ผลจากการจัดการเศรษฐกิจแบบการตลาดไปสู่ประชานิยม 2. ลักษณะที่ทักษิณและยิ่งลักษณ์ใช้ในการจัดการทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (ต่อ) ตอนที่ 7


2. ลักษณะที่ทักษิณและยิ่งลักษณ์ใช้ในการจัดการทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (ต่อ)

     4. สร้าง “อาณาจักรแห่งความกลัว” “รัฐตำรวจ เช่น นโยบายปราบปรามยาเสพติด ทำให้ เกิดการฆ่าตัดตอน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,500 คน ทั้งที่ยังไม่ได้พิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม การหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร กรณีล้อมปราบที่มัสยิดกรือแซะ และหน้าที่ว่าการอำเภอตากใบ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 110 คน เป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน

     5. การที่ทักษิณได้รับความนิยมอย่างสูง ยิ่งทำให้อำนาจของทักษิณรวมศูนย์มากขึ้น โดยไม่รับฟังข้อท้วงติงของคนรอบข้าง และพลังอื่นๆ ในสังคมที่เคยทัดทานอำนาจรัฐ เช่น นักวิชาการ NGOs การเมืองภาคประชาชน ฯลฯ ล้วนไม่ได้รับความสนใจจากทักษิณ ที่มักอ้างว่ามาจากเสียงข้างมาก 16 หรือ 19 ล้านเสียง กลายเป็นผู้ผูกขาดความคิดเห็นสาธารณะแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายสำหรับสังคมไทย และทักษิณเอง ด้วยเหตุนี้เองทักษิณจึงเป็นกลายมาเป็นผู้ผูกขาดการเสนอญัตติสาธารณะแต่ผู้เดียว 

     6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทวิวิถีภายใต้ระบอบทักษิณให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic Demand Rate Growth) เพราะเชื่อว่าความต้องการใช่จ่ายของคนระดับรากหญ้าสูง และช่วยแก้ปัญหาการพึ่งพิงเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ต้องพึ่งการส่งออก ในข้อเท็จจริง นโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ก็เป็นนโยบายเพื่อการส่งออก ส่งเสริมเพื่อส่งออกโดยที่นโยบายนี้ผสมผสานเรื่องการได้เสียงข้างมากในสภา เพราะชาวบ้านชอบ ขณะเดียวกันก็ได้ ผลประโยชน์ส่วนบุคคลด้วย เพราะตัวเองและพรรคพวกก็ได้ประโยชน์ ไม่มีใครตอบคำถามว่าชาวบ้านได้กี่เปอร์เซ็นต์ของราคาส่งออก แล้วบริษัทของใครที่เป็นคนจัดการส่งออกสินค้าภายใต้โครงการ 1 ตำบล การส่งเสริมการท่องเที่ยว การทำกรุงเทพฯให้เป็นเมืองแฟชั่น นี่ก็เป็นการจัดเศรษฐกิจโดยเน้นการส่งออก (outward orientation)

     จากนี้จะเห็นได้ว่าระบอบทักษิณไม่ได้ลดการพึ่งพิงต่างประเทศ เราจะพบว่านโยบายทางเศรษฐกิจ (policy manu) มันเลื่อนไหลไปสู่การจัดเศรษฐกิจโดยเน้นการส่งออก Outward Orientation มากขึ้นจนกระทั่งในที่สุดขนาดของการเปิดประเทศจะเพิ่มขึ้น ไม่ได้ลดลงอย่างที่ระบอบทักษิณแถลงใน 9 เดือนแรก ปี 2544 การเร่งการส่งออกโดยการทำข้อตกลงการค้าเสรี FTA โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการOTOP การผลิตเพื่อการส่งออกสินค้ามีมากขึ้น การลดลงของอัตราการออม(Saving Ratio) การเร่งการใช้จ่าย การเพิ่มการใช้จ่ายของประชาชนสิ่งที่จะตามมาคือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และจะขาดดุลมากขึ้นในอนาคตถ้าหากว่ารับบาลยังคงเดินตาม Policy Manu ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และท้าที่สุดการพึ่งพิงเงินทุนต่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือรัตนโกสินทร์ เมื่อมีความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ชุมชนกับผลประโยชน์ธุรกิจขนาดใหญ่ ระบอบทักษิณเข้าข้างกลุ่มทุน ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบอบทักษิณ เน้นการผลิตเพื่อการพาณิชย์ และเน้นการส่งออก ตัวทักษิณเองก็ส่งเสริมการใช้จ่ายในการเล่นหวย ส่งเสริมการจัดตั้งกาสิโน และเอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์ ส่งเสริมกิจกรรม ระบอบทักษิณเน้นบทบาทของรัฐบาลส่วนกลางในการจัดการทรัพยากรส่วนท้องถิ่น รัฐบาลทักษิณทำลายความเข้มแข็งของชุมชน เพียงต้องการให้องค์กรประชาชนอยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาล และเชื่อฟัง

     7. มีหลายปัจจัยที่ทำให้เชื่อว่าทักษิโณมิกส์ไม่ได้ให้หลักประกันว่าจะไม่นำพาไป สู่วิกฤติเศรษฐกิจ เช่น การดำเนินยุทธศาสตร์การสร้างการเร่งในด้านการบริโภค (consumption rate growth) การทุ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยหลบเลี่ยงกลไกการตรวจสอบและการรับผิดต่อ รัฐสภา มีโอกาสขาดดุลทางการคลัง ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล และที่สำคัญก็คือว่าวิกฤติการณ์การเงินในทศวรรษ 2540 และในทศวรรษถัดไปต่างไปจากที่เกิดขึ้นในอดีต เกิดจากเหตุปัจจัยที่คาดไม่ถึง และยากที่จะสร้างระบบการเตือนล่วงหน้าได้ (early warning system)

     กล่าวโดยสรุป ระบอบทักษิณมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ดังจะเห็นว่ารัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็กำลังดำเนินตามรัฐบาลพี่ชายทุกกระเบียด นั่นคือ 1. ต้องการเสียงข้างมากในสภา 2. มีผลประโยชน์ส่วนบุคคลแอบแฝงในทุกๆนโยบาย แต่ถึงกระนั้นนโยบายของยิ่งลักษณ์มีลักษณะเหมือนเป็น “การให้เปล่า” มากขึ้น (เหมือนประเทศอาร์เจนตินา) ต่างจากทักษิณที่ยังใช้กลไกตลาดอยู่บ้าง เช่น การจัดทำ OTOP เป็นต้น อย่างไรก็ตามประชานิยมย่อมก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าระบบประกันภัยทางสังคม (social safety net) ที่ดีขึ้นในสังคมไทย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็เป็นประชาธิปไตยที่กินได้นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 564840เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2014 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2014 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท