กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในเมืองไทย


โทษประหารชีวิตเป็นเรื่องที่เป็นประเด็นถกเถียงถึงความจำเป็นต้องมีอยู่หรือไม่จำเป็นมาอย่างยาวนาน โดยในปัจจุบันมีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว 140 ประเทศ ขณะเดียวกันยังมี 58 ประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในประเทศเหล่านี้เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่นำโทษประหารชีวิตมาใช้จริง ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเอเชียและตะวันออกกลางและหนึ่งในนั้นก็มีประเทศไทยอยู่ด้วย

ในอดีตการประหารนักโทษมีอยู่หลายวิธีด้วยกันแต่ในสมัยปัจจุบันได้เปลี่ยนไปการประหารชีวิตโดยการยิงเป้า โดยนับตั้งแต่การเปลี่ยนการประหารจากการตัดคอมาเป็นการยิงเป้าในปี พ.ศ. 2478 - 2552 มีนักโทษถูกประหารชีวิตทั้งสิ้น 319 คน ในอดีตการประหารนักโทษมีอยู่หลายวิธีด้วยกันแต่ในสมัยปัจจุบันได้เปลี่ยนไปการประหารชีวิตโดยการยิงเป้า โดยนับตั้งแต่การเปลี่ยนการประหารจากการตัดคอมาเป็นการยิงเป้าในปี พ.ศ. 2478 - 2552 มีนักโทษถูกประหารชีวิตทั้งสิ้น 319 คน

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันประเทศไทยและอีกหลายประเทศที่ยังไม่ยกเลิกโทษประหารยังคงมีการถกเถียงเรื่องโทษประหารอยู่ตลอดเวลาในสังคม โดยฝ่ายที่เห็นด้วย มักมองว่า มาตรการนี้เป็นวิธีการที่สร้างความปลอดภัยและสันติภาพในสังคม แต่ในฝั่งที่ไม่เห็นด้วยมองว่าโทษประหารชีวิตมีลักษณะที่โหดร้าย ขัดกับหลักการพื้นฐานของศาสนา อีกทั้งยังมีการวิจัยในเชิงวิชาการมาแล้วหลายครั้งว่า โทษประหารชีวิตไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอาชญากรรมได้ โดยงานวิจัยระบุว่า ปัจจัยที่จะทำให้อาชญากรรมลดน้อยลงนั้นคือเรื่องของความรวดเร็วในการจับกุมและความชัดเจน แต่หากคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เสียหายและคนที่ถูกทำร้ายที่ต้องสูญเสียหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้ ประเด็นที่ว่าการยกเลิกโทษประหารมีความจำเป็นจริงหรือไม่จึงเกิดขึ้น เพราะที่จริงแล้วผู้ที่มีโอกาสถูกลงโทษประหารชีวิตหากรับสารภาพ ศาลก็อาจลงโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตแทนอยู่แล้ว อีกทั้งโทษประหารชีวิตยังสามารถขออภัยโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิตได้ ซึ่งนับเป็นการผ่อนหนักเป็นเบาของโทษที่สามารถทำได้อยู่แล้ว

ในมุมมองสังคมที่มองอย่างเป็นกลางโดยไม่เอนเอียงไปฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิก มีหลายเสียงที่แตกประเด็นที่น่าสนใจออกมาคือ ประเทศไทยควรยกเลิกโทษประหารชีวิตแต่ไม่ใช่เวลานี้ เพราะการประหารชีวิตในบางกรณีก็เหมือนการเชือดไก่ให้ลิงดู สังคมไทยเป็นสังคมแบบมือถือสากปากถือศีลที่ทำเหมือนไม่มีความรุนแรงอยู่ แต่ความจริงก็ยังมีความรุนแรงอยู่ นั่นเป็นเหตุผลที่ยังต้องมีโทษประหารชีวิตอยู่ นอกจากนี้คุณภาพของประชากรของประเทศไทยก็มีความแตกต่างกันกับประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว หากจะยกเลิกโทษประหารชีวิตจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของประชาชนก่อน อีกทั้งกระบวนการยุติธรรมต้องเข้มงวดกวดขันให้มากยิ่งขึ้น และตรงไปตรงมายิ่งขึ้น ไม่ให้ผู้เสียหายรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความกังขาในกระบวนการยุติธรรมอย่างในหลายๆคดีที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงจะต้องเตรียมความพร้อมมากพอสมควร เพราะหากสังคมยังเสื่อมโทรม คุณธรรมยังเสื่อมถอย การฉ้อราษฎร์บังหลวงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง การยกเลิกโทษประหารชีวิตอาจยังเป็นไปไม่ได้ในวันนี้ เพราะจะยิ่งสร้างความช้ำใจให้กับเหยื่อมากขึ้นไปอีก[1]

ในมุมมองของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความเห็ฯว่าไม่อาจจะสรุปได้ว่าการใช้โทษประหารชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่ผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ เมื่อมองไปในมุมของศีลธรรมการลงโทษเพื่อนมนุษย์โดยการฆ่านนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องผิดศีลธรรมเป๋นอย่างยิ่ง ชีวิตของใครคนหนึ่งไม่อาจจะแลกกับชีวิตของใครได้ แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้กระทำความผิด แต่ในมุมของด้านสังคมอาจจะมองได้ว่าในบางความผิดนั้นโทษประหารชีวิตเป็นโทษที่เหมาะสมสำหรับการลงโทษในความผิดนั้นๆ

[1] “โทษประหารชีวิต ความจำเป็นที่ต้องคงอยู่ หรือความรุนแรงที่ควรยกเลิก” เดลินิวออนไลน์ แหล่งที่มา : http://www.dailynews.co.th/Content/Article

หมายเลขบันทึก: 565817เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2014 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท