ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>การทำบุญวันสงกรานต์


   มีเรื่องเล่าว่า เศรษฐีผู้หนึ่งอยู่กินกับภรรยามานานแต่ไม่มีบุตรเศรษฐีผู้นั้นบ้านอยู่ใกล้กับบ้านนักเลงสุรา นักเลงสุรามีบุตรสองคน ผิวเนื้อเหมือนทอง

     วันหนึ่งนักเลงสุราไปกล่าวคำหยาบช้าต่อเศรษฐี เศรษฐีจึงถามว่าเหตุใดจึงมาหมิ่นประมาทตนผู้มีสมบัติมาก นักเลงสุราจึงตอบว่าถึงท่านมีสมบัติมากก็ไม่มีบุตร ตายแล้วสมบัติจะสูญเปล่า เรามีบุตรเห็นว่าประเสริฐกว่าท่านเศรษฐีได้ยินดังนั้น มีความละอายจึงทำการบวงสรวง ตั้งอธิษฐานขอบุตรต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์ถึงสามปี แต่ไม่เป็นผลจึงไปขอบุตรต่อต้นไทร

     เทวดาซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ต้นไทรสงสารได้ไปอ้อนวอนขอบุตรต่อพระอินทร์ให้เศรษฐี พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อประสูตแล้วเศรษฐีให้ชื่อว่า ธรรมบาล ตามนามของเทวบุตร และปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ที่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเป็นเด็กฉลาด โตขึ้นอายุเพียง ๆ ขวบก็สามารถเรียนจบรู้ภาษานกและมีความเฉลียวฉลาดมากต่อมา กบิลพรหม จากพรหมโลกได้ลงมาถามปัญหาสามข้อกับธรรมบาล ปัญหามีว่า

     คนเราในวันหนึ่ง ๆ เวลาเช้าศรีอยู่ที่ไหน เวลาเทียงศรีอยู่ที่ไหน และเวลาเย็นศรีอยู่ที่ไหน โดยสัญญาว่า ถ้าธรรมบาลแก้ได้กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา แต่ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้จะต้องตัดศีรษะธรรมบาลเสีย โดยผัดให้เจ็ดวันคราวแรกธรรมบาลนึกตอบปัญหานี้ไม่ได้

    พอถึงวันถ้วนหกพอดีไปแอบได้ยิน นกอินทรี ผู้ผัวพูดคำตอบให้นกอินทรีผู้เป็นเมียฟังบนต้นตาล ธรรมบาลถึง สามารถแก้ปัญหาได้ คำตอบคือเวลาเช้าศรีอยู่ที่หน้าคนถึงเอาน้ำล้างในตอนเช้า เวลากลางวันศรีอยู่ที่อกคนถึงเอาเครื่องหอมประพรมที่หน้าอกในเวลากลางวันและเวลาเย็นศรีอยู่ที่เท้า

    คนจึงเอาน้ำล้างเท้าในเวลาเย็น เมื่อถึงวันถ้วนเจ็ดท้าวกบิลพรหมได้มาทวงถามปัญหาธรรบาล เมื่อธรรมบาลตอบได้ (ตามที่ยินนกพูดกัน) กบิลพรหมจึงตัดศีรษะของตนบูชาธรรมบาลตามสัญญาแต่เนื่องจากศีรษะของกบิลพรหมศักดิ์สิทธิ์ ถ้าตกลงแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ ถ้าทิ้งไปในอากาศจะทำให้เกิดฝนแล้งและถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง

    ดังนั้นเมื่อกบิลพรหมจะตัดศีรษะของตน ถึงได้ให้ ธิดาทั้งเจ็ด เอา พานมารองรับศีรษะ ของตนไว้ โดยตัดศีรษะส่งให้ นางทุงษ ผู้ธิดา คนใหญ่ แล้วธิดาทั้งเจ็ดจึงแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาที จึงนำไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปในถ้ำคันธุลีเขาไกรลาส

     บูชาด้วยเครื่องทิพย์พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงแล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ ให้เป็นที่ประชุมเทวดาพอครบหนึ่งปีธีดาทั้งเจ็ดจะผลัดเปลี่ยนกันมาอัญเชิญเอาศีรษะของกบิลพรหมแห่พระทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ (ธิดาทั้งเจ็ดของกบิลพรหมมีชื่อดังนี้ คือ ทุงษ โคราด รากษส มัณฑา กิรินี กิมิทา และมโหทร ) พิธีแห่เศียรของกบิลพรหมนี้ทำให้เกิดพิธีตรุษสงกรานต์ขึ้นทุก ๆ ปี และถือเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวไทยโบราณต่อๆ กันมาด้วย

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก www.phibun.com

หมายเลขบันทึก: 566007เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2014 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2014 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีวันปีใหม่ไทยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท