ข้อคิดที่ได้จากภาพยนต์ Amazing Grace


หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ชมภาพยนต์เรื่อง Amazing Grace ที่ว่าด้วยเรื่องการขับเคลื่อนกฎหมายเกี่ยวกับการยกเลิกการเอาคนเป็นทาสในห้องเรียนแล้วทำให้พอจะเข้าใจเกี่ยวกับที่มารากฐานความรู้สึกสำนึกและเหตุผลที่ใช้ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนในช่วงแรกที่ได้หยิบยืมแนวความคิดเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ในการผลักดันแนวความคิดดังกล่าว ตัวเอกในเรื่อง(William Wilberforce)เองก็มีความเห็นอกเห็นใจในผู้อื่นในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกันถึงแม้สังคมในขณะนั้นจะกำหนดค่านิยมบที่มองว่าคนไม่เป็นคนให้เป็นเรื่องถูกต้อง นั่นก็ได้แก่การกดสถานะของคนบางประเภทที่แตกต่างด้านสีผิวให้เป็นสิ่งของที่ไม่ได้มีสถานะเท่าเทียมกับมนุษยและถูกนำลงไปเป็นทาส ซึ่งหากเราใช้ความคิดของยุคปัจจุบันไปตัดสินก็ย่อมจะไม่เข้าใจความคิดของคนยุคนั้นว่าเหตุใดจึงกรอบความคิดเช่นนั้น จึงเกิดขึ้นได้

ความคิดเช่นนี้ทำให้เราเห็นได้ว่ากรอบความคิดของคนในสังคมที่ปฎิบัติต่อเนื่องกันมานั้นใช่ว่าจะถูกต้องดีงามเสมอไป ตัวเอกของเรื่องต้องต่อสู้กับกรอบความคิดดังกล่าวด้วยความยากเย็นถึงแม้ในสังคมนั้นจะมีรากฐานของศาสนาที่สอนให้ไม่ทำร้ายผู้อื่นบัญญัติไว้ เเต่สังคมก็ยังมีการนำคนเป็นทาสอยู่ทำให้เห็นได้ว่าแท้จริงแล้วมันเป็นความย้อนแย้งอย่างมาก แต่ด้วยที่ค่านิยมตอนนั้นมีการเหยียดสีผิวเห็นว่าคนที่มีสีผิวต่างจากตนไม่ใช่คน เป็นเพียงสัตว์ สิ่งของ เรื่องดังกล่าวจึงไม่เข้าข้อบังคับที่ศาสนาสอนตนการกระทำดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ผิด

แต่การเทียบเคียงความรู้สึกที่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของมนุษย์ทำให้ตัวเอกรับรู้ได้ว่า ทาสเองก็มีความรู้สึกนึกคิดเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ควรถูกทรมาน ถูกล่ามโซ่ตรวน ถูกใช้ให้ทำงานหนัก ไม่มีสิทธิในชีวิตร่างกายเป็นเพียงสิ่งของล้วนเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เขาอยากที่จะพลักดันความเปลี่ยนแปลงค่านิยมที่ไม่ถูกต้องในสังคมหมดสิ้นไปผ่านเเม้การผลักดันความคิดดังกล่าวจะเป็นไปอย่างยากเย็นทำให้ใช้เวลาถึง 20 ปีถึงจะออกเป็นกฏหมายได้แต่ความสำเร็จนั้นทำให้แนวคิดเกี่ยวกับทาสในประเทศอังกฤษเปลี่ยนเเปลงไปเเละส่งผลต่อประเทศอื่นๆ

ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ1 ที่วางหลักว่า มนุษย์เกิดมามีอิสระเสรีเท่าเทียมกันทั้งสิทธิเสรีภาพ ทำให้เห็นได้ว่าการมอง"คนเท่ากัน"นั้นเป็นสาระสำคัญของสิทธิมนุษยชน ไม่ควรมีมนุษย์คนใดมีค่าน้อยกว่าผู้อื่นหรือไม่มีอิสระภาพเช่นนี้เเล้วการนำคนไปเป็นทาสย่อมขัดกับข้อความคิดที่ว่าคนเท่ากัน เนื่องจากการลงเป็นทาสเป็นการมองมนุษย์คนนั้นเป็นเพียงสิ่งของที่ไม่ได้มีความเป็นมนุษย์เท่าตน อีกทั้งการนำคนไปเป็นทาสย่อมขัดกับความคิดที่ว่ามนุษย์มีอิสระเสรีภาพ เนื่องจากทาสไม่สามารถกำหนดเจตจำนงในการใช้ชีวิตด้วยตนเองได้

นอกจากนั้นเเล้วปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 4 ที่เน้นย้ำอีกว่า การบังคับให้ใครเป็นทาสย่อมไม่สามารถมีขึ้นได้ การค้าทาสก็เช่นเดียวกัน ทำให้เรื่องการนำคนไปเป็นทาสในปัจจุบันเป็นเรื่องที่โลกไม่ให้ความยอมรับอีกต่อไปซึ่งตรงกันข้ามกับยุคที่ความคิดในทำนองนี้เพิ่งจะริเริ่มเติบโตในสังคมตามที่ Amazing Grace ได้เเสดงให้พวกเราเห็น

หมายเลขบันทึก: 565161เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2014 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2014 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท