รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

การพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานในอาคารประเภทโรงพยาบาล


การบริหารจัดการทรัพยากร FM (Facility Management)

มีองค์ประกอบที่จำง่ายคือ 3P ได้แก่ People, Place และ Process หลักการ 3P นี้สามารถนำมาใช้ในการประยุกต์กับองค์ประกอบที่สำคัญของโรงพยาบาลฯได้ทันที เช่น People ก็คือคนในองค์กร Place ก็คือ

สถานที่หรืออุปกรณ์ใดๆ ในโรงพยาบาลและ Process ก็คือกระบวนการทำงานแต่เดิม หรือกระบวนการหรือเทคนิคใหม่ที่ทำให้ 2P แรกนั้นลดการใช้พลังงานลง อาจกล่าวได้ว่าหลัก FM นี้จะมีส่วนช่วยอย่างมาก

ต่อการพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานทั้งอย่างเป็นรูปธรรม อย่างครอบคลุมต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน

การบริหารจัดการทรัพยากรในโรงพยาบาลในที่นี้หมายถึง การบริหารจัดการด้านบุคลากร หรือคนในโรงพยาบาล [People; เริ่มตั้งแต่ ผู้บริหารสูงสุด (ต้นนํ้า) กลุ่มทีมทำงาน และกลุ่มช่าง (ปลายนํ้า) ด้านสถานที่ หรือ

[Place; ซึ่งให้ความหมายทั้งเรื่องของ พื้นการที่ อาคารที่มีโครงสร้างแต่เดิมที่

ไม่เอื้ออำนวยต่อการประหยัดพลังงาน หน่วยงานย่อยๆ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่กินพลังงานสูง เช่นลิฟท์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการซักรีด เป็นต้น] และ

ด้านกระบวนการ หรือ [Process; ระบบควบคุมหรือเทคโนโลยีประหยัดพลังงานหรือ เทคนิคที่ทำให้การทำงานของคนในสถานที่ใดๆหรือกับเครื่องจักรใดๆ ไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียด้านพลังงาน หรือสูญเสียน้อยที่สุด

เท่าที่จะเป็นไปได้] และที่สำคัญที่สุดที่ท่านผู้บริหารต้องระลึกไว้คือ ทั้ง 3P จะต้องอยู่ภายใต้แนวทางที่เรียกว่า Potential (Effective + Possible; คือปรับปรุง เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ก่อให้เกิดประสิทธิภาพจริงๆ คุณภาพดีขึ้น งานเร็วขึ้น บริการได้มากขึ้น(หรือกำไรมากขึ้น) ไม่ทำให้ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งไม่ทำให้ประสิทธิภาพขวัญและกำลังใจหรือคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่ลดลง [Effective] และที่สำคัญอีกประการคือวิธีนั้นๆต้องทำได้จริงๆไม่ใช่เป็นแค่จินตนาการ[Possible] ) ในส่วนต่อไปนี้มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายเพิ่มเติมถึงองค์ประกอบของ P บางตัว (People) ซึ่งจะช่วยให้ท่านผู้บริหารได้เห็นรายละเอียดย่อยๆทั้งหมดในมุมของ People โดยเนื้อหาจะได้กล่าวในหัวข้อ 2.1 ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจำเพาะเจาะจงกับ องค์ประกอบในด้านของคน(People)ในการบริหารจัดการทรัพยากรในอาคาร (FM) ร่วมกับมีการสอดแทรกเทคนิคที่สำคัญในการทำ FM ให้กับผู้บริหารสูงสุดโดยเฉพาะและตัวอย่างจริงที่ประสบความสำเร็จในการทำ FM ที่รวมองค์ประกอบของ 3P (Place – People – Process) เอาไว้อย่างครบถ้วน

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จด้านบริหารจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 : การแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการจัดการพลังงาน

องค์ประกอบของคณะกรรมการด้านการจัดการพลังงาน (ทีมบริหารระบบจัดการพลังงาน) เป็นวิธีการการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จแบบมีส่วนร่วม การมีคณะกรรมการด้านการจัดการพลังงาน ผู้บริหารจะต้องแต่งตั้ง คณะทำงานจากทุกภาคส่วนในโรงพยาบาลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน เพราะคณะกรรมการเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนั้นการแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาทำงาน (กลยุทธ์) จะต้องค้นหาคนสนใจ มีทัศนะคติในมุมบวก ( มีนํ้าใจ เสียสละ เป็นทีมหรือกับคำกล่าวโบราณที่ว่า เลือกคนผิดคิดจนตัวตาย) และสิ่งที่สำคัญนอกจากนั้นบทบาทอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบต้องชัดเจน มีความสอดคล้องกับงานบริหาร โรงพยาบาลในด้านต่างๆ (HAISOJCI) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความสลับซับซ้อนของงาน (ระบบข้อมูลการสื่อสาร) จะได้ไม่เป็นการเพิ่มภาระงาน

ขั้นตอนที่ 2 : การประเมินสถานะภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น

พิจารณาจากองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ดังนี้

1) นโยบายการจัดการพลังงาน (ชัดเจนหรือไม่)

2) การจัดองค์กร (เหมาะสม ครบถ้วนทุกฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบชัดเจนหรือไม่)

3) การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ (มีมากน้อยแค่ไหน)

4) ระบบข้อมูลข่าวสาร (มีการจัดเก็บข้อมูลด้านพลังงานที่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ อย่างไร)

5) การประชาสัมพันธ์ (ทุกครั้งที่มีกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย กิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฯ ทุกคนในโรงพยาบาลทราบกันอย่างทั่วถึงหรือไม่)

6) การลงทุน (เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมโรงพยาบาลของท่านพร้อมในการลงทุนระดับใด)

ขั้นตอนที่ 3 : การกำหนดนโยบายและการประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์พลังงานแนวทางการกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน

การกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เป็นเป้าหมายของการดำเนินการ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ซึ่งจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินสถานภาพเบื้องต้น (EMM) มาเป็นแนวทาง เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะได้ บ่งชี้ถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของโรงพยาบาลด้านการจัดการพลังงาน

ดังนั้นการกำหนดนโยบายจึงต้องเป็น การรักษาจุดแข็งที่มีอยู่ ให้ยั้งยืนและปรับปรุงพัฒนาจุดด้อยให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 : การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน

วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้เป็นการค้นหาศักยภาพของโรงพยาบาลในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยเริ่มจากการเก็บข้อมูล ตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน และประเมินการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ กล่าวคือเป็นการมุ่งเน้นไปยังกระบวนการ (Process Analysis) และอุปกรณ์ที่มีการใช้พลังงานในสัดส่วนที่สูง ว่ามีการใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่าและเป็นไปตามข้อกำหนดที่ควรจะเป็นของแต่ละอุปกรณ์หรือไม่ หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนงาน

ด้านการอนุรักษ์พลังงานต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 : กำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

ภายหลังจากการประเมินศักยภาพทางเทคนิคด้านการอนุรักษ์พลังงานในขั้นตอนที่ 4 คณะกรรมการจัดการพลังงานของโรงพยาบาล ต้องกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงานรวมถึงกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงาน

การกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน

จากมาตรการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ ที่กำหนดตามแนวทางข้างต้น การตัดสินใจกำหนดเป้าหมายในการอนุรักษ์พลังงานเพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 6 : การจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงาน

สำหรับการจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงานนั้น เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีวิธีการจัดการพลังงานขึ้นในองค์กรก็ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอนุรักษ์พลังงานแล้วยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน ควรใช้หลักการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร เพื่อให้ครอบคลุมทุกองค์ประกอบในการอนุรักษ์พลังงาน ที่ประกอบไปด้วยแผนการพัฒนาบุคลากรในองค์กร แผนการพัฒนากระบวนการทำงานและแผนการพัฒนาพื้นที่และเครื่องจักร โดยจัดแบ่งแผนต่างๆ ออกเป็น 3 ระยะ คือ

แผนงานระยะสั้น คือการดำเนินการด้านมาตรการประหยัดพลังงานที่ไม่มีการลงทุนทางการเงินหรือมาตรการที่มีการลงทุนน้อยมาก ทั่วไปมุ่งเน้นการปรับพฤติกรรมการใช้งานของคนในองค์กรเน้นการอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน การใช้งานเครื่องจักร การบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างเหมาะสม

แผนงานระยะกลาง คือมาตรการประหยัดพลังงานที่มีการลงทุนทางการเงินไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่เน้นการเปลี่ยนอะไหล่หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เครื่องจักรสิ้นเปลืองพลังงาน

แผนงานระยะยาว คือมาตรการประหยัดพลังงานที่มีการลงทุนสูง ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด และมีผลตอบแทนผลประหยัดที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

ขั้นตอนที่ 7 : การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

ภายหลังจากที่เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาล หรือผู้บริหารสูงสุดแล้ว คณะกรรมการ

มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลให้มีการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนการฝึกอบรมฯ รวมถึงตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการ

ปฏิบัติงานว่ามีการดำเนินการเป็นไปตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในแผนงานหรือไม่ ซึ่งหากมีความล่าช้าหรือการปฏิบัติไม่เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานที่วางไว้ คณะกรรมการจะต้องทำการหาสาเหตุว่าทำไม การดำเนินงานจึงไม่ประสบผลตามที่ได้วางไว้ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงให้การทำงานบรรลุตามเป้าหมาย เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงต่อไป ในการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรมฯ

รวมทั้งการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผน อนุรักษ์พลังงาน คณะกรรมการจัดการพลังงานควรดำเนินการดังนี้

1) ควบคุมให้มีการดำเนินมาตรการตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนการฝึกอบรมฯ โดยการให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละมาตรการรายงานผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคอย่างสมํ่าเสมอ โดยการรายงานความก้าวหน้าอาจระบุในรูปของเปอร์เซ็นต์ของผลสำเร็จในการดำเนินงาน รวมทั้งพิจารณาปรับเปลี่ยนแผนดำเนินการในกรณีที่มีความจำเป็น

2) ตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละแผนงานหรือแต่ละมาตรการ

โดยเทียบกับแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนการฝึกอบรมฯที่กำหนดไว้

3) หากมาตรการใดมีการดำเนินการล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผน ต้อง

วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย โดยการใช้ไดอะแกรมแบบก้างปลา (Fishbone Diagram) ในการหาสาเหตุ เพื่อหาแนวทางแก้ไขและสรุปผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 8 : การทบทวน วิเคราะห์ และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน

การทบทวน วิเคราะห์ และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงานเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องมาจากขั้นตอนที่ 7 โดยนำผลการประเมินการจัดการพลังงานจากการตรวจติดตามภายในมาวิเคราะห์ความเหมาะสม

จุดอ่อนและจุดแข็ง กิจกรรมหรือการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์พลังงานขององค์กร รวมทั้งประสิทธิภาพของวิธีตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของวิธีการจัดการพลังงาน (นโยบายอนุรักษ์พลังงาน แผนฝึกอบรม

หรือเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น) ในกรณีที่พบอุปสรรค หรือปัญหาในการดำเนินการ ต้องทำการวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเกิดจากข้อบกพร่องของวิธีซึ่งมาจากปัจจัยภายในองค์กรหรือเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก จากนั้นจึงหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงวิธีการจัดการพลังงานใหม่ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาวิธีการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่องในการประชุมทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของวิธีการจัดการพลังงานนั้นต้องจัดขึ้นเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และกำหนดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยผู้เข้าประชุม

ควรประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ประธานและคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน รวมทั้งตัวแทนจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการทบทวน วิเคราะห์ และแก้ไขข้อบกพร่องวิธีการจัดการพลังงานคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานควรดำเนินการดังนี้

1) จัดให้มีการประชุมทบทวนผลการดำเนินการภายหลังการตรวจประเมินภายใน โดยแจ้ง ให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานหรือตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงวัตถุประสงค์ รูปแบบ กำหนดเวลา และเข้าร่วมประชุม

2) การจัดการประชุมทบทวนผลการดำเนินการ ควรมีตัวแทนจากทุกฝ่ายเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและรับทราบผลการประชุม ดังนั้นควรให้มีการเชิญผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากฝ่ายบริหาร คณะทำงานฯ และตัวแทนพนักงานทุกระดับจากหน่วยงานต่างๆ

3) รวบรวมผลประเมินการดำเนินการจากหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร แล้วทำการสรุปภาพรวมการจัดการพลังงานขององค์กร ซึ่งอาจประกอบไปด้วยสถานะของดำเนินการ ผลการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดต่างๆ ผลสำเร็จที่ได้รับ และประสิทธิภาพของการดำเนินงาน นอกจากนี้ควรมีการนำเสนอแนวปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ทำให้การดำเนินการ

ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการหรือข้อบกพร่องที่พบ

4) ในระหว่างการประชุมทบทวนและวิเคราะห์วิธีการจัดการพลังงานผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระทั้งในส่วนที่เป็นเชิงบวกและเชิงลบต่อการดำเนินการ โดยในกิจกรรมหรือ

การดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวิธีการจัดการพลังงานก็ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมต่อไป สำหรับปัญหา อุปสรรค หรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ควรร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางในการแก้ไข

ที่เหมาะสม

5) ผู้บริหารระดับสูงควรนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมฯ ไปใช้ในการปรับปรุงวิธีการจัดการพลังงานให้ดีขึ้น เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทุกคนรับทราบถึงผลการประชุมทบทวนวิธีการจัดการพลังงาน รวมทั้งแนวปฏิบัติในการทำงาน เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการพลังงานซึ่งได้จากการประชุม

หมายเลขบันทึก: 566697เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2014 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 08:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท