดิม รู้สึกอึดอัด และวันนี้กินมื้อเที่ยงทีเดียวเพราะตื่นสาย มื้อเที่ยงกินข้าวกับผัดผักเหมือนเดิมแต่เพิ่มไข่ดาว มื้อเย็นเดินไปกินที่โรงช้างเหมือนเดิม เป็นข้าวผัดน้ำพริกเผา และตอนก่อนนอนก็ดื่มน้ำ1 แก้ว                                                                                                                                             

พุธ ที่ 29 มิ.ย.48 เช้านี้ก็ไม่ถ่ายเหมือนเดิม และก็กินมื้อเที่ยงทีเดียวประมาณ11 โมง กินผัดผักเหมือนเดิม ตามด้วยผลไม้  ประมาณเกือบเที่ยงก็ถ่าย ก็รู้สึกดี ไม่อึดอัดเหมือนเมื่อวาน เพื่อนจึงบอกว่าให้ตื่นตอนเช้าและเข้าห้องน้ำให้ทุกวัน ถึงไม่ปวดก็ให้นั่งทุกวันจะช่วยให้เราเคยชินและช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นด้วย                                                              

พฤ 30 มิ.ย.48 วันนี้ตื่นขึ้นมาตอนเช้า เข้าไปนั่งในห้องน้ำ นั่งสักก็ไม่ถ่าย เลยมานอนต่อ เพราะมีเรียนในตออนบ่าย ตื่นมาอีกครั้ง 11 โมง อาบน้ำแต่งตัว ลงไปกินข้าวกับผัดผัก และไข่ดาว ส่วนตอนเย็นได้ไปซื้อส้มที่โลตัส 1 กิโลกรัม  มื้อเย็นกินข้าวกับไข่เจียว และส้ม 2 ลูก ก่อนนอนดื่มน้ำ 1 แก้ว                                                                        

ศุกร์ที่ 1 ก.ค.48 วันนี้ตื่นขึ้นมานั่งในห้องน้ำเหมือนเดิม นั่งสักพักก็ถ่าย รู้สึกสบายตัว ต่างจากเมื่อก่อนที่ 3-4 วันจึงจะถ่าย 1 ครั้ง ข้าพเจ้ากังวลเกี่ยวกับอาการท้องผูกมากเพราะจะทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้ แต่ตอนนี้รู้สึกดีขึ้นเพราะถ่ายบ่อยขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #ttm
หมายเลขบันทึก: 567เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2005 05:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พฤติกรมการรับประทานอาหารกากใยสูงและการดื่มน้ำให้เพียงพอ เป็นพฤติกรรมที่ต้องการปรับเปลี่ยน ลองตรวจสอบปริมาณอาหารกากใยที่รับประทานแต่ละมื้อ ระหว่างมื้อ และปริมาณน้ำดื่มว่าปริมาณเท่าไรที่จะทำให้การขับถ่ายสะดวก ถ้าพบว่าปริมาณเท่าใดที่ทำให้เราขับถ่ายได้สบาย เราก็พยายามรับประทานหรือดื่มปริมาณนั้นๆ ให้ได้ทุกๆ วัน นอกจากนี้การออกกำลังกายเบาๆจะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น การกำหนดเวลาขับถ่ายให้เป็นกิจวัตรที่ทำอยู่ดีแล้วค่ะ ขอให้สุขภาพดีโดยเร็ววัน

อุมาพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท