ประยงค์
ร้อยตรี ประยงค์ ธรรมมะธะโร

พุทธประวัติคำกลอน(ปัจฉิมกาล)


พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของครูทั้งหลาย

                    บันทึกก่อนบันทึกนี้คือ http://www.gotoknow.org/posts/565418
                                      
                                   ( ภาพพุทธประวัติ จากอาจารย์เสน่ห์ ธนารัตน์สฤษดิ์)
                                              ปัจฉิมกาลของพระพุทธเจ้า

(โคลงสี่สุภาพ)                           พระพุทธเจ้าได้ท่อง                           เที่ยวสอน           

                                  สี่สิบห้าปีตะลอน                                       ไม่ท้อ
                                  แจกธรรมแก่นิกร                                       ปวงสัตว์
                                  แม้เหน็ดเหนื่อยไม่พ้อ                                  เพื่อสร้างธรรมา
                                         เข้าพรรษาพระพุทธ์นั้น                          ยาตรา
                                ลุถึงเวฬุคามา                                             หมู่บ้าน
                                ทรงป่วยด้วยโรคชรา                                      อาพาธ
                                พุทธ์ปลุกพลังต่อต้าน                                     ยิ่งด้วยบารมี
                                          กลั้นทุกข์เวทนาด้วย                            ขันตี
                               มิหวั่นไหวในฤดี                                            เที่ยงแท้
                               อดชราพาธด้วยมี                                          อิทธิบาท
                               ยังชีพโดยธรรมแก้                                        จิตตั้งมั่นนาน
                                         ออกพรรษาพระพุทธ์เข้า                         ปาวาล
                              ตรัสโอภาสนิมิตนาน                                        สามครั้ง
                              อานนท์ไม่รู้การณ์                                           เฉยอยู่
                              พุทธ์สั่งเธอไปยั้ง                                            ร่มไม้อื่นหนา
                                      พระพุทธเจ้าทรงปลงสังขาร

(กลอนแปด)  พุทธ์ตรึกตรอง หมู่สี่นั้น ตั้งมั่นดี                        พระทรงศรี จึงแจ้งพระ อานนท์ว่า
                อีกสามเดือน พุทธองค์ ปลงขันธา                     อย่ารอช้า เธอจงฟัง โดยตั้งใจ
                          อันสรรพสิ่ง ทั้งหลาย มีในโลก                           ต้องวิโยค มีปรวนแปร และหวั่นไหว
                          ครั้นเกิดขึ้น ย่อมเสื่อมสิ้น ดับดิ้นไป                      หาไม่ได้ สิ่งเที่ยงแท้ หรือแน่นอน
(กาพย์สุรางคนางค์)     ฟ้าร้องก้องกึก    โลกไหวระทึก     ปวงสัตว์สังหรณ์

         ลมพัดบ้าคลั่ง    โถมถั่งสิงขร    คลื่นในสาคร   ป่วนปั่นทันใด
                           ดอกไม้ล่วงหล่น     สัตว์ในสากล     หดหู่หัวใจ
               พุทธ์ทรงปลงชนม์    ไม่พ้นจากไป      ทวยเทพอาลัย     ด้วยใจร้าวรอน
(กลอนแปด)    ต่อจากนั้น พุทธองค์ ทรงเร่งไป                       เมืองน้อยใหญ่ ไม่หยุดยั้ง เพื่อสั่งสอน
                   จนกระทั่ง บรรลุปา- วานคร                          พุทธ์พักผ่อน ที่สวนใหญ่ นายจุนทะ
    รุ่งอรุณ นายจุนทะ ถวายภัตร                    พุทธ์ดำรัส ให้ภัตรตรง องค์พุทธ์นะ

    เหลือให้ฝัง อย่าได้ให้ ในสงฆ์ล่ะ                 เสร็จแล้วพระ พุทธ์รุดไป ไม่รอรี
                   ฉันอาหาร แล้วทรงลง พระโลหิต                     พุทธ์ปกปิด ด้วยดวงใจ ไม่หน่ายหนี
                   แม้เกิดทุกข์ เวทนา มาโจมตี                         พุทธ์ยินดี ไม่มีพ้อ ระย่อภัย
   พุทธ์ตรัสอย่า ติจุนทะ เรื่องอาหาร               ผลของทาน ย่อมยิ่งยง อย่าสงสัย
   หนึ่งทานแล้ว ตรัสรู้ ครูจอมไตร                  สองทานใน กาลจะมี พระนิพพาน
(กาพย์ยานี)       พุทธ์รีบเร่งเดินทาง                     ถึงท่ามกลางแทบวายปราณ
              หิวน้ำ, เหนื่อยสังขาร                         วานอานนท์ขอน้ำที
                         อานนท์ตอบถ้อยความ                   เกวียนพึ่งข้ามในวารี
                  รอให้ใสกว่านี้                                   พระภูมีมิอาจรอ
                     อานนท์จำไปตัก                     น้ำขุ่นคลักกลับใสหนอ
              พุทธ์ฉันพลันชุ่มคอ                         พอเหนื่อยหายใจสำราญ
                      พอดีปุกกุสะ                                บุตรมัลละกษัตริย์ผ่าน
               พบพุทธ์หยุดเฝ้าท่าน                              ฟังธรรมสารพลันเลื่อมใส
                    น้อมผ้าสิงคิวรรณ                     หนึ่งคู่นั้นให้พุทธ์ใช้
               พุทธ์รับผืนเดียวไว้                         ให้อานนท์นั้นอีกหนึ่ง

                    จากนั้นปุกกุสะ                                เคารพพระพุทธ์สุดซึ้ง
               เดินเวียนขวาแล้วจึง                                บึ่งเดินทางอย่างเร็วไว
                     พุทธ์ห่มผ้าเหมาะนัก                 อานนท์ทักพุทธ์อำไพ
                พุทธ์ตอบในทันใด                        ผิวผ่องใสในสองกาล
                      คือก่อนตรัสรู้                                 และก่อนสู่พระนิพพาน
                พุทธ์รีบพาสงฆ์ผ่าน                                 หมู่บ้านลุสู่นที              

 (โคลงสี่สุภาพ)    พุทธ์ข้ามแม่น้ำหิ-                   รัญวดี

    เดินบ้าง, พักกายมี                                   บ่อยครั้ง
    ทั้งเหนื่อย, ร้อนอินทรีย์                              พุทธ์ข่ม
    พุทธ์เร่งด้วยจิตตั้ง                                    มั่นแท้อดทน  
               ลุถึงสาลวันยั้ง                             บัดดล
     พุทธ์สั่งให้อานนท์                                   อย่าช้า
     ปัดกวาดที่อยู่จน                                     สะอาด
     ปูที่พื้นด้วยผ้า                                        ที่ใช้คลุมองค์
              ต้นสาละคู่นี้                                 เที่ยงตรง
     พุทธ์น้อมกายนอนลง                                ที่นั้น
     ประทับนิ่งมั่นคง                                      ไม่หวั่น
     เวทนาถูกกั้น                                         ข่มด้วยองค์ฌาน
            หมู่ดอกไม้ต่างล้วน                            ผลิบาน
     ออกดอกสีตระการ                                   เลิศล้น
     อร่ามเรืองละลาน                                     ทั่วถิ่น
     กลิ่นหอมฟุ้งท่วมท้น                                  แด่ไท้ชินสีห์  
                     
                         (ภาพพุทธประวัติ จากอาจารย์เสน่ห์ ธนารัตน์สฤษดิ์ )
         

(กาพย์สุรางคนางค์)     ตรัสสั่งพระสงฆ์   การบูชาองค์  ให้ทรงความดี
            ปฏิบัติธรรม  น้อมนำชีวี     จึงเป็นวิธี     บูชาพระองค์
     ส่วนสตรีนั้น    ถ้าต้องพูดกัน   อย่าให้ใหลหลง
  เมื่อเราจากไป      จงให้ยืนยง     สี่แห่งมั่นคง     ปลงสังเวชใจ
      อานนท์ถามว่า    เมื่อดับขันธา  จะทำอย่างไร? 
พุทธ์ตอบทันควัน     ราชันย์เกรียงไกร   ปวงชนทั่วไป   เขาจะจัดการ
       อานนท์ถามใหม่    จะบอกราชไซร้    หรือในชาวบ้าน
  ให้เขาจัดแจง   ตกแต่งสังขาร     ของพุทธ์ถูกงาน     นั้นอย่างไรดี?
 พุทธ์เอ่ยเคยจัด   กับขันธ์กษัตริย์   ให้สมศักดิ์ศรี
     ก็ให้จัดขันธ์    พุทธ์นั้นตามที่   จัดขันธ์ราชนี้    นี่แหละคำไข
 สั่งอานนท์เจ้า   เข้าไปบอกท้าว   มัลละทราบไว้
      ว่าพุทธองค์     จะทรงสิ้นใจ    คืนวันนี้ใน   ยามหลังแน่นอน
 มัลละชวนกัน     เฝ้าพระพุทธ์พลัน   ฟังคำสั่งสอน
   ในยามต้นนี้    ยังมีคนจร   ขอเฝ้าเพื่อถอน    ข้อที่สงสัย
พุทธ์ห้ามนินทา    ล่วงศาสนา   แล้วตรัสเป็นนัย   
    ทางเยี่ยมยิ่งนั้น    แปดอันนั่นไง   โลกนี้จะไม่   ว่างจากอรหันต์
สุภัททะชอบ   บวชทำตามกรอบ  กรรมฐานทันควัน
    ลุยามกลางเกิด      รู้เลิศอรหันต์      เป็นสาวกนั้น     สุดท้ายพอดี
                                ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า
(กลอนแปด)  กาลเวลา ผ่านไป ใกล้รุ่งแล้ว                        พระดวงแก้ว สั่งพระสงฆ์ จงสุขี
                เมื่อเราลับ ให้จดจำ ธรรมให้ดี                       ธรรมที่มี จะเป็นครู อยู่ต่อไป
 ในที่สุด ได้ตรัสสั่ง ครั้งสุดท้าย                       ท่านทั้งหลาย จำให้มั่น อย่าหวั่นไหว
 อันสังขาร ย่อมเสื่อมคลาย มลายไป                 จงทำใจ อย่าประมาท พลั้งพลาดกัน
           ต่อจากนั้น จิตเข้าพระ สมาบัติ                          เสด็จตัด วัฏสงสาร การถือขันธ์
           ในเวลา รุ่งอรุณ ของวันนั้น                              แปดสิบชัน- ษาครบ จบชีวี
(โคลงสี่สุภาพ)  พุทธ์ผู้ทรงค่าล้น                              ความดี
       ต่อแต่นี้ไม่มี                                             ท่านแล้ว
       เหลือธรรมที่ชินสีห์                                      สอนสั่ง
       เปรียบค่าปานดวงแก้ว                                   ช่วยชี้นำทาง
 (กาพย์สุรางคนางค์)     โลกเงียบสงัด    ราวกับป่าชัฏ   เปล่าเปลี่ยวอ้างว้าง
         ฟ้ามืดฝนมัว   สลัวตามทาง  เดี๋ยวกลับสว่าง     ดั่งโลกขมขื่น
                 ลมพัดหันเห   คลื่นในทะเล   ปั่นป่วนชวนตื่น
       แล้วกลับหยุดนิ่ง    ทุกสิ่งหวนคืน   สู่ความราบรื่น           คืนพุทธ์จากไป
(กาพย์ยานี)  ฝูงสัตว์ต่างนิ่งงัน                    หมู่ชนพลันน้ำตาไหล
              โศกเศร้าสุดเสียใจ                   เสียงก้องไปในพนา
                     โอ้พุทธ์ผู้ประเสริฐ                   เปิดเผยธรรมนำหรรษา
              จากไกลไม่กลับมา                         ปวงประชาแสนอาลัย
               เปรียบดั่งแก้วล้ำค่า                 มาแตกลงสิ้นสงสัย
         ร้องดิ้นแทบสิ้นใจ                         ค่อยได้ผ่อนคลายอุรา
(กาพย์ฉบัง)     หมู่ดอกไม้ปลิวลอยมา                      คลุมศาสดา
          เกลื่อนกล่นสูงท่วมภูมี
                   พรรณรายหลายหลากสี                    หอมกลิ่นมาลี
         สักการะพระพุทธองค์
(โคลงสี่สุภาพ)   เปรียบประทีบส่องให้              เห็นตรง
      พาหมู่สัตว์หายหลง                             เลิศล้น                 
      พลันมาด่วนดับองค์                             แล้วพ่อ
      ชนต่างทุกข์เท่าท้น                             แต่นี้ไม่มี
                แต่โลกยังไม่สิ้น                      ทันที
      พุทธ์ก่อเกิดสงฆ์ดี                              ทั่วหล้า
      เกิดแสงต่อคูณทวี                              มากยิ่ง
      ดับหนึ่งเกิดท่วมฟ้า                             ส่องให้เห็นธรรม
                         ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ
  
   (กลอน) พระพุทธ์ลับ ดับขันธ์ นิพพานแล้ว                   ชนใจแป้ว น้ำตานอง หน้าหมองคล้ำ

              อนุรุธ และอานนท์ ทนกลืนกล้ำ                      แสดงธรรม ปลอบใจชน จนหายตรม
                    ท้างมัลละ ทั้งปวงอยู่ บูชาพุทธ์                     ยิ่งใหญ่สุด ทั่วป่ากว้าง อย่างเหมาะสม 
                    พอพลบค่ำ ก็ตามไฟ ให้ชนชม                     ชนนิยม มาฟังธรรม นำชีวี
     ครบเจ็ดวัน เคลื่อนผันพุทธ์ สรีระ                   ถึงที่มะ- กุฏพันธนะ- เจดีย์ศรี
      ห่อขันธ์พุทธ์ ผ้าระยับ ซับสำลี                     โดยนัยนี้ ห้าร้อยชั้น เป็นอันสุด
                   เชิญลงใน รางเหล็กตาม น้ำมันหอม                 เมื่อเสร็จพร้อม ปิดฝาราง ครบอย่างพุทธ์
                   เชิญขึ้นเหนือ เชิงตะกอน ไม้หอมสุด                แต่ว่าจุด ไฟไม่ได้ ให้งวยงง
   ระหว่างนั้น พระมหา กัสสปะ                      พาหมู่พระ มุ่งหาพุทธ์ ผู้หยุดหลง
   สวนทางกับ นักบวชผู้ ต่างจากวงศ์                เกิดงุนงง จึงถามหา พระพุทธเจ้า
                   อาชีวก นั้นบอกว่า พุทธ์ลาล่วง                     ดูดอกดวง ตนเก็บนั้น พยานเศร้า
                   สงฆ์ก่นโศก วิโยคขรึม ใจซึมเซา                  ทุกข์โรมเร้า เหล่าพระสงฆ์ ลงเกลือกกลิ้ง
  มีพระบวช เมื่อแก่นาม สุภัททะ                   ร้องห้ามพระ อย่าร่ำไห้ อาลัยยิ่ง
  เราทั้งหลาย พ้นจากพุทธ์ สุดดีจริง                เราทำสิ่ง ใดก็ได้ ตามใจตน
                  พระมหา กัสสปะ สะอึกคำ                           นึกแล้วช้ำ คำที่กล่าว ทำเศร้าหม่น
                  นี่พุทธ์ลับ นับเจ็ดวัน พลันมีคน                      กล่าวหมิ่นล้น พระศาสดา ช่างน่าอาย
  จะยกขึ้น เป็นคดี มีลงทัณฑ์                        กาลอย่างนั้น ยังไม่ควร ล้วนเสียหาย
  จึงห้ามสงฆ์ โดยทางธรรม จำกลับกลาย            พาสงฆ์บ่าย หน้าจนลุ สู่เจดีย์
                 เมื่อถึงพลัน พากรานกราบ ทำบูชิต                   เวียนขวาจิต- กาธาน สามรอบนี้
                 บังคมบาท พุทธ์ด้วยเศียร เวียนทั่วดี                 ไฟเกิดมี ติดเผาขันธ์ พุทธ์ทันใด
  เพลิงเผาพุทธ์ สรีระ สลายสิ้น                      เถ้าก็ภินท์ เขม่าหาย ไม่เหลือไซร้
  เหลือเพียงอัฐิ, ผม, ขน, เล็บ ฟันนั่นไง            กับผ้าใช้ ห่อพุทธ์ขันธ์ นั้นหนึ่งคู่ 
                มวลมัลละ กษัตริย์นำ น้ำหอมพรม                    พระบรม สารีริกธาตุ อันเลิศหรู
                เชิญไปสัณ- ฐาคาร ศาลาอยู่                        จัดการบู- ชาพระธาตุ นั้นเจ็ดวัน
  มีกษัตริย์ เจ็ดเมืองไซร้ อยากได้ธาตุ                จึงประกาศ ขอธาตุนี้ มิแปรผัน
  โทณพราหมณ์ แบ่งธาตุล้วน แปดส่วนพลัน           แจกเท่ากัน ทั้งแปดเมือง เรื่องเงียบไป
               เหล่าทูตรับ พระธาตุปั๊บ หันกลับบ้าน                  ราชสุขศานต์ สมโภชธาตุ ราษฎร์สดใส
               สร้างสถูป บรรจุธาตุ กันเร็วไว                         ตัวพราหมณ์ได้ ทะนานทอง ตวงธาตุแทน
  แบ่งเสร็จแล้ว โมริยะ กษัตริย์รู้                     ส่งทูตกรู แต่ช้าไป ให้โศกแสน
  ส่วนแบ่งหมด ได้อังคาร นั้นไปแทน                ทูตโลดแล่น กลับเมือง, ราช  พลันบูชิต
              จึงจบลง เรื่องของพระ พุทธเจ้า                         ขอพวกเรา อ่านให้แจ้ง อย่าแคลงจิต
              วิสัยพุทธ์ สุดจะหยั่ง ทั้งมากฤทธิ์                        อ่านแล้วคิด จะเห็นพุทธ์ พิสุทธิ์เอย...@

                              หนังสือประกอบการเขียนพุทธประวัติคำกลอน  

-คู่มือพุทธประวัติและอิลราชคำฉันท์, เปลื้อง ณ นคร, สนพ.วัฒนาพานิช, 2501.
-ภาพพุทธประวัติ, อาจารย์เสน่ห์ ธนารัตน์สฤษดิ์, สนพ.อำนวยสาส์น, 2532.
-ประวัติพระพุทธเจ้า, ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายเชาวน์ จัยวัฒน์, สนพ.มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, 2517.
-พุทธประวัติจากสังเวชนียสถาน, ไพโรจน์ คุ้มไพโรจน์, สนพ.คุรุสภา, 2522.
-พระพุทธศาสนา, มหาอำมาตย์ตรี พระยาภักดีนฤเบศร์, สนพ.คุรุสภา, 2519.
-พุทธประวัติ, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, พิมพ์ครั้งที่ 43, สนพ.มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2518.
-หนังสือประกอบการเรียนหมวดวิชาสังคมศึกษา ศีลธรรม, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, สนพ.คุรุสภา, 2520.
-แบบเรียนสังคมศึกษาวิชาศีลธรรม ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, พิมพ์ครั้งที่
12,สนพ.คุรุสภา, 2514.
-บทประพันธ์ฉบับชนะการประกวดในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ, ไม่ปรากฏชื่อ, สนพ.คุรุสภา, 2500.

       (โปรดติชม แก้ไข และหากมีโอกาส โปรดนำไปใช้ให้้เกิดประโยชน์นะครับ...)    

หมายเลขบันทึก: 566153เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2014 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2014 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับพี่ ผมว่าโคลงสี่สุภาพพี่น่าจะแต่งผิดหลักวรรณยกต์นะครับ เพราะจะมีการบังคับวรรณยุกต์ไว้นะครับ

ไม่ได้จับผิดพี่นะครับ แต่อ่านแล้วรุู้สึกได้นะครับ

ส่วนกลอนอื่นขอไม่เสนอแนะนะครับ


...ได้ความรู้ มากเลยค่ะ ....

ได้ความรู้มากเลย

พี่ครูหายไปนาน

ไปประจวบมา

เสียดายไม่ได้พบกันครับ

ดีใจด้วยจ้ะ....ที่อาจารย์ใกล้จะได้วางมือ วางภาระการงามแล้ว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท